นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) คาดว่าในปี 62 บริษัทจะมีผลขาดทุนลดลงจากปีก่อนที่ขาดทุน 2.78 พันล้านบาท หลังจากงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ขาดทุนลดลง 29% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 1.24 พันล้านบาท และเฉพาะไตรมาส 3/62 ขาดทุนลดลงถึง 50% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มาที่ 489.86 ล้านบาท
เนื่องจากบริษัทมุ่งเน้นการปรับลดรายจ่ายและค่าใช้จ่าย ซึ่งหลักๆ คือต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องบิน ขณะที่บริษัทสามารถรักษาอัตรารายได้ต่อรายจ่าย แม้ว่าจะปลดระวางเครื่องบินไป 3 ลำ แต่ก็ยังมีปัจจัยลบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก และภาษีสรรพสามิตน้ำมันอากาศยาน ที่ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายให้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/62 จะดีขึ้น โดยเฉพาะจากยอดจองตั๋วโดยสารที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่บริษัทจะรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 อีก 2 ลำภายในเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้จะมีฝูงบินมี 24 ลำ แบ่งเป็น โบอิ้ง 737-800 จำนวน 16 ลำ และเครื่องบินใบพัด Q-400 จำนวน 8 ลำ
นอกจากนั้น ในปี 63 บริษัทจะรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 เพิ่มอีก 2 ลำในเดือน ส.ค.และเดือน ต.ค. เพื่อรองรับเส้นทางบินญี่ปุ่นและอินเดีย โดยอยู่ระหว่างการศึกษาเปิดเส้นทางบินใหม่ ได้แก่ วิสาขาปัตนัมของอินเดีย, โอกินาว่าและคาโกชิม่าของญี่ปุ่น หลังจากปีนี้บริษัทจะเริ่มทำการบินในเส้นทาวฮิโรชิมาของญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.นี้
ส่วนในจีนก็เพิ่มการขายการขายตั๋วโดยสารด้วยตัวเองเพิ่มขึ้น จากเดิมขายแบบเช่าเหมาลำประมาณ 30-40% และจะเพิ่มจุดบินจากเชียงใหม่และภูเก็ตไปยังจุดบินในจีนมากขึ้น อาทิ ภูเก็ต-เซี่ยงไฮ้ เชียงใหม่-เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
"การเพิ่มจุดบินในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย จะเน้นบินไปเมืองรอง เช่น อู่ซี ยี่อู๋ เป็นต้น รวมทั้งบินเสริมให้กับสายการบินนกสกู๊ต ในบางเส้นทาง"นายวุฒิภูมิ กล่าว
นายวุฒิภูมิ กล่าวอีกว่า บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนเส้นทางบินต่างประเทศเป็น 30% จาก 20% ในปัจจุบัน เพื่อช่วยลดต้นทุน เนื่องจากมีเป้าหมายเพิ่มอัตราการใช้เครื่องบิน (Utilization) เป็น 12 ชม./ลำ/วัน จาก 9 ชม./ลำ/วันในปัจจุบัน นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เครื่องบินแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้จากเส้นทางใหม่ๆ จากเดิม NOK เน้นบินไปจีน อินเดีย เวียดนาม เมียนมา แบบเช่าเหมาลำ
ดังนั้น ในปี 63 บริษัทเชื่อมั่นว่าจะมีผลประกอบการดีกว่าปีนี้ โดยตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารเพื่มเป็น 10 ล้านคน จาก 7-9 ล้านคนในปีนี้ และจะมีอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 85-87% จากปี 62 คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ย 90% โดยในช่วงไฮซีซั่นอยู่ที่ 90-93% และช่วงโลว์ซีซั่นอยู่ที่ 85-86% ทั้งนี้ ในงวด 9 เดือนแรกของปี 62 มี Cabin Factor เฉลี่ย 90% แล้ว
