การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ร่วมลงนามในสัญญาขยายสัมปทานทางด่วน โดยมีการลงนามสัญญา มี 2 ฉบับ ได้แก่ สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนเอ ส่วนบี และส่วนซี) และสัญญาเพื่อการต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนดี ) (ฉบับแก้ไข) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (C+) (ฉบับแก้ไข)โดยคู่สัญญาคือบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ (NECL) ซึ่งเป็นบ.ย่อย ทั้งนี้ ทั้งสองสัญญา จะสิ้นสุดวันที่ 31 ต.ค.78
นายดำเกิง ปานขำ รักษาการผู้ว่าการ กทพ. กล่าวว่า หลังจากนี้ในการถอนฟ้องของทั้ง 2 หน่วยงานจะนำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสัญญาที่เซ็นสัญญาวันนี้ ยื่นให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการถอนฟ้องคดี โดยฝ่ายกฎหมาย กทพ.ระบุว่า มีทั้งคดีอยู่ในชั้นศาลปกครองสงูสุด 2 คดี ชั้นศาลปกครองชั้นต้น 2 คดี คดีที่ผ่านอนุญาโตตุลาการ 3-4 คดี และอยู่ระหว่างชั้นอนุญาโตตุลาการ
นายสุรงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการถอนฟ้องคดีทั้งหมด 17 คดีจะเสร็จสิ้นไม่เกิน 29 ก.พ.นี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ทันอาจจะไม่จัดสรรส่วนแบ่งในส่วนที่ BEM จะได้รับชั่วคราวจนกว่าจะถอนฟ้องคดีเสร็จสิ้น
นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการ BEM คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันวันที่ 29 ก.พ.นี้
อนึ่ง ส่วนแบ่งรายได้ทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนเอ บี ซี และส่วนดี) BEM จะได้รับ 40%
ด้านนายสุรงค์ บูลกุล ประธานบอร์ดกทพ.กล่าวว่า ข้อพิพาทระหว่างกทพ.และ BEM ที่มี 1.3 แสนล้านบาท 17 คดี โดยเริ่มมีการเจรจาเมื่อ ต.ค.61 จนเจรจาได้ข้อยุติที่ 5.8 หมื่นล้านบาท โดยข้อพิพาทหลักๆมาจากการสร้างทางแข่งขันที่มีคดีฟ้อง 7.8 หมื่นล้านบาท และการปรับค่าผ่านทาง 5.6 หมื่นล้านบาท ที่ BEM เป็นผู้ฟ้อง ส่วนคดีอื่นๆ มีทั้ง BEM ฟ้อง และ กทพ. ฟ้อง รวม 7 พันกว่าล้านบาท ขณะที่การลงทุนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2(Double Deck) จะต้องรอกทพ.ทำการศึกษาก่อน ที่จะดำเนินการศึกษาทั้งระบบ