นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ หัวหน้าสายงานตรวจสอบบัญชี และหุ้นส่วนบริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนาประจำปี PwC Thailand’s Symposium 2019 ภายใต้หัวข้อ "บริหารความท้าทายขององค์กรในทศวรรษใหม่อย่างมืออาชีพ"ว่า การนำมาตรฐาน การบัญชีและหลักการทางบัญชีใหม่มาใช้ในปี 63 โดยเฉพาะมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (TAS 32) จะส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนไทย ขนาดใหญ่ 8 แห่งที่ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิคล้ายทุน (Perpetual Bond) ซึ่งจะถูกจัดประเภทใหม่จากตราสารทุนเป็นหนี้สินในงบการเงินแทน ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) เพิ่มขึ้น จนทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และในที่สุดทำให้ต้นทุนทางการเงินสูง ตามไปด้วย
ปัจจุบัน มีบริษัทจดทะเบียนไทยขนาดใหญ่ 8 แห่งที่ออก Perpetual Bond มูลค่าคงค้างประมาณ 7.7 หมื่นล้านบาท (ณ 30 ก.ย.62) ซึ่งบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่ไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการส่วนใหญ่จะต้องการใช้เงินลงทุนสูง แต่ไม่ต้องการเพิ่มทุน หรือกู้ยืมเงิน เพราะ เกรงจะกระทบกับ D/E และส่งผลให้ความเสี่ยงด้านเครดิตสูงตามไปด้วย จึงหันมาออกหุ้นกู้ที่ประเภทนี้ เนื่องจากไม่กระทบ D/E และยัง ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการบริหารจัดการโครงสร้างหนี้อีกด้วย
บริษัทผู้ออก มูลค่า D/E ratio (ล้านบาท) TAS 107 TAS 32 (Currently) บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) 23,788 2.24 3.61 บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) 21,743 0.58 0.68 บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) 19,909 2.78 3.74 บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) 15,000 1.95 2.17 บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) 14,874 1.67 1.97 บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN) 6,000 1.56 2.75 บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) 508 2.64 2.76 บมจ.ทีทีซีแอล (TTCL) 500 4.08 4.95