นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO investor Confidence Index) ประจำเดือน มี.ค.63 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ในเกณฑ์ชบเซาเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนกังวลภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และสถานการณ์การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน ขณะที่นักลงทุนคาดหวังโยบายภาครัฐ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และนโยบายอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุน มากที่สุด
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือน มี.ค.63 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พ.ค.63) อยู่ในเกณฑ์ "ชบเชา" (Bearish) (ช่วงค่าดัชนี 40-79) โดยลดลง 11.48% มาอยู่ที่ระดับ 64.40
- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ลดลงเล็กน้อยอยู่ใน Zone ชบเซา (Bearish)
- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศลดลงล็กน้อยอยู่ใน Zone ชบเชา (Bearish)
- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ใน Zone ซบเชา (Bearish)
- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)
- หมวดธุรกิจที่นำสนใจมากที่สุด คือหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD)
- หมวดธุรกิจที่ไม่นำสนใจมากที่สุด คือหมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)
- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ นโยบายภาครัฐ
- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ก.พ.63 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือน จากความกังวลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยช่วงตันเดือนดัชนีเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนอยู่ในกรอบระหว่าง 1500-1540 จุด จากนั้น ดัชนีเคลื่อนไหวลดลงมากจากปัญหาการแพร่ขยายของเชื้อไวรัสโคโรนาในจีนและแพร่กระจายไปประเทศต่างๆในเอเซีย ตะวันออกกลาง และยุโรป โดยดัชนีฯ ลดลงจากระดับ 1,500 จุดมาอยู่ที่ระดับ 1,340 จุดในช่วงปลายเดือน และมีความผันผวนต่อเนื่องไปถึงตันเดือน มี.ค.63 ที่ดัชนีลดลงไปต่ำสุดที่ 1,317 จุด ก่อนพื้นตัวขึ้นมาอยู่ในช่วง 1,380-1,400 จุด ในสัปดาห์แรกของเดือน มี.ค.63 ภายหลังการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลมีผลบังคับใช้ และการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลง 0.5% อย่างไรก็ตาม ตลาดยังมีความผันผวนสูงมากในช่วงนี้
ทิศทางการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือ การคาดหวังนโยบายภาครัฐ รองลงมาคือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ขณะที่นักลงทุนกังวลภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือการท่องเที่ยว และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความคืบหน้าปัญหาการควบคุมแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก และนโยบายผ่อนคลายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ สำหรับปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามคือ นโยบายเศรษฐกิจภาครัฐเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน การส่งออก และการท่องเที่ยวที่ลดลงมาก นโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย และการไหลเข้าออกของเงินทุน
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนมี.ค.63 ดังนี้
- ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รอบเดือน มี.ค.นี้ปรับตัวลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มจัดทาดัชนี อยู่ที่ระดับ 8 ลดลงอย่างมากจากครั้งที่แล้วมาอยู่ในเกณฑ์ "ลดลง (Decrease)" สะท้อนมุมมองของตลาดที่ว่าการประชุม กนง. ในเดือน มี.ค.นี้ อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1% โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่ลดลง และ Fund flow จากต่างชาติไหลออก เป็นปัจจัยกำหนดที่สาคัญ
- ดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีและ 10 ปี ในรอบการประชุม กนง. พ.ค.63 (ประมาณ 11 สัปดาห์ข้างหน้า) ปรับตัวลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มจัดทำดัชนี อยู่ที่ระดับ 22 ทั้ง 2 ดัชนี ลดลงอย่างมากจากครั้งที่แล้วมาอยู่ในเกณฑ์ลดลง "ลดลง (Decrease)" เนื่องจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คาดว่าอัตราผลตอบแทนอาจลดลงจาก 0.88% และ 1.09% ตามลาดับ ณ วันที่ทำการสารวจ (28 ก.พ. 63) โดยปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ที่ทรงตัวแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่ลดลง และ Fund flow จากต่างชาติไหลออก
ผลจากดัชนีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงจากระดับ 1% ในการประชุม กนง. รอบเดือน มี.ค.นี้ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และอายุ 10 ปีมีแนวโน้มลดลงในอีก 11 สัปดาห์ข้างหน้า นับจากวันที่สำรวจ (28 ก.พ. 63) เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามคาดการณ์ว่า กนง. จะอาจจะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค. นี้เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวจากผลกระทบจากโคโรน่าไวรัสและปัญหาภัยแล้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับ การท่องเที่ยว การส่งออก และการบริโภคในประเทศ