สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (16 - 20 มีนาคม 2563) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 776,206.47 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 155,241.29 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 15% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภท ของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 64% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 495,186 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 226,430 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 30,297 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29% และ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB23DA (อายุ 3.7 ปี) LB24DB (อายุ 4.8 ปี) และ LB28DA (อายุ 8.8 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายใน แต่ละรุ่นเท่ากับ 39,246 ล้านบาท 34,073 ล้านบาท และ 23,827 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) รุ่น HMPRO22NA (Non-Rated) มูลค่าการซื้อขาย 3,147 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รุ่น FPT215A (Non-Rated) มูลค่าการซื้อขาย 2,399 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รุ่น TLT21OB (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 1,651 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้น 16-54 bps. ในตราสารระยะยาว ส่วนหนึ่งมาจากมีแรงขายพันธบัตรของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการ แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ด้านปัจจัยในประเทศ ธปท.เข้าอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดพันธบัตรผ่านการเข้าซื้อพันธบัตร ภาครัฐทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง รวมเป็นยอดการเข้าซื้อตั้งแต่ 13-19 มี.ค. 63 กว่า 100,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ธปท. มีแผนลดวงเงินการประมูลพันธบัตร ธปท. ในระยะต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดพันธบัตร ด้านปัจจัยต่างประเทศ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.00% ในการประชุมฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 63 พร้อมทั้งประกาศ ซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ มีแผนกระตุ้น เศรษฐกิจวงเงิน 8.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงวงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์แก่อุตสาหกรรมการบิน ด้านธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จัดการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.15% สู่ระดับ 0.10% จากระดับ 0.25% และเพิ่มวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีก 2 แสนล้านปอนด์ สู่ระดับ 6.45 แสน ล้านปอนด์ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 ประกาศโครงการใหม่ในการซื้อหลักทรัพย์ของ ภาคเอกชนและภาครัฐวงเงินรวม 7.50 แสนล้านยูโร (8.19 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
สัปดาห์ที่ผ่านมา (16 - 20 มี.ค. 63) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 34,382 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 6,895 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 26,757 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 730 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (16 - 20 มี.ค. 63) (9 - 13 มี.ค. 63) (%) (1 ม.ค. - 20 มี.ค. 63) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 776,206.47 674,947.63 15.00% 5,810,177.63 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 155,241.29 134,989.53 15.00% 103,753.17 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 116 121.19 -4.28% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 106.51 106.71 -0.19% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (20 มี.ค. 63) 1 1 1 1.14 1.33 1.69 1.77 2.24 สัปดาห์ก่อนหน้า (13 มี.ค. 63) 0.96 0.86 0.84 0.98 1.05 1.35 1.54 1.7 เปลี่ยนแปลง (basis point) 4 14 16 16 28 34 23 54