นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า การเจรจาร่วมกับตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ที่วันนี้ได้เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งให้ยกเลิกการประมูลจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จำนวนไม่เกิน 1.5 ล้านตัน/ปี ในรูปแบบการจัดทำสัญญา ของกฟผ. โดยได้ทำความเข้าใจและชี้แจงถึงความจำเป็นของมติกบง. และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบหรือความเสียหายกับกฟผ.แต่อย่างใด
อีกทั้งในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง (ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meetings: 37th AMEM) เมื่อ 4-5 ก.ย. ก็ได้ชี้แจงเบื้องต้นกับรัฐมนตรีพลังงานของมาเลเซีย เกี่ยวกับกรณีการยกเลิกประมูล LNG ของกฟผ. ซึ่งมีปิโตรนาส แอลเอ็นจี จากมาเลเซียเป็นผู้ชนะประมูล ส่วนกรณีค่าเช่าคลัง LNG ที่ กฟผ. ทำสัญญากับทางกลุ่มบมจ.ปตท. (PTT) มากกว่ากว่าพันล้านบาทนั้น กระทรวงพลังงานก็จะเป็นผู้เจรจากับกลุ่มปตท. เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด
"มติกบง. คำนึงถึงผลกระบทบต้นทุนค่าไฟเป็นหลัก ส่วนข้อกังวลที่สร.กฟผ. เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือองค์กรนั้น กระทรวงจะดำเนินการเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ กฟผ. และคาดว่าจะไม่เกิดการฟ้องร้องตามมา"รมว.พลังงาน กล่าว
ด้านนายศิริชัย ไม้งาม ประธาน สร.กฟผ. กล่าวว่า กระทรวงพลังงานยืนยันว่าการยกเลิกประมูลนำเข้า LNG จะไม่ส่งผลกระทบต่อ กฟผ. โดยเฉพาะค่าเช่าคลัง LNG ที่ลงนามกับกลุ่มปตท. โดยมีค่าเช่าอยู่ที่ 190 ล้านบาท/เดือน หรือกว่า 2 พันล้านบาท/ปี ทางกระทรวงพลังงานจะเร่งเจรจากับทางกลุ่ม ปตท. เพื่อยกเลิกสัญญาดังกล่าว
นอกจากนี้รมว.พลังาน ได้แจ้งว่าในการประชุม AMEM ครั้งที่ 37 ได้เจรจาเบื้องต้นกับ รมว.พลังงานของมาเลเซียแล้ว จึงเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อ กฟผ. แต่อย่างใด รวมทั้งกระทรวงพลังงานยืนยันว่าการเปิดเสรีระบบก๊าซธรรมชาติจะยังเกิดขึ้นในอนาคต และยังต้องการให้ กฟผ. เป็นผู้นำเข้า LNG ในอนาคตด้วย
ขณะที่นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. ออกแถลงการณ์ต่อพนักงานกฟผ. เพื่อสร้างความเข้าใจลดข้อห่วงใยและข้อกังวลของพนักงาน กฟผ.เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน โดยระบุก่อนประชุมกบง.ที่มีมติดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 ส.ค.62 ได้มีการประชุมระหว่างฝ่ายนโยบายของกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหาร กฟผ. ฝ่ายนโยบายได้ให้คำมั่นยังคงยืนยันนโยบายการเปิดเสรีระบบก๊าซธรรมชาติอยู่ เพียงแต่ขอทบทวนปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และหากประเมินว่าเมื่อใดมีความจำเบีนที่จะต้องนำเข้าก๊าชรรมชาติเพิ่มติมแล้ว จะยังคงยืนยันหลักการเดิมที่มอบหมายให้ กฟผ. เบ็นผู้นำเข้าเป็นรายแรกต่อจากผู้นำเข้าที่มีอยู่เดิมรายเดียว
นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีการพิจารณาปริมาณการนำเข้าของ กฟผ. ว่าควรจะเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของปริมาณความต้องการใช้งานโดยรวมเพื่อเป็นกรอบหลักการดำเนินงานในอนาคต
คณะผู้บริหารกฟผ.คาคว่าการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมจะดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ของฝายนโยบายกระทรวงพลังงานในอนาคตต่อไป ขอให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจและเชื่อใจต่อความตั้งใจจริงของฝ่ายนโยบายที่พิจารณาประโยชน์ในภาพรวมของประเทศชาติ และประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริมกฟผ.ให้เจริญก้าวหนเป็นเสาหลักด้านพลังงานหน่วยงานหนึ่งของประเทศต่อไป