นายโทนี่ เฟอร์นาน เดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย กล่าวว่า กลุ่มสายการบินแอร์เอเชียได้เตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายต่างๆ และรอคอยการเปิดประเทศ โดยในช่วงนี้ยังคงเน้นการเดินทางภายในประเทศ ซึ่งคิดว่าการเดินทางภายในประเทศจะกลับมาได้ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้ใช้ capacity ไปแล้วกว่า 73% จึงเชื่อว่าในไตรมาส 4 จะดีขึ้น เพราะความต้องการเดินทางของคนยังมีอยู่มาก อย่างไรก็ตาม เห็นว่ากรณีเปิดประเทศของไทยหากให้นักท่องเที่ยวเข้ามาคิดว่าการกักตัว 14 วันไม่น่าจะได้รับการตอบรับ แต่หากเป็นการตรวจหาเชื้อก่อนเข้าประเทศก็น่าจะเป็นไปได้
"ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีสถานการณ์ดีที่สุด หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ปัจจุบันประเทศไทยเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนทีมี capacity อยู่ที่ 20-25% เดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเป็น 60% และในไตรมาส 4 นี้ น่าจะกลับเข้าสู่ 100% ของเส้นทางบินภายในประเทศได้ไม่ยาก เพราะความต้องการเดินทางยังมีสูงมาก
ต่างจากประเทศอื่น เช่นมาเลเซีย ที่ไตรมาส 4 น่าจะมี capacity ที่ 80% ในอินโดนีเซีย ยังมีการประท้วงและ lock down ทำให้เรายังคงต้องมีการจัดการเที่ยวบินใหม่อยู่ตลอดเวลา รวมถึงฟิลิปปินส์ด้วย"นายโทนี่ กล่าว
ขณะเดียวกันตอนนี้เราโฟกัสเรื่องการเพิ่มทุน และการใช้จ่ายอย่างประหยัด ส่วนเรื่องการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการยังคงไม่ใช่เวลานี้ เพราะเราต้องดูแลตัวเองก่อน
นอกจากเรื่องการท่องเที่ยว ตอนนี้เราก็โฟกัสกับ airasia.com อย่างมาก จากการทำธุรกิจมานาน 18 ปี ได้มี database และ ecosystem ของเราเอง ซึ่งทำให้เราได้เปรียบ และสามารถแข่งขันได้
อีกทั้งยังมี Airasia.com tagline โดย Airasia.com for everyone เป็น tagline สำหรับธุรกิจดิจิทัล ทั้งนี้ For everyone หมายถึง สำหรับทุกคน ซึ่งหมายถึงลูกค้า พาร์ทเนอร์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการทำธุรกิจ เราไม่ได้โฟกัสแค่ตัวเราเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกพาร์ทเนอร์ที่มาร่วมทำธุรกิจกับเรา เพื่อความเท่าเทียมกัน
"ที่ผ่านมา crisis ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เราต้อง renovate หรือไม่ก็ล้มหายไป เราเลือกที่จะ renovate ตัวเอง และปรับตัว ซึ่งปกติแล้วในธุรกิจการสายการบินไม่ว่าเราหรือคู่แข่งต่างเรียนรู้กันและกันอยู่ตลอดเวลา เช่น การทำธุรกิจสายการบินราคาประหยัด เราไม่ใช่คนแรกที่ทำ เราก็ต้องเรียนรู้จากคนอื่น ขณะที่ในธุรกิจดิจิทัลเราก็เรียนรู้จากคนอื่นเช่นกัน นำมาปรับใช้ เพื่อให้เป็นประโยชน์มากที่สุด"ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย กล่าว
ด้านนางสาวคาเรน ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร airasia.com กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่มีใครคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเมื่อไร แต่อย่างน้อยก็ยังมีการเดินทางภายในประเทศ ซึ่งจะพยายามจะทำมันให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันก็เดินหน้าประสานกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเดินทางตามกฎระเบียบของภาครัฐ รวมถึงยังสร้างความมั่นใจให้กับคนเดินทาง โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามา เช่น contactless web check-in เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มแอร์เอเชียได้ช่องทาง airasia.com ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลักได้แก่
