อีกทั้งการประชุมของกลุ่ม OPEC ณ กรุงเวียนนาวันที่ 1-2 ก.ค.ซึ่งตลาดคาดเห็นความคืบหน้าของแนวทางการขยายกรอบความร่วมมือลดกำลังการผลิต ซึ่งรัสเซียให้สัมภาษณ์สนับสนุนการเลื่อนระยะเวลาของความร่วมมือลดกำลังการผลิตของ OPEC และ Non-OPEC อีกด้วย
แต่เรายังคงความระมัดระวังเนื่องจากคาดว่ายังมีปัจจัยลบที่คอยกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องสะท้อนจากการที่หน่วยงานรัฐฯ หลายสำนักปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 62 ลง ประกอบกับความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ล่าช้าลงตาม
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ตลาดคาดว่าชะลอตัวจาก Caixin PMI ของจีน (Forecast 50.0 vs Previous 50.2) และ ISM PMI ของสหรัฐฯ (Forecast 51.0 vs Previous 52.1) ที่คาดปรับลงจากผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวส่งผลให้ฝายวิจัย บล.เออีซี มองกลยุทธ์ลงทุนในหุ้นที่มีปลอดภัยต่อภาวะเศรษฐกิจได้ดี 3 กลุ่ม อาทิ กลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดย YTD ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 2.13% เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งปี 2561 และ 2QTD ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 0.91% เทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงไตรมาส 2/61
โดยเลือกหุ้นนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ได้ประโยชน์ดังกล่าวจากต้นทุนสินค้าถูกลง ได้แก่ SYNEX (ตั้งเป้าปีนี้รายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 15% นำโดยสินค้าประเภทอุปกรณ์สื่อสารและสินค้ากลุ่มคอมเมอร์เชียลที่มีแนวโน้มเติบโตสูงบวกกับมีแผนเพิ่มกลุ่มสินค้าใหม่ทั้ง Gaming, Cloud service, Security และ Internet of Things) และ HARN (คาดกำไรปี 62 เติบโต 12.7%YoYจาก Backlog ณ สิ้น Q1/62 อยู่ที่ 520.7 ล้านบาท และมีโอกาสได้งานต่อเนื่องจากโครงการภาครัฐและเอกชน อีกทั้งราคาหุ้นปัจจุบันเทรด ForwardPER ปีนี้ที่ระดับ 8.92x)
นอกจากนี้แนะนำกลุ่มค้าปลีกคาดได้ประโยชน์จากการเมืองไทยที่ชัดเจนมากขึ้น บวกกับได้อานิสงส์บวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่คาดมุ่งเป้ามาที่การบริโภคของภาคเอกชนเป็นอันดับต้นๆ แนะนำ CPALL (ตั้งเป้ายอดขายปี 62 โตไม่ต่ำกว่า 7%YoY หนุนด้วยแผนเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่องที่ 700 สาขา ส่วนภาพใหญ่มีเป้าหมายใหม่ที่จะขยายสาขาให้ครบ 13,000 สาขาภายในปี 2564)
และสุดท้าย กลุ่มหุ้นกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นเราเลือกหุ้นที่มีความมั่นคงทางกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ได้แก่กลุ่มพลังงานทางเลือกแนะนำ TPCH (แม้ช่วง Q1/62 กำไรโตเพียง 4.4%YoY เพราะมีโรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ดีมองระยะยาวมีแนวโน้มโตสดใสจากเป้าปี 63 จะเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็น 200 MW และโรงไฟฟ้าจากขยะกำลังการผลิต 50 MW จากปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 60 MW, โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 49 MW และโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา 10 MW) และ BAFS (กำไรสุทธิช่วง Q1/62 เติบโต 7.8%YoY จากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.9%YoY ส่วนปี 62 ตั้งเป้ารายได้โต 8-9%YoY และเป้าปริมาณการเติมน้ำมันโต 4%YoY ตามจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับเริ่มรับรู้รายได้ท่อส่งน้ำมันบางปะอิน-พิจิตร และเตรียมเข้าประมูลโครงการจัดเก็บและเติมน้ำมันในสนามบินอู่ตะเภา)