สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (23 - 27 มีนาคม 2563) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 550,869.28 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 110,173.86 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 29% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของ ตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 66% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 365,240 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วน ใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 107,420 ล้านบาท และ หุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 50,730 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20% และ 9% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB21DA (อายุ 1.7 ปี) LB226A (อายุ 2.2 ปี) และ LB23DA (อายุ 3.7 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายใน แต่ละรุ่นเท่ากับ 12,615 ล้านบาท 11,365 ล้านบาท และ 10,624 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รุ่น KTB27NA (AA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 2,650 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV223A (AA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 2,569 ล้านบาท และหุ้นกู้ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) รุ่น TMB296A (A+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 2,293 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง 11-27 bps.เกือบทุกช่วงอายุตราสาร ส่วนหนึ่งจากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก โดย กนง. ประชุมนัดพิเศษ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 63 มีมติ เป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มี.ค 63 เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่การประชุม กนง. รอบปกติ (25 มี.ค.) มีมติ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.75% ต่อปี การระบาดของไวรัส โควิด-19 อาจส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวลงจากปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบ โดย กนง. คาดว่า GDP จะหดตัวร้อยละ 5.3 ในปี 2563 ก่อนจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 3.0 ในปี 2564 ด้านปัจจัยต่างประเทศ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่โดยการซื้อพันธบัตรตาม มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวงเงินไม่จำกัด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของตลาด และความมีประสิทธิภาพในการใช้นโยบายการเงิน ท่ามกลางสภาวะทางการเงินและเศรษฐกิจใน ปัจจุบัน ขณะที่วุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ อนุมัติวงเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือพลเรือนชาวอเมริกัน ระบบสาธารณสุขและภาคเอกชนทั่วประเทศให้ได้รับความเสียหายจาก ไวรัสโควิด-19 ด้านรัฐสภายุโรปอนุมัติกองทุนฉุกเฉินวงเงิน 3.7 หมื่นล้านยูโร (4.05 หมื่นล้านดอลลาร์) รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือสายการบินยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
สัปดาห์ที่ผ่านมา (23 - 27 มี.ค. 63) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 10,406 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 1,805 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 7,448 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 4,762 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (23 - 27 มี.ค. 63) (16 - 20 มี.ค. 63) (%) (1 ม.ค. - 27 มี.ค. 63) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 550,869.28 776,206.47 -29.03% 6,361,046.91 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 110,173.86 155,241.29 -29.03% 104,279.46 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 116.82 116 0.71% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 106.28 106.51 -0.22% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (27 มี.ค. 63) 0.76 0.77 0.76 0.88 1.06 1.47 1.66 2.33 สัปดาห์ก่อนหน้า (20 มี.ค. 63) 1 1 1 1.14 1.33 1.69 1.77 2.24 เปลี่ยนแปลง (basis point) -24 -23 -24 -26 -27 -22 -11 9