อย่างไรก็ตาม สวนทางกับกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังขาดความเชื่อมั่นต่อการพัฒนาโครงการในปี 64 มาอย่างต่อเนื่อง เพราะยังไม่มั่นในในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างมีความมั่นใจเกี่ยวกับยอดขายและรายได้ในปี 64 ที่มีโอกาสเติบโตขึ้นได้จากปีก่อนที่ผู้ประกอบการหลายรายในอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบกันไปมาก แต่จะเริ่มมีทิศทางการค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบารสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักรัพย์เริ่มกลับมาลงทุนเปิดโครงการใหม่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการเติมซัพพลายหลังจากระบายสต๊อกกันไปได้มากแล้วในปีก่อน และยังมีโครงการที่เดิมที่เลื่อนการเปิดตัวจากปีก่อนมาเป็นปีนี้ด้วย
ภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 64 ที่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล คาดว่าจะมีจำนวน 89,000 หน่วย แบ่งเป็น โครงการคอนโดมิเนียม 36,000-37,000 หน่วย สัดส่วน 30-40% และโครงการแนวราบ 52,000 หน่วย แต่หากสถานการณ์โควิด-19 ยืดเยื้อนาน อาจทำให้จำนวนการเปิดโครงการใหม่ลดลงไป 10,000 หน่วย เหลือ 79,000 หน่วย หรืออยู่ในช่วง 79,000-89,000 หน่วย ซึ่งยังสูงกว่าปี 63 ที่เปิดรวม 71,500 หน่วย
"แม้ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัว แต่ผู้ประกอบการยังคงต้องเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะสต็อกพร่องลงจากปีก่อน แต่จากที่สำรวจผู้ประกอบการมา เขาก็ยังระมัดระวังเรื่องการเปิดขายโครงการใหม่อยู่บ้าง ในภาวะที่ยังไม่แน่นอนแบบนี้ และยังคงเดินหน้าขายของเดิมที่อยู่แล้วเพื่อลดจำนวนของที่ยังมีอยู่มากในตลาด และรอดูผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง"นายวิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ ได้มองทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 64 เป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีที่สุด คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะโต 5-10% ระดับกลางจะเติบโตเล็กน้อย 0.5% หรือ และระดับแย่ที่สุด จะหดตัวลง 10% ซึ่งเป็นระดับการหดตัวเท่ากับปี 63 หากติดหดตัวลง 2 ปีต่อเนื่อง จะทำให้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ 2 ปีลดลงถึง 20% เป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี ใกล้เคียงกับช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 54
"มีความเป็นไปได้ว่าปี 64 จะติดลบถึง 10% ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะปีนี้กำลังซื้อที่อั้นอยู่อาจมีไม่มากเหมือนปีที่แล้ว เพราะคนซื้อก็ได้รับผลกระทบด้านรายได้ต่อเนื่องมานาน ส่งผลให้ดีมานด์ใหม่ของที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบรุนแรง"นายวิชัย กล่าว