การเดินทาง - เริ่มต้นด้วยธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งก็คือธุรกิจการบิน การท่องเที่ยวนั้นก็มีมากกว่าสายการบิน เราได้มีสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น SNAP ที่ขายตั๋วเครื่องบิน พร้อมโรงแรม ขายกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงยังขายตั๋วของสายการบินอื่นๆ
อีคอมเมิร์ช - ในเรื่องของอีคอมเมิร์ซ เราได้ดำเนินการมานานแล้ว โดยเริ่มจากธุรกิจสายการบิน ที่มีการขายตั๋วทางออนไลน์ และจ่ายเงินออนไลน์ ปัจจุบันเราได้ขยายไปสู่ธุรกิจ logistic on ground, teleport - home deliverly ขายสินค้า fresh food ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
ฟินเทค - มี Big pay, Big Point ที่สามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ภายใน airasia.com ได้
"เราเป็น OTA (Online Travel Agents) ที่มีสายการบินเป็นของตัวเอง แตกต่างจาก OTA รายอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุมราคา และการันตีราคาที่ดีที่สุดให้ลูกค้าได้ โดยเฉพาะราคาตั๋วเครื่องบิน เราสามารถใช้ประโยชน์จากการจัดการภายใน เช่น ช่วงเวลาไหนทีตั๋วขายดี ขายไม่ดี ช่วงไหนราคาลง ราคาแพง เราจะสามารถจัดการและนำมาจัดแพคเกจนำเสนอให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน"
ปัจจุบันเรามีพาร์ทเนอร์สายการบินกว่า 500 สายการบินที่ขายตั๋วอยู่ใน airasia.com ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าไปค้นหาได้ในหน้าเว็บไซต์ airasia.com ซึ่งตอนนี้ยังถือเป็นช่วงเริ่มต้น และต่อไปเรากำลังทำงานร่วมกับสายการบินในตะวันออกกลางให้เข้ามาร่วมอยู่ใน airasia.com ซึ่งจะเป็นโอกาสของลูกค้าให้สามารถเลือกซื้อได้ง่ายในราคาที่ดีที่สุด
รวมทั้งยังมีบริการ Medical tourism หากเข้าไปหน้าเว็บ airasia.com จะเห็น Health หรือธุรกิจด้านสุขภาพ ซึ่งธุรกิจนี้เติบโตขึ้นจากการที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางเข้ามาในอาเซียนเพื่อรับบริการทางการแพทย์ เราจึงได้มองเห็นถึงโอกาสนี้และพร้อมที่จะเป็น one stop service ของ Medical tourism เช่น หากลูกค้าต้องการเดินทางมารับบริการทางการแพทย์ สามารถจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองการเดินทาง หรือติดต่อกับโรงพยาบาลได้ภายในที่เดียว
เหตุผลที่ชาวต่างชาติชอบเดินทางมารับบริการทางการแพทย์ในอาเซียน ตัวอย่างในมาเลเซีย เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า แพทย์สามารถสื่อสารได้หลากหลายภาษา ทั้งบาฮาซา อังกฤษ จีน โดยให้บริการในระดับมาตรฐานโลก อีกทั้งมาเลเซียยังเป็นประเทศมุสลิม ทำให้ชาวตะวันออกกลางเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก หรือในเมืองไทยที่การแพทย์มีชื่อเสียง และมีโรงพยาบาลชื่อดังอยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนการกระตุ้นการซื้อในช่วงเวลานี้ แม้ปกติเรามีโปรโมชั่นออกมาอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ซึ่งเราพยายามทำให้ลูกค้าเดิมของเราเกิดการซื้อที่เพิ่มมากขึ้น แต่ตอนนี้เรามีโปรโมชั่นในสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรงแรม กิจกรรมต่างๆ ไม่ใช่เพียงแค่ตั๋วเครื่องบินแล้ว จึงสร้างโอกาสให้เกิดการซื้อขายเพิ่มมากยิ่งขึ้น