บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส เปิดเผยมุมมองของผู้บริหารต่อแนวโน้มทางธุรกิจในปี 63 รายได้หลักในการให้บริการ หดตัวในอัตราเลขตัวเดียวระดับต่ำถึงระดับกลาง ปรับลงจากลดลงในอัตราเลขตัวเดียวระดับต่ำ ขณะที่ยังคงคาดการณ์กำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) หดตัวในอัตราเลขตัวเดียวในระดับต่ำ ส่วนงบลงทุนโครงข่าย 4G, 5G และอินเตอร์เน็ตบ้าน ยังคงเดิม รวมประมาณ 35,000 ล้านบาท
ADVANC ระบุว่าจากสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยจะควบคุมได้ค่อนข้างดี และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้กลับสู่ภาวะปกติได้บ้างแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงเปราะบางจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น การหดตัวของภาคการส่งออก การหายไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การเมือง
ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับแรงกดดันจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่อ่อนตัว คาดการณ์ว่ารายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่จะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนตัวของผู้บริโภค ประกอบกับราคาในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำจากการขายแพ็กเกจดาต้าแบบไม่จำกัดปริมาณ (unlimited data) รวมไปถึงรายได้ที่หายไปจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ยังต่อเนื่องไปในไตรมาส 4/63
ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านและธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรยังคงเติบโต คาดการณ์ว่าจะยังรักษาการเติบโตด้วยเป้าหมายผู้ใช้บริการ 1.35 ล้านรายภายในสิ้นปี แม้ว่า ARPU ได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันด้านราคารุนแรง ด้านธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรส่วนนอกเหนือจากบริการโทรศัพท์ (Enterprise non-mobile services) ซึ่งมีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 3% ของรายได้หลักการให้บริการนั้น คาดว่าจะยังเติบโตได้สูงในอัตราระดับเลขสองหลักจากบริการด้าน Cloud, Cyber security, IoT, IT solution โดยมีความต้องการที่สูงขึ้นจากการปรับเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าองค์กรสู่กระบวนการดิจิทัล
นอกจากนี้ บริษัทฯเน้นการบริหารจัดการต้นทุนเพื่อรักษากำไร EBITDA เอไอเอสให้ความสาคัญในการบริหารต้นทุน ทั้งต้นทุนการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไร จึงคงคาดการณ์กำไรที่ EBITDA ลดลงในอัตราเลขตัวเดียวระดับต่ำ
บริษัทยังมุ่งมั่นในการลงทุนเพื่อรักษาความเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมในระยะยาวด้วยงบลงทุนเพื่อขยายโครงข่าย 4G และ 5G รวมถึงธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านรวมประมาณ 35,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายการขยายพื้นที่ให้บริการ 5G ให้ครอบคลุมกว่า 16% ของประชากรทั่วประเทศในปีนี้ โดยในปัจจุบันครอบคลุมกว่า 60% ของประชากรในเขตกรุงเทพ รวมถึง 60% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์
ทั้งนี้ แพ็กเกจสาหรับบริการ 5G ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยราคาเริ่มต้น 699 บาท/เดือน และมีแพ็กเกจแบบไม่จำกัดปริมาณดาต้าที่ราคาเริ่มต้น 1,199 บาท/เดือน โดยในช่วงเริ่มต้นของเทคโนโลยี 5G นั้นยังมีรุ่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่รองรับในจำนวนที่จำกัด จึงคาดการณ์จานวนผู้ใช้บริการ 5G ในระดับประมาณ 100,000 รายภายในสิ้นปี 63
อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่รวดเร็วของอุปกรณ์ที่รองรับ 5G โดยเฉพาะระดับราคาเริ่มต้นของเครื่องโทรศัพท์ 5G ที่ลดลงอย่างรวดเร็วในอนาคต จะเป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยเร่งเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ 5G และรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับบริการ 5G ทั้ง Augmented reality (AR), Virtual reality (VR) และบริการเกมส์ผ่านระบบคลาวด์