หุ้น PTTGC ราคาพุ่งขึ้น 7.14% มาอยู่ที่ 41.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท มูลค่าซื้อขาย 2,116.42 ล้านบาท เมื่อเวลา 15.02 น. โดยเปิดตลาดที่ 39.50 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 41.50 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 39 บาท
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุในบทวิเคราะห์ฯแนะ"ซื้อ"หุ้น บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ยังคงเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่อยู่แนวหน้าในอุตสาหกรรมเคมีเนื่องจากมีสถานะทางการตลาดที่โดดเด่นในภูมิภาค (ยังคงรักษาส่วนแบ่งการตลาดได้ดี) มีอัตราส่วนหนี้สิน/ทุนต่ำ (D/E 0.4 เท่า), อัตราเงินปันผลตอบแทนสูง (เป็นบริษัทกึ่งรัฐวิสาหกิจ) มาร์จิ้นขยายตัวตามราคาเคมีภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น (ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ) โดยคงราคาเป้าหมายไว้ที่ 44 บาท บนฐาน P/B ปี 63 ที่ 0.7 เท่า, -2SD
PTTGC รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/63 ทรุดหนักตามคาด เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มโรงกลั่นอื่นๆ ผลจากการขาดทุนสต็อกน้ำมันที่ 8.9 พันล้านบาท ขณะที่กำไรหลักปรับตัวดีขึ้นจากธุรกิจโรงกลั่นและอะโรเมติกส์จากการใช้กำลังการผลิตที่ดีขึ้น (การกลั่น +52% หลังการซ่อมบำรุงใน Q4/62, อะโรเมติกส์ +10%) และอัตรากำไรที่ดี ทั้งนี้ กำไรจากการกลั่นสูงกว่าประมาณการของตลาด ขณะที่ EBITDA เพิ่มขึ้น 54% QoQ เป็น 6.3 พันล้านบาท โอเลฟินส์ยังฉุดความสามารถในการทำกำไร (ไตรมาส Q1/63 โรงงานฟื้นตัว) และอัตรากำไรที่ลดลง
กลยุทธ์การกลั่นของ PTTGC นั้นแตกต่างจากโรงกลั่นอื่น ๆ ของไทยอย่างมาก โดย PTTGC หวังผลจากการฟื้นตัวของส่วนต่างราคา LSFO (ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือน ม.ค. เป็น 7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) เนื่องจาก IMO2020 จะกลับมาใช้อีกครั้งในครึ่งปีหลัง โดย PTTGC ยังคงรักษาสัดส่วน LSFO ไว้ในระดับสูง (14% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด) ส่งผลให้น้ำมันดิบสหรัฐและแอฟริกาตะวันตกมีสัดส่วน 80% ของน้ำมันดิบผสม ซึ่งแปลว่าบริษัทจะไม่ได้รับอานิสงส์จากส่วนลดราคาน้ำมันจากตะวันออกกลางมากนัก ตรงข้ามกับโรงกลั่นอื่น ๆ ที่ลดสัดส่วนของ LSFO ลงและเพิ่มสัดส่วนน้ำมันดิบ ME มากขึ้น
ขณะที่ค่าการกลั่น GRM ในไตรมาส Q1/63 ยังคงแข็งแกร่งอยู่ที่ 3.49 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ลดลง -1.17 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล QoQ) แต่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงในไตรมาส Q2/63 เนื่องจากส่วนต่างน้ำมันดีเซลและ LSFO มีแนวโน้มลดลง
ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจโอเลฟินส์ใน Q2/63 จะฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของโรงงาน ในไตรมาส Q1/63 EBITDA น่าจะอ่อนตัวลงที่ 8-10% เนื่องจากราคา PE ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ (ลดลงจาก 830 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ 730 เหรีญสหรัฐ/ตัน) เศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวคาดส่งผลให้ราคาเคมีแตะจุดต่ำสุด ขณะที่การฟื้นตัวในส่วนที่เหลือของเอเชีย ผนวกกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส Q3/63 จะหนุนราคาเคมีภัณฑ์ให้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของราคาจะถูกจำกัดด้วยกำลังการผลิตใหม่ของจีนและสหรัฐอเมริกาที่จะกลับมาในไตรมาส Q4/63 โดยคาดอัตรากำไรอะโรเมติกส์จะเพิ่มขึ้น 20-30% ในไตรมาส Q2/63 เนื่องจากคอนเดนเสท (วัตถุดิบ) ลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ราคา PX น่าจะปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำในจีน (PET) ยังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราการใช้ PTA อยู่ที่ 90%