นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดกสทช.วันนี้ (9 ก.ค.) มีมติอนุมัติวงเงินชดเชยกรณีคืนช่องวอยซ์ทีวี โดยกรอบวงเงินที่ได้รับการชดเชยให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล(อนุกรรมการเยียวยาฯ) เสนอที่ 378 ล้านบาท และจะยุติการออกอากาศในวันที่ 1 ก.ย.
นอกจากนั้นได้อนุมัติในหลักการกรณีการคืนใบอนุญาตของช่องที่จะเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการเยียวยา (อสมท.และช่อง3) โดยกรณี บมจ.อสมท. 163 ล้านบาท โดยคำนวณจากมูลค่าเงินที่ประมูล 452 ล้านล้านบาท มูลค่าใบอนุญาตที่ยังไม่ใช่งาน 289 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ คิดเป็นค่าโครงข่าย (MUX) 28 ล้านบาท ค่าออกอากาศผ่านดาวเทียม (มัสแครี่) 34 ล้านบาท กำไรสุทธิไม่มี ผลประโยชน์รวมที่ได้จากรัฐประมาณ 63 ล้านบาท เป็นเงินชดเชย 226.4 ล้านบาท เนื่องจากบมจ.อสมท.ค้างชำระค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 จำนวน 63 ล้านบาท จึงคงเหลือเงินที่จะได้รับการเยียวยา 163 ล้านบาท โดยคณะอนุกรรมการเยียวยาฯ จะพิจารณาสรุปการเยียวยาบมจ.อสมท.ในวันนี้ (9 ก.ค.) โดยจะยุติการออกอากาศวันที่ 15 ก.ย.
ส่วนกรณี ช่อง 3 เอสดี แฟมิลี่ ยังไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาได้ในวันนี้ (9 ก.ค.) เนื่องจากตัวเลขเสนอมาจะต้องมีการตรวจสอบกับข้อมูลของกสทช.ก่อน เพราะเพิ่งเสนอเรื่องมาถึงกสทช.เมื่อวานนี้ (8 ก.ค.) โดยตัวเลขที่เสนอมา ช่อง 3 แฟมิลี่ ประมูลไว้ที่ 455 ล้าบาท มีมูลค่าใบอนุญาตที่ยังไม่ได้ใช้งาน 290 ล้านบาท เงินสนับสนุนจากรัฐ ค่ามัค 28.8 ล้านบาท มัสแครี่ 34 ล้านบาท กำไรสุทธิไม่มี รวมผลประโยชน์ที่ได้รับ 64.3 ล้านบาท ค่าชดเชย 30 ก.ย. 226 ล้านบาท ค่าชำระงวดที่ 4 จำนวน 63 ล้านบาท หักลบแล้วเหลือเงินชดเชยประมาณ 162.5 ล้านบาท ช่อง 3 เอสดี มูลค่ารวม 4 งวด 1517 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมที่ยังไม่ได้ใช้งาน 967 ล้าบบาท ค่ามัค 28.8 ล้านบาท ค่ามัสแครี่ 35.4 ล้านบาท กำไรสุทธิไม่มี รวมผลประโยชน์ที่ได้รับ 64 ล้านบาท ค่าชดเชยที่ได้รับ 903 หักค่าใช้จ่ายที่ได้จากรัฐ 223 เหลือเงินชดเชยประมาณ 680 ล้านบาท
สำหรับการจัดทำการวัดเรทติ้งการออกอากาศทีวีภาคพื้นดิน ที่กสทช.จะร่วมกับเอกชน สถาบันวัดความนิยม และเอเจนซี่โฆษณาจะมีการระดมความคิดเห็นในวันที่ 25 ก.ค.นี้