นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือน ธ.ค.62 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว (Neutral) เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน นักลงทุนคาดหวังการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศผ่อนคลาย และเงินทุนไหลเข้า ขณะที่ความกังวลผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนและภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือน ธ.ค.62 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ก.พ.63) อยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" (Neural) (ช่วงค่าดัชนี 80 - 119) โดยเพิ่มขึ้น 1.72% มาอยู่ที่ระดับ 87.93
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)
ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)
ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ใน Zone ชบเชา (Bearish)
สำหรับหมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM) ส่วนหมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA)
ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ขณะที่ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
"ผลสำรวจ ณ เดือนพฤศจิกายน ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน โดยกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัวเช่นเดิม กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศพื้นตัวโดยอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัวเช่นดิม ขณะที่กลุ่มบัญชีนักลงทุนรายบุคคลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ซบเซาจากเกณฑ์ทรงตัวในเดือนก่อน"
ในช่วงเดือน พ.ย.62 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เคลื่อนไหวในช่วง 1,590-1,641 จุด โดยดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมาอยู่จุดสูงสุดที่ 1641 จุด จากนั้นทยอยปรับตัวลดลงมาอยู่บริเวณ 1,590-1,600 ตลอดเตือน แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังมีการเติบโดชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีมีการฟื้นตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายขึ้นมาอยู่ที่ 1,610-1,620 จุด จากปัจจัยความคาดหวังผลจากการเจจาการค้าระหว่างประเทศระหว่างสหรัฐและจีนที่คาดว่าจะลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกภายในปีนี้ และคาดหวังการเลื่อนหรือยกเลิกกำหนดการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนในกลุ่มที่สองจำนวน 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 15 ธ.ค.
โดยทิศทางการลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือความคาดหวังการเจจาทางการค้าของสหรัฐและจีน รองลงมาคือการไหลเข้าออกของเงินทุน ขณะที่นักลงทุนกังวลผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือผลภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ขะลอตัวลง แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้
สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความชัดเจนของข้อตกลงการค้าเฟสแรก และแนวโน้มการเจรจาข้อตกลงทางการค้าในเฟสที่ 2 ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในปี 63 แนวโน้มอุปสงค์โลกชะลอตัว ความไม่แน่นอนของ Brexit ความต่อเนื่องของดัชนีขี้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศหลักของโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายปี
ขณะที่ปัจจัยในประเทศที่ต้องติตตาม คือ ทิศทางของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และนโยบายภาครัฐในการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เป็นปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตาม
ส่วนดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือน ธ.ค.62 ผลจากดัชนีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ปลี่ยนแปลงจากระดับ 1.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบเดือน ธ.ค.นี้ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรัฐบาลอาย 5 ปี และอายุ 10 ปีมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงในอีก 11 สัปดาห์ข้างหน้า นับจากวันที่สำรวจ (15 พย. 62) เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ค่าดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง.เดือนนี้อยู่ที่ระดับ 4 เพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้ว มาอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลง (Unchanged)" สะท้อนมุมมองของตลาดที่ว่าการประชุม กนง.จะยังคงดอกเบี้ยโยบายยู่ที่ระดับ 1.25% ต่อไป โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่ทรงตัว และ Fund Flow จากต่างชาติที่ลดลง เป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญ
ดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตฐบาล 5 ปีและ 10 ปี ในรอบการประชุม กนง.ในเดือน ก.พ.63 (ประมาณ 11 สัปดาห์ข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 64 และ 70 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้วอย่างมาก เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีมุมมองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมีจำนวนมากขึ้น แต่ดัชนึคาดการณ์ยังคงอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลง (Uchanged)" จาก 1.4% และ 1.71% ตามลำดับ ณ วันที่ทำการสำรวจ (15 พ.ย.62) ปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ที่ทรงตัว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ แนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่ทรงตัว และ Fund Flow จากต่างชาติที่ลดลง