บมจ.อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย (RBF) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล. ต.) นับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ของบริษัทตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างเดินสายนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุนทั้งใน และประต่างประเทศ ซึ่งจะมีการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 520 ล้านหุ้น ภายหลังการ สำรวจความต้องการซื้อ (Book Building) จากนักลงทุนสถาบัน ขณะที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ออกบทวิเคราะห์ให้ราคาเป้าหมาย 4.00- 4.60 บาท
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปรแมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ของ RBF เปิดเผยว่า บริษัทเดินหน้านำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ให้กับกองทุน นักลงทุนสถาบัน ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเดินทางไป ให้ข้อมูลกับนักลงทุนรายย่อยและประชาชนทั่วไปภายในประเทศอีกจำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต นครปฐม ราชบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี สงขลา และกรุงเทพมหานคร
"ธุรกิจของ RBF มีพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมากในอนาคต เนื่องจากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมมากกว่า 80% ของรายได้รวม ดังนั้นการเดินทางไปโรดโชว์ให้กับกองทุน นักลงทุนสถาบัน รวมถึงนักลงทุนรายย่อยทั้งในและ ต่างประเทศ ก็เพื่อให้นักลงทุนได้เข้าใจธุรกิจของบริษัทมากยิ่งขึ้น"นายสมภพ กล่าว
นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร APM เปิดเผยว่า RBF มีทุนจดทะเบียนจำนวน 2,000 ล้านบาท แบ่ง เป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1.00 บาท/หุ้น ซึ่งมีการชำระทุนจดทะเบียนแล้ว 1,480 ล้านหุ้น และอีกจำนวน 520 ล้านหุ้นจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน แก่ประชาชนครั้งแรก (IPO) คิดเป็นสัดส่วน 26% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด
ทั้งนี้ RBF เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และมี บล.กสิกรไทย และ บล.ฟินันเซีย ไซ รัส )เป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ RBF ในครั้งนี้
ด้านนายสมชาย รัตนภูมิภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RBF เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสม ในอาหาร(Food Ingreadients) ให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก รวมถึงผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made to order) นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท ได้แก่ "อังเคิลบาร์นส์" "เบสท์ โอเดอร์" "ก๊อปจัง" "Haeyo" "Angelo" และ "Aroi Mak Mak"
บริษัทแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและรส และสีผสมอาหาร กลุ่มแป้งและซอส กลุ่มผลิตภัณฑ์อบ แห้ง กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก และกลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย
ปัจจุบัน บริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์ไปขายทั่วโลก อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา ประเทศแถบ ตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต อินเดีย ปากีสถาน รวมไปถึงออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย อังกฤษ เยอรมันและสหรัฐอเมริกา
"บริษัทเป็นบริษัทของคนไทย 100% และดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 33 ปี บริษัทมีจุดแข็งในเรื่องทีมวิจัยและพัฒนา(R&D)ที่ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านอาหาร รวมถึงการสังเคราะห์วัสดุแต่งกลิ่นและรสชาติ จนสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ให้มี เอกลักษณ์ มีความแตกต่างและหลากหลายในแบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้น จึงทำให้บริษัทมีลูกค้าอยู่ทั่วทุกมุมโลก" นายสม ชาย กล่าว
ขณะที่นักวิเคราะห์ ประเมินราคาเป้าหมายหุ้น RBF โดยแกนนำในการจัดจำหน่ายหุ้น 2 แห่ง ได้แก่ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ให้ ราคาสูงสุดที่ 4.60 บาท และบล.กสิกรไทย ให้ราคาเป้าหมาย 4.03-4.52 บาท ภายใต้คาดการณ์ว่ากำไรสุทธิปี 63 จะเติบโต 24% ไปที่ 432 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้จากโรงงานใหม่ต่างประเทศ
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัทอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานเกล็ดขนมปังในประเทศเวียดนามและ ประเทศอินโดนีเซีย คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 1/63 และนำเงินที่ได้ส่วนหนึ่งจากการขายหุ้น IPO ไปลงทุน สร้างโรงงานผลิตที่ประเทศอินโดนีเซียแห่งที่ 2 ในปี 65 เพื่อรองรับการเติบโตของรายได้ส่งออกคาดกำไรสุทธิเติบโต 7.6% เมื่อเปรียบ เทียบกับปีก่อน หากไม่รวมค่าใช้จ่าย 0ne time คาดมีกำไรปกติเติบโต 13.3% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนและเมื่อรับรู้รายได้จากโรงงาน ใหม่ต่างประเทศ คาดว่ากำไรสุทธิปี 63 จะเติบโต 24% หรืออยู่ที่ 432 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน
ขณะที่บล.เคที ซีมิโก้ ระบุว่า RBF จะมีกำไรปกติใน 3 ข้างหน้า (61-63) เติบโตเฉลี่ย 15%จาก 324 ล้านบาท เป็น 488 ล้านบาท ตามลำดับ และคาดว่ายอดขายเพิ่มขึ้นปีละ 9% จากการเพิ่มการผลิต รวมถึงจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการคาดว่าอัตรา กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 38% ในปี 61 เป็น 39% ในปี 64
RBF จะมีรายได้จากต่างประเทศราว 15% ของรายได้ธุรกิจผลิตและผลิตจำหน่ายส่วนประกอบอาหารในปี 63 ขณะที่ต้นทุน วัตถุดิบนำเข้าอยู่ที่ราว 37% ของต้นทุนวัตถุดิบรวม ทำให้ RBF มีฐานะเป็นผู้นำเข้าสุทธิราว 8% ดังนั้น เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก 1 บาทจะ เป็นแนวโน้มเชิงบวกต่อประมาณการกำไรและมูลค่าพื้นฐานปี 63 ราว 1.3%
ขณะที่ บล.โกลเบล็ก ประเมินว่ากำไรปี 62 และ 63 อยู่ประมาณ 352.5 ล้านบาท และ 396.2 ล้านบาท เติบโต 9% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยปี 62 คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 2,783 ล้านบาท เติบโต 6% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการ ขยายตลาดในต่างประเทศ เป็นตามแผนงานของบริษัทที่ได้ไปตั้งโรงงานในประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย และในปี 63 จะช่วยหนุนให้ รายได้จากทั้งสองประเทศเติบโตสูง
อัตรากำไรขั้นต้นจะเพิ่มขึ้นจาก 37.8% เป็น 37.9% เนื่องจากธุรกิจโรงแรมจะถึงจุดคุ้มทุนจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว ต่างชาติและค่าเสื่อมราคาที่ลดลง รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกอัตรากำไรขั้นต้นจะปรับตัวดีขึ้นจากการผลิตและรุกตลาดผลิตภัณฑ์ที่สามารถ ย่อยสลายได้
โบรกเกอร์ ราคาเป้าหมาย บล.ฟินันเซีย ไซรัส (แกนนำการจัดจำหน่าย) 4.60 บล.กสิกรไทย (แกนนำการจัดจำหน่าย) 4.03-4.52 บล.เคที ซิมิโก้ 4.52 บล.โกลเบล็ก 4.44 บล.ทรีนีตี้ 4.36 บล.เอเชีย พลัส 4.30 บล.ไอร่า 4.20 บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) 4.10 บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) 4.10 บล.เคทีบี (ประเทศไทย) 4.10 บล.เคจีไอ (ประเทศไทย 4.10 บล.โนมูระ พัฒนสิน 4.00