นายวุฒิภูมิ ยอมรับว่า ภาวะการแข่งขันของธุรกิจสายการบินในปีหน้ายังคงรุนแรงต่อเนื่องจากปีนี้ เพราะทุกสายการบินมีแผนเพิ่มจำนวนเครื่องบินเข้ามามากกว่าความต้องการเดินทาง อย่างไรก็ดี NOK จะไม่แข่งขันราคามากนัก แต่หันมาปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น เพื่อขึ้นเป็น Premium Budget Airline
"แนวโน้มปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ เรามองว่าจะ Break event ก่อน ในงวด 9 เดือนปี 62 เราขาดทุนลดลงจากปีก่อน งบในไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ออกมาดีมาก ตอนนี้เรามีขาดทุนสะสม...การแข่งขันปีหน้าคาดว่ารุนแรง"นายวุฒิภูมิ กล่าว
นอกจากนี้ ในปีหน้า NOK มีแผนจะหันมาเพิ่มรายได้จากส่วนอื่นนอกเหนือจากรายได้จากตั๋วโดยสาร โดยปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากตั๋วโดยสารราว 88% ที่เหลืออีก 12% มาจากรายได้อื่นๆ ได้แก่ บริการขนส่งทางอากาศ (คาร์โก้) ขนส่งสัมภาระใต้ท้องเครื่อง และPremium Seat เป็นต้น ซึ่งได้วางเป้าหมายภายใน 3 ปีข้างหน้า (ปี 63-65) จะเพิ่มสัดส่วนรายได้อื่น ๆ ขึ้นมาเป็น 15%, 17% และ 20% ตามลำดับ
และบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในธุรกิจโรงแรม 2 รายเพื่อร่วมกันจัดทำแพกเกจเดินทาง ซึ่งจะรวมค่าตั๋วโดยสาร โรงแรม และรถเช่า คาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ในไตรมาส 1/63 รวมทั้งจะร่วมมือกับร้านหนังสือซีเอ็ดที่ครอบครัวจุฬางกูรถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 48% เพื่อใช้เป็นช่องทางจำหน่ายตั่วโดยสาร เฟสแรกจะเปิดขาย 10 สาขาในกรุงเทพก่อน คาดว่าเริ่มได้ในไตรมาส 1/63 เข่นกัน ก่อนจะกระจายไปตามหัวเมืองที่ปัจจุบันร้านซีเอ็ดมี 350 สาขาทั่วประเทศ
ทั้งนี้ นายวุฒิกร กล่าวว่า บริษัทเตรียมนำเสนอแผนธุรกิจในช่วง 3 ปี (ปี 63-65) ต่อคณะกรรมการบริษัทในต้นเดือน ธ.ค.นี้ หลังจากที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ปรับปรุงแผนใหม่ รวมทั้งมีการทบทวนแผนธุรกิจระยะ 10 ปีด้วย
ซีอีโอ NOK ยังยืนยันว่า บริษัทไม่มีปัญาหด้านสภาพคล่อง เพราะได้แหล่งเงินกู้ 3 พันล้านบาทจากผู้ถือหุ้นใหญ่ NOK เข้ามาแล้ว ซึ่งขณะนี้ได้ใช้ไปราว 1 พันล้านบาท ยังเหลือมากกว่า 1 พันล้านบาทเพียงพอในการใช้ดำเนินงานในระยะต่อไป เพราะยังไม่มีแผนลงทุนขนาดใหญ่ นอกเหนือจากการปรับปรุงระบบไอที
ส่วนการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 737MAX 8 จำนวน 6 ลำนั้น นายวุฒิกร กล่าวว่า ตามแผนเดิมจะมีการรับมอบในปี 63 จำนวน 2 ลำและในปี 64 จำนวน 4 ลำ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับโบอิ้งขอเลื่อนการรับมอบออกไปก่อน เพราะต้องพิจารณาว่าผู้โดยสารเชื่อมั่นเครื่องบินรุ่นนี้หรือไม่หลังจากมีคำเตือนจากยบางหน่วยงานถึงปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้ย ซึ่งอาจจะพืจารณาเปลี่ยนรุ่น รวมทั้งบริษัทอยุ่ระหว่างหาแหล่งเงินกู้ต่ำ และพิจารณาด้วยว่าจะนำเครื่องบินไปใช้ในเส้นทางใด โดยบริษัทอาจจะมีความต้องการเครื่องบินพืสัยไกลขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการเปิดเส้นทางบินในต่างประเทศเพิ่มเติม
https://youtu.be/fYVTAKlA4OY