นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับฐานตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ต่างติดลบกันทั่วหน้าราว 0.1-1% ตามดาวโจนส์ที่ร่วงเกือบ 600 จุด หลังราคาน้ำมันติดลบ คาดว่าจะไปกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานให้ปรับตัวลงก่อน เนื่องจากเช้านี้ราคาน้ำมันฟิวเจอร์สได้ปรับตัวขึ้นมาได้ ทั้งนี้ มองว่าราคาน้ำมัน WTI เดือนพ.ค.ที่ติดลบมาก เป็นผลจากการปิด Position เนื่องจากหมดอายุ ซึ่งหากมองไปที่สัญญาของเดือนมิ.ย.ก็ไม่ได้ติดลบมากขนาดนั้น
นอกจากนี้ อาจเผชิญแรงขายทำกำไรจากหุ้น KBANK หลังจากที่ผลประกอบการไตรมาส 1/63 ออกมาต่ำกว่าคาด พร้อมให้ติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการของกลุ่มแบงก์ต่อไป และในเรื่องการปลดล็อกดาวน์บางส่วนมองว่าตลาดได้ตอบรับไปบ้างแล้ว วันนี้จึงน่าจะได้เห็นแรงขายทำกำไร
อย่างไรก็ดี วันนี้ให้ติดตามการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้จับตามาตรการต่าง ๆ ที่จะออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดค่าไฟฟ้า, การปลดล็อกดาวน์ เป็นต้น
พร้อมให้แนวรับ 1,250 จุด ส่วนแนวต้าน 1,280 จุด
ประเด็นพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (20 เม.ย.63) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,650.44 จุด ร่วงลง 592.05 จุด (-2.44%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,823.16 จุด ลดลง 51.40 จุด (-1.79%) ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,560.73 จุด ลดลง 89.41 จุด (-1.03%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 189.29 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 10.31 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 82.18 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 41.91 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 11.58 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 5.87 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 5.89 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (20 เม.ย.63) 1,266.40 จุด เพิ่มขึ้น 27.16 จุด (+2.19%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,814.22 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 เม.ย.63
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ค. ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (20 เม.ย.63) ปิดที่ -37.63 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 55.90 ดอลลาร์ หรือ 306% ซึ่งติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายสัญญาน้ำมันในตลาด NYMEX
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (20 เม.ย.) อยู่ที่ 0.56 ดอลลาร์/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.55 อ่อนค่าจากวานนี้ตามทิศทางภูมิภาคหลังดอลล์แข็ง ติดตามตัวเลขส่งออกไทยวันนี้
- ศบค.แจง "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ยังจำเป็น เผยนายกฯ สั่งรวบรวมข้อมูลรัฐเอกชน-ต่างประเทศก่อนเคาะ "คลายล็อกดาวน์" ด้าน "วิษณุ" ชี้หากปรับมาตรการ-เคอร์ฟิว เล็งใช้มาตรฐานเดียวทั่วประเทศ ขณะที่ สธ.ชง ครม."แผนเปิดเมือง" แบบระมัดระวัง ป้องกันระบาดระลอกใหม่ แยกตามความเสี่ยง กลุ่มธุรกิจ-กลุ่มจังหวัด ทดลองปลาย เม.ย. ส่วนที่สหรัฐ-ยุโรปยังอาการหนัก
- "สนธิรัตน์" ชง ครม.เพิ่มมาตรการ ดูแลค่าไฟ รอบบิล มี.ค.-พ.ค.นี้ ขยายฐานใช้ไฟฟรี เป็นไม่เกิน 150 หน่วย ให้สิทธิผู้ใช้ไฟไม่เกิน 800 หน่วย จ่ายเท่ารอบบิล ก.พ. ใช้ไฟ 800-3,000 หน่วย รับส่วนลด 50% หากเกิน 3,000 หน่วย รับส่วนลด 30% กสทช.ถก 5 ค่ายมือถือแจกโทรฟรี 100 นาทีทุกเครือข่าย นาน 45 วัน
- องค์การการค้าโลกคาดปี 64 การค้าโลกกับมาฟื้นตัว 21-24% พาณิชย์แนะเอกชนเร่งศึกษาตลาดและเพิ่มพันธมิตร 'จุรินทร์'ดึงเอกชน-เกษตรกร ร่วมคิดแผนพลิกฟื้นเศรษฐกิจ-ส่งออก หลังโควิดคลี่คลาย
- รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 21-22 เม.ย.นี้ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คนน.) เพื่อพิจารณาแผนการกู้เงินใน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และแผนบริหารหนี้สาธารณะอื่น ๆ โดยการกู้เงินใน พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาทรอบแรก จะพิจารณาแผนกู้ 6 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในเรื่องเร่งด่วนรับมือผลกระทบจากโควิดช่วง 4-5 เดือนนี้ ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ย.63 ส่วนอีก 4 แสนล้านบาทจะทยอยกู้ในปีงบประมาณ 64
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรก ปีนี้จะลดลง 25-28% มีมูลค่าเพียง 37,900-39,500 ล้านบาท ซึ่งลดลงครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส จากรายได้ดอกเบี้ยเงินกู้ลดจากการช่วยเหลือลูกหนี้ที่กระทบโควิด-19 และมองว่ายังไม่ใช่จุดต่ำสุดในปีนี้ แต่กระทบมากที่สุดช่วงไตรมาส 2 ทำให้กำไรสุทธิลดกว่า 50% เพราะธนาคารพาณิชย์ยังคงเดินหน้าลดดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว แม้จะนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงก็ตาม และยังคาดว่าเอ็นพีแอลธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.25-3.45% ต่อสินเชื่อรวม จากระดับ 2.98% ในไตรมาส 4 ปี 62
*หุ้นเด่นวันนี้
- EPG (กรุงศรี) "ซื้อ"เป้า 7.5 บาท ได้ Sentiment บวกจากราคาน้ำมันดิบขาลงคาดกดดันราคาต้นทุนเม็ดพลาสติกปรับตัวลงตามหนุนมาร์จิ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น ด้านผลกำไร Q4 ปี 62/63 (ม.ค.-มี.ค.63) คาดว่าจะยังทรงตัวเหนือระดับ 200 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากกำไรที่แข็งแกร่งของธุรกิจ Aeroflex และ Aeroklas ซึ่งได้ผลบวกโดยตรงจาก ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเพราะกว่า 60% ของทั้งสองธุรกิจมีรายได้จากต่างประเทศ
- IVL (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 32 บาท ความต้องการผลิตภัณฑ์ PET ผลิตภัณฑ์เส้นใย Hygiene และ personal care ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตและปริมาณขายสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนน้ำมันต่ำ ทำให้สเปรดของ PET, PTA เพิ่มสูงขึ้น คาดกำไรปกติ Q1/63 ที่ 2 พันล้านบาท ดีสุดในกลุ่มปิโตรฯ แต่มี stock loss ทางบัญชี ทั้งนี้ เน้นรักษาสภาพคล่องโดยปรับให้เป็นเงินกู้ระยะยาวมากขึ้น ลด CAPEX ปีนี้ราว $300 ล้าน ปัจจุบัน Net IBD/E ยังแข็งแรงที่ 1 เท่า โดย IVL จะขึ้น XD 23 เม.ย. จำนวน 0.175 บ/หุ้น (Yield 0.65%)