นายเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี เปิดเผยว่า บลจ.กรุงศรี เตรียมเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีไดเวอร์ซิไฟด์อินคัม (KFDIVERSE) โดยเสนอขายครั้งแรก 19-26 พ.ค.63 โดยลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ ผ่าน PIMCO GIS Diversified Income Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลัก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม และมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
PIMCO GIS Diversified Income Fund มีกลยุทธิการลงทุนแบบเชิงรุก(Active Management) ในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนทั่วโลกที่มีหลากหลายประเภท ทั้งตราสารหนี้ที่มี Investment grade credit , หุ้นกู้ High yield ,ตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ (EM) รวมทั้งตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน
โดยพอร์ตปัจจุบันมีการลงทุนตราสารหนี้หลักๆ มีตราสารหนี้ Investment grade credit สัดส่วน 25% ตราสารหนี้ High Yield สัดส่วน 23% และตราสารหนี้ EM สัดส่วน 22%ในส่วนเป็นรัฐบาล และไม่ใช่ของรัฐบาลมีสัดส่วน 8% ขณะที่พอร์ตกระจายลงทุนในสหรัฐ 45% อียู 13% ตลาดเกิดใหม่ 30% อังกฤษ 6% และอื่นๆ 6%
นายเกียรติศักดิ์ กล่าวว่า มีความกังวลตราสารหนี้ High Yield ขณะที่ตราสารหนี้ EM มีความกังวลปานกลาง ซึ่งกังวลน้อยกว่าตราสารหนี้ High Yield ที่มีสิทธิผิดนัดชำระ (Default) ตอนนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เข้าซื้อตราสารหนี้ High Yield บางตัว และ credit spread ปรับตัวลดลง ขณะที่ผลตอบแทน High Yield ค่อนข้างสูงถึง 9.6%ต่อปี และได้ในส่วน Capital gain เทียบกับสถิติ default 10-15% อย่างไรก็ดี PIMCO ไม่ได้ลงทุนมาก และเน้นลงทุนธุรกิจภาคการเงิน ธนาคารที่โอกาส default ต่ำมาก
ด้านนายแมทธิว ลิวาส ผู้อำนวยการอาวุโส และนักวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ภาคเอกชน PIMCO กล่าวว่า ด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active Management ที่มีการปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันสถานการณ์ ทำให้ช่วงต้นปี 63 ที่เริ่มเห็นสัญญาณการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุน High Yield ช่วยลดความเสี่ยงได้ และเริ่มเข้าสะสมเพื่อช่วงลงมาต่ำ
นอกจากนี้การคัดเลือกการลงทุนเป็๋นหัวใจ ที่ผ่านมาได้ลดน้ำหนักกลุ่มพลังงาน และกลุ่มบันเทิงที่มีความเปราะบาง ขณะที่เพิ่มน้ำหนักกลุ่มที่มีพื้นฐานมีศักยภาพ มีงบดุลแข็งแรง ได้แก่ กลุ่มแบงก์ กลุ่มโทรคมนาคม
นายแมทธิว กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ระดับต่ำ จากราคาพลังงานต่ำ ส่วนหนึ่งความต้องการลดลงจากสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย แม้ว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวแต่จะค่อยๆฟื้นตัวลักษณะ U shape และคาดว่าจะเห็นฟื้นตัวชัดในปี 64-65 ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างอัดฉีดเม็ดเงินเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อเติมสภาพคล่องทันที่ที่เห็นว่าเศรษฐกิจจะรับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่รอให้เกิดปัญหาขึ้นก่อน
พร้อมมองว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจจะเห็นอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่โอกาสน้อยมาก อย่างไรก็ตาม นายเบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นที่ปรึกษาบอร์ด PIMCO และนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ระบุว่าจะไม่ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