นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเยียวยา เพื่อพิจาณาแผนเยียวยาและคืนเงินช่อง NOW26 และ สปริงนิวส์19 ว่า รับจะจ่ายค่าชดเชยให้ทั้ง 2 ช่องเป็นวงเงินราว 1,175 ล้านบาท โดยได้กำหนดระยะเวลาในการยุติการออกอากาศของทั้งสองช่องจะเกิดขึ้นหลังจากอนุมัติกำหนดเวลาในการยุติการออกอากาศ (15 ส.ค.62) ภายใน 60 วัน
ทั้งนี้ แบ่งเป็นค่าชดเชยของช่อง NOW26 ประมาณ 890 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักค้างชำระค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 จำนวน 201 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 14 ล้านบาท เหลือเงินชดเชยที่จะจ่ายประมาณ 675 ล้านบาท
ทั้งนี้ NOW26 ได้ประมูลคลื่นไปด้วยมูลค่า 2,200 ล้านบาท ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตไปแล้ว 3 รวม 1,472 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 5479 วัน ยังไม่ได้ใช้งานใบอนุญาตอีก 3540 วัน คิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ยังไม่ใช้งาน 951 ล้านบาท หักผลประโยชน์ที่รัฐสนับสนุน ค่ามัค 26 ล้านบาท ค่ามัสแครี่ 33ล้านบาท ไม่มีกำไรสุทธิ
ส่วนช่องสปริงส์นิวส์ 19 ยอดวงเงินประมูลใบอนุญาจำนวน 1,318 ล้านบาท มีการจ่ายค่าธรรมเนียมทั้ง 4 งวด จำนวน 878.2 ล้านบาท คิดเป็นค่าธรรมเนียมคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งาน (56-75) คิดเป็นวันจำนวน 5,749 วัน เวลาที่ใช้ใบอนุญาตไปแล้ว 1,339 วัน เหลือระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้งานอีก 3,540 วัน (สิ้นสุดวันยุติการให้บริการในวันที่ 15 ส.ค.62) คิดเป็นเงินชดเชย 567.407 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายเงินสนับสนุนที่รัฐออกให้ (ค่ามัคและค่าออกอากาศดาวเทียม 27 ล้านบาท ค่ามัสแครี่ 35.4 ล้านบาท) มีกำไรสุทธิในปี 62 จำนวน 4.4 ล้านบาท ดังนั้นเงินที่รัฐจะชดเชยจำนวนประมาณ 500 ล้านบาท
ส่วนแผนการเยียวยาพนักงานนั้น ทางช่องสปริงส์นิวส์ ได้ส่งแผนมาแล้ว โดยสปริงส์นิวส์จะจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและจ่ายเงินเพิ่มกรณีพิเศษอีก 1 เท่าของเงินเดือน แต่ทางสมาพันธ์แรงงานสื่อสารมวลชนได้ทำหนังสือแจ้งให้กสทช.ขอให้ผู้คืนใบอนุญาตชดเชยเพิ่มพิเศษ 3 เดือน กสทช.จึงขอให้สปริงส์นิวส์กลับไปพิจารณาเพิ่ม
นายฐากร กล่าวว่า ในวันนี้ (11 มิ.ย.) อนุกรรมการฯ ได้รับเอกสารการขอคืนช่องของไบรท์ทีวีโดยจะนำพิจารณาให้อนุกรรมการฯ ต่อไป
นอกจากนี้ อนุกรรมการฯ ได้เชิญผู้ให้บริการโครงข่ายภาคพื้นดินทั้ง 4 รายมาหรือ โดยแจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาในการยุติการใช้คลื่นความถี่ 700 เมกกะเฮิรตซ์ โดยให้ผู้ให้บริการทั้ง 4 ราย ประเมินค่าใช้ในการชดเชยผู้ให้บริการมัคภายในเดือนส.ค. เพื่อยืมเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทปส.) เพื่อดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ตามกรอบเวลาที่กำหนด