สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (1 - 5 กุมภาพันธ์ 2564) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 374,851.51 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 74,970.30 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 36% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภท ของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 55% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 207,031 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 102,118 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 14,471 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27% และ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB256A (อายุ 4.4 ปี) LB24DB (อายุ 3.9 ปี) และ LB29DA (อายุ 8.9 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายใน แต่ละรุ่นเท่ากับ 22,853 ล้านบาท 9,619 ล้านบาท และ 7,295 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด รุ่น DTN239A (AA) มูลค่