นางวรสินี เศรษฐบุตร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันหุ้นเมกะเทรนด์เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักลงทุนมากขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หลายแห่ง มีการนำเสนอกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวนี้มากมาย ขณะที่ทิสโก้เวลธ์ได้เริ่มแนะนำกองทุนหุ้นกลุ่มเมกะเทรนด์มาตั้งแต่ต้นปี 2562 ซึ่งหากลูกค้าเลือกลงทุนในกองทุนเมกะเทรนด์ที่ทิสโก้เวลธ์แนะนำมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนกว่า 41.27% ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันดัชนีหุ้นไทยซึ่งไม่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และมีความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) ให้ผลตอบแทนติดลบ 21.7%
"ตั้งแต่ปีที่แล้ว ทิสโก้เวลธ์มีมุมมองว่า กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเมกะเทรนด์จะสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นในระยะยาว และมีโอกาสรอดพ้นจากภาวะวิกฤตได้มากกว่าสินทรัพย์อื่น รวมถึงน่าจะสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจมากกว่าการกระจายการลงทุนรายประเทศที่เป็นการกระจายการลงทุนแบบดั้งเดิม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่า การจัดพอร์ตด้วยกองทุนหุ้นเมกะเทรนด์มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีตามที่ทิสโก้เวลธ์ได้วิเคราะห์ไว้จริง โดยหากเทียบกองทุนหุ้นเมกะเทรนด์กับดัชนีหุ้นไทยซึ่งเป็นการลงทุนในหุ้นเช่นเดียวกับกองทุนเมกะเทรนด์แต่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนพบว่า กองทุนหุ้นเมกะเทรนด์ซึ่งมีความเสี่ยงระดับ 6-7 (เสี่ยงสูง) และมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็ยังให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นไทย" นางวรสินีกล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเมกะเทรนด์หลายกองทุนจากหลาย บลจ. ดังนั้น นักลงทุนควรเลือกลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว มีสภาพคล่องสูง มีความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่นักลงทุนรับได้ กองทุนหลักควรลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตดี และมีราคาที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับโอกาสการเติบโต และจากบริการ Open Architecture จึงทำให้ทิสโก้เวลธ์สามารถคัดสรรกองทุนคุณภาพที่โดดเด่นจากหลากหลาย บลจ.ชั้นนำมาเสนอให้ลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้
สำหรับกองทุนคุณภาพที่ทิสโก้เวลธ์แนะนำในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 5 กองทุน คือ 1. กองทุนเปิด ทิสโก้ โกลบอล ดิจิตอล เฮลธ์ อิควิตี้ (TGHDIGI) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) เน้นลงทุนในบริษัทที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการแพทย์ (Digital Health) ทั่วโลก ผ่านกองทุน CS (Lux) Global Digital Health Equity ชนิดหน่วยลงทุน IB USD (กองทุนหลัก) มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน ย้อนหลัง 1 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบัน ตามข้อมูลของมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ที่ 14.92% 54.04% 43.51% 67.63% ต่อปี และ 31.40% ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ดัชนีชี้วัด (Benchmark) ของกองทุน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยระหว่างผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหลัก ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อคำนวณผลตอบแทนให้อยู่ในรูปสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน ในสัดส่วน 95% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท เฉลี่ยของ 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ หลังหักภาษี ในสัดส่วน 5% มีผลตอบแทนย้อนหลังอยู่ที่ 17.19% 50.90% 53.99% 77.10% ต่อปี และ 33.67% ต่อปี ตามลำดับ
2. กองทุนเปิด ทิสโก้ ไบโอเทคโนโลยี เฮลธ์แคร์ (TBIOTECH) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การวินิจฉัยโรค และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทั่วโลกผ่านกองทุน Polar Capital Funds plc - Biotechnology (กองทุนหลัก) มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบัน ตามข้อมูลของมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ที่ 9.54% 39.76% 61.90% และ 61.90% ตามลำดับ
ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ดัชนีชี้วัดของกองทุน ซึ่งคำนวณจากค่าเฉลี่ยระหว่างผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหลักปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนให้อยู่ในรูปสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทนในสัดส่วน 95% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท เฉลี่ยของ 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ หลังหักภาษีในสัดส่วน 5% พบว่า ดัชนีชี้วัดมีผลตอบแทนย้อนหลังอยู่ที่ 12.02% 36.38% 59.45% และ 59.45% ตามลำดับ
3. กองทุนเปิด ยูไนเต็ดเอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี ฟันด์ (UEDTECH) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) เน้นลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ประกอบด้วยผู้ผลิตหรือจัดทำข้อมูลด้านการศึกษา แพลตฟอร์มและการนำเสนอข้อมูล รวมไปถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านกองทุน Credit Suisse (Lux) Edutainment Equity Fund - Class IBP USD เพียงกองเดียว มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน 9 เดือน และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบัน ตามข้อมูลของมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ที่ 7.37% 19.58% และ 19.58% ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันดัชนีชี้วัดของกองทุน ซึ่งได้แก่ ดัชนี MSCI World ESG Leaders (NR) ซึ่งเป็นดัชนีเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเทียบค่าสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวนผลตอบแทน สัดส่วน 100% อยู่ที่ 8.21% 5.08% และ 5.08%
4. กองทุนเปิด วรรณ โกบอล อีคอมเมิร์ซ (ONE-GECOM) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้น และ/หรือกองทุนรวม ETF ทั่วโลกที่ลงทุนในกิจการที่มีรายได้หรือได้รับประโยชน์จากช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน ย้อนหลัง 1 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบัน ตามข้อมูลของมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ที่ 24.19% 95.54% 71.77% 90.31% ต่อปี และ 96.93% ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันดัชนีชี้วัดของกองทุน คือ อัตราผลตอบแทนของดัชนี EQM Online Retail ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่ลงทุน ตามสัดส่วนการทำ Hedging ประมาณ 90% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และอัตราผลตอบแทนของดัชนี EQM Online Retail ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเทียบกับค่าสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน ตามสัดส่วนที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอยู่ที่ 25.87% 113.38% 72.27% 89.79% ต่อปี และ 30.24% ต่อปี ตามลำดับ
5. กองทุนเปิด ทิสโก้ Cloud Computing อิควิตี้ (TCLOUD) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ผ่านกองทุนอีทีเอฟ Global X Cloud Computing ETF (กองทุนหลัก) มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 9 เดือน และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึงปัจจุบัน ตามข้อมูลของมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ที่ 9.57% และ 9.57% ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันดัชนีชี้วัดของกองทุน คือ ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหลัก ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณผลตอบแทนให้อยู่ในรูป สกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน ในสัดส่วน 100% อยู่ที่ 9.38% และ 9.38% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม กองทุน TGHDIGI TBIOTECH และ TCLOUD ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ในขณะที่กองทุน TGHDIGI TBIOTECH UEDTECH และ TCLOUD อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน ส่วนกองทุน ONE-GECOM ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน (ไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)