สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (13 - 17 เมษายน 2563) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 299,533.32 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 59,906.66 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 30% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของ ตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 71% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 212,359 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่ แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 73,874 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออก โดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 11,647 ล้านบาท หรือคิดเป็น 25% และ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB28DA (อายุ 8.7 ปี) LB24DB (อายุ 4.7 ปี) และ LB26DA (อายุ 6.7 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายใน แต่ละรุ่นเท่ากับ 7,742 ล้านบาท 7,254 ล้านบาท และ 6,389 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด รุ่น AWN244B (AA+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 1,466 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV209A (AA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 794 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด รุ่น KCC209B (AAA) มูลค่า การซื้อขาย 735 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงประมาณ 2-12 bps. ส่วนหนึ่งมาจากตลาดคาดการณ์ว่าการประชุม กนง. ในรอบถัดไปมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ขณะที่บริษัท เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้ง (S&P Global Ratings) รายงานการทบทวนและปรับลดเรตติ้งของประเทศไทยลงจาก “Positive” เป็น “Stable” สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนทาง เศรษฐกิจและการเมืองซึ่งเกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้านปัจจัยต่างประเทศ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัวลง 3% ในปีนี้ และเศรษฐกิจโลกใน ปี 2564 จะขยายตัว 5.8% สูงกว่าเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัว 3.4% ขณะที่สรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคของสหรัฐฯ หดตัวลงอย่างรุนแรงและฉับพลัน ธุรกิจในหลายภาคส่วนเผชิญกับความไม่แน่นอนที่สูงมาก และส่วนใหญ่คาดว่าภาวะทางธุรกิจจะแย่ลงอีกในช่วง หลายเดือนข้างหน้า ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 1/2563 หดตัวลง 6.8% (yoy) เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศของจีนอย่างรุนแรง
สัปดาห์ที่ผ่านมา (13 เม.ย. 63 - 17 เม.ย. 63) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 4,240 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 254 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 3,916 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติ หมดอายุ 70 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (13 - 17 เม.ย. 63) (7 - 10 เม.ย. 63) (%) (1 ม.ค. - 17 เม.ย. 63) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 299,533.32 230,140.84 30.15% 7,341,694.78 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 59,906.66 57,535.21 4.12% 97,889.26 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 117.08 116.3 0.67% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 105.55 105.61 -0.06% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (17 เม.ย. 63) 0.56 0.63 0.66 0.76 0.95 1.39 1.5 2.42 สัปดาห์ก่อนหน้า (10 เม.ย. 63) 0.68 0.7 0.71 0.78 1.03 1.45 1.6 2.45 เปลี่ยนแปลง (basis point) -12 -7 -5 -2 -8 -6 -10 -3