นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยในการเสวนา "CG กับการขับเคลื่อนองค์กรในชีวิตวิถีใหม่" ในงาน PTT GROUP CG DAY 2020 ว่า กลยุทธ์และแนวทางการกำกับดูแลบริษัทกลุ่ม ปตท. มีการจัดการทั้งที่เป็นระบบและโครงสร้างเพื่อรองรับเรื่อง CG ตั้งแต่ระดับกรรมการ ซึ่งกรรมการของบริษัทในเครือ ปตท.ทุกบริษัทจะมีคณะกรรมการ CG ขณะที่ระดับการบริหารจัดการ ฝ่ายจัดการ CEO ทุกคนให้ความสำคัญกับ CG โดยมีการจัดทำคู่มือร่วมกันทั้ง 7 บริษัทในกลุ่ม เพื่อให้การบริหารจัดการในเรื่องของ CG เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ ปตท.มีหน้าที่ดูแลด้านความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ รวมถึง Agenda ระดับประเทศที่เกี่ยวกับเรือง CG ที่กลุ่ม ปตท.ต้องเข้าไปมีส่วนร่วม สนับสนุนและผลักดัน เช่น โครงการต่อต้านทุจริต ส่วนด้านพนักงานก็ต้องเข้าไปดูแลให้มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส เช่น นโยบาย No Gift Policy, การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส เชื่อถือได้ ทันเวลา, การดูแลคู่ค้าให้เท่าเทียม, สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และดูแลชุมชนให้เดินต่อไปได้อย่างมั่นคงด้วยตัวเอง เป็นต้น อีกทั้งยังได้นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับแต่ละ Stakeholder หรือทุกภาคส่วน รวมถึง CG ด้วย
นายชวลิต ทิพพาวนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) กล่าวว่า บริษัทดูแลเรื่อง CG จาก inside-out ภายใต้หลักการ 3 เรื่อง 1.ทำให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือหรือมีความแข็งแรงเพื่อให้สามารถดำเนินการเรื่องของธรรมาภิบาลได้ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.ใช้เทคโนโลยีเพิ่ม Productivity และอื่นๆ เพื่อเข้ามาตอบโจทย์ความยั่งยืน 3. speed หรือการปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยไม่หลุดออกจากธรรมาภิบาล
พร้อมกันนี้ด้านการดูแล Stakeholder ธุรกิจของบริษัทมี Value Chain หลากหลาย และมี Stakeholder หลายกลุ่ม โดยในส่วนของภาครัฐที่ IRPC มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบโดยตรงใน 6 ด้าน ได้แก่ ยึดจริยธรรมเป็นเรื่องหลัก, ปฎิบัติตามกฎหมาย, ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส, ความรับผิดชอบต่างๆ, ร่วมช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส และดูคุณค่าในภาพรวม เป็นต้น ส่วน indirect บริษัทจะปฎิบัติตัวเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO Model) หรือการสอดแทรกแนวปฎิบัติที่ดีเข้าไปในพันธมิตรทางธุรกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ IRPC
นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กล่าวว่า ด้านการดูแลพนังงานในองค์กรภายใต้วิถีชีวิตใหม่ที่ผ่านมา ปตท.สผ.ได้ดูแลพนักงานมาโดยตลอด แม้ว่าที่ผ่านมาพนักงานได้ซึมซับแนวคิดขององค์กรกลุ่มบริษัทอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดภาวะโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ สิ่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งพนักงานก็มีความพร้อมปรับตัว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บริษัทฯ ก็ยังยึดมั่นในหลักการของ Corporate Governance and Business Ethics ไม่ใช่เพียงรดูแลบริษัทเอง แต่จะดูแลผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ในทุกภาคส่วนด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตของ ปตท.สผ. เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน
สำหรับการปรับตัวของพนักงาน สามารถดำเนินการในเรื่องของ E Meeting หรือประชุมผ่านออนไลน์ได้ หลังจากก่อนหน้านี้ไม่ประสบผลสำเร็จ, ประสบการณ์การลงนามพื้นที่สำรวจผ่านออนไลน์ ร่วมกับ 3 ประเทศ, ขณะเดียวกันปัจจุบันบริษัทฯ ก็มีการปูพื้นฐานให้พนักงานทุกคนมีความรู้ในด้านดิจิทัลให้เท่าเทียมกัน, การนำ AI เข้ามาใช้ในงานต่างๆ เพื่อลดความผิดพลาด การทำซ้ำ เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) กล่าวว่า การตอบสนองความหวังของผู้ถือหุ้นให้พึงพอใจ ท่ามกลางกระแสการปรับเปลี่ยนของวิถีชีวิตใหม่นั้น บริษัทถือเป็นบริษัทแรกๆ ที่มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในลักษณะ New Normal หรือ การเว้นระยะห่างของที่นั่ง, การตรวจเช็คร่างกายก่อนเข้าพื้นที่, การสวมหน้ากาก, การใช้การถ่ายทอดต่างๆ ซึ่งก็ได้รับความพึงพอใจที่ดีจากสมาคมส่งเสริมนักลงทุน
ขณะที่อีกเรื่องที่สำคัญต่อผู้ถือหุ้นเช่นกัน คือ การปรับตัวขององค์กร โดยให้กำไรหรือรายได้มีความมั่นคง ในสภาวะ New normal หรือในภาวะที่เศรษฐกิจอาจจะดีขึ้นไปอีกหลายปี บริษัทฯ ได้มีการดำเนินการใน 2 เรื่อง ได้แก่ ปรับกลยุทธ์การเจริญเติบโตไปสู่ธุรกิจที่มี High value business โดยจะต้องผ่านการทำ M&A หรือการซื้อกิจการ ในต่างประเทศ จากปัจจุบันบริษัทฯ มีการลงทุนไปใน 12 ประเทศแล้ว ซึ่งกลยุทธ์ในภาวะที่ยังไม่สามารถเดินทางข้ามประเทศได้ บริษัทฯ ก็จะให้บริษัทที่ให้ในต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการทำดีลต่างๆ 2. การปรับองค์กร ภายใต้โปรเจค FIT หรือการปรับลดต้นทุนในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะต้นทุนเรื่องคน ผ่านกระบวนการทำงานและการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) กล่าวว่า การสนับสนุนคู่ค้า ในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน หากพูดถึงในแง่ของ CG สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ คู้ค้า และการจัดซื่อจัดจ้าง ซึ่งนโยบายที่เกี่ยวข้องจะมีด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ 1. บุคคล หรือจิตสำนึก ความตระหนักรู้ โดย TOP ได้มีการรณรงค์ในเรื่องของจิตสำนึกให้กับพนักงาน โดยเฉพาะเรื่องของทุจริต 2. การประกาศจรรยาบรรณในเรื่องของคู้ค้า การปฎิบัติกับคู่ค้า ซึ่งจะมีด้วยกัน 4 เรื่อง ประกอบด้วย ความมเสมอภาค, ความโปร่งใส, ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และการแข่งขันที่ยุติธรรม
"สิ่งที่เน้นย้ำคือการปฎิบัติที่เป็นธรรมกับคู่ค้า ในขณะเดียวกันเราก็ต้องป้องกันความไม่ชอบมาพากล โดยเน้นที่คน และระบบ อีกทั้งความเชื่อของเรา คือ การที่เราจะมีธรรมาภิบาลที่ดี การทำธุรกิจที่มีจริยธรรม เราทำคนเดียวไม่ได้ เพราะฉะนั้นตลอดทั้ง Value Chain จะต้องขาวสะอาดด้วยกันหมด ซึ่งคู้ค้าเองก็ต้องถือปฎิบัติในลักษณะเดียวกันกับเรา โดยเรามีการสนับสนุนในคู้ค้าของเราเข้าแนวร่วมการต่อต้านคอรัปชั่น หรือ CAC"นายวิรัตน์ กล่าว
นางจิราพร ขาวสวัสดิ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) กล่าวว่า บริษัทมีการดำเนินธุรกิจทั้งการค้าน้ำมัน และค้าปลีก รวมถึงธุรกิจต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทย OR มีการให้บริการใน 77 จังหวัด มีสถานีบริการน้ำมันอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 1,900 สาขา และร้านกาแฟ ค่าเฟ่อเมซอน อยู่ 3,000 กว่าสาขา และยังมีพลังงานด้านครัวเรือน (LPG), ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ขณะที่หากมองจำนวนลูกค้าของ OR จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ลูกค้า B2B ที่มีการใช้บริการปั๊มน้ำมัน PTT และร้านกาแฟดังกล่าว 80% จะเป็นลูกค้า SME ซึ่งลูกค้าในกลุ่มนี้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันทั้งหมดในประเทศไทยมีมากถึง 10,000 ราย และลูกค้า B2C ที่มีการใช้บริการ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย ในทุกบริการ มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ล้านคนต่อวัน
อย่างไรก็ตาม ม่ว่าจะเป็นการค้าแบบ B2B, B2C ทาง OR เชื่อว่าการที่มีธรรมาภิบาลที่ดีในเชิงปฎิบัติที่ทำให้ทางด้านคู่ค้าได้เห็น ถือเป็นเรื่องสำคัญ เห็นได้จากมีคนที่ยื่นขอสมัครเป็นเฟรนไชส์อเมซอน ที่ 4,800 รายต่อปี และสนใจเป็นดีลเลอร์ PTT Station จำนวน 1,200 รายต่อปี ทำให้ในปี 62 OR จึงนำระบบออนไลน์มาใช้ โดยมีการเปิดรับช่องทางเดียว คือ www.pttstation.pttor.com และ www.cafe-amazon.com เพื่อให้เกิดความโปร่งใสชัดเจน และสามารถติดตามได้ โดยมีการกำหนดว่า ภายใน 90 วันจะต้องได้คำตอบชัดเจนในส่วนของปั๊ม ขณะที่ร้านกาแฟ คาเฟ่อเมซอน จะต้องรู้คำตอบได้ภายใน 60 วัน รวมถึงรองรับการดูทราฟฟิก ในพื้นที่ไหนที่เปิดปั๊มได้ ซึ่งหลังจากที่ได้นำระบบมาใช้ พบว่า เรื่องร้องเรียนลดลง และบริษัทฯ สามารถชี้แจงข้อสงสัยได้ทั้งหมด
อีกทั้งยังมีช่องทางรับข้อร้องเรียน หมายเลข 1365 เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ และเรื่องราวร้องเรียน ซึ่งที่ผ่านมามีการร้องเรียนในเรื่องของร้านคาเฟ่ อเมซอน เช่น บริการช้า รสชาติ เป็นต้น ซึ่งเรื่องของความไม่โปร่งใสมีน้อยมาก รวมถึงในช่วงของโควิด-19 ก็มีนโยบายสำหรับผู้เข้าใช้บริการ เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ, เว้นระยะห่าง และบริการไว รวมถึงงดรับแก้วที่นำมาเอง เพื่อป้องกันโรคระบาดต่อ, การสนับสนุนให้ใช้ OR Code ในการสแกนจ่ายเงิน
นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) กล่าวว่า ด้านมาตรการรับมือและการปรับตัวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ความปลอดภัยทางชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทางกลุ่ม ปตท.มีการทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ขณะที่บริษัทเอง เพื่อให้มีความมั่นใจต่อไซด์งานทั่วประเทศ จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและการประเมิน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าถึง รับรู้ข่าวสาร สถานการณ์ และมีความเชื่อมั่นว่าหากมีการดูแลพนักงงานให้แข็งแรง จะสามาระดูแลระบบให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และส่งไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมได้ดี
นอกจากนี้ ยังมีการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในการทำหน้ากาก, การทำ PPE และการดูแลบุคคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถกลับไปดูแลประชาชนได้ ขณะที่ปัจจุบันก็จะมีมาตรการที่ยกระดับให้สอดคล้องไปกับสถานการณ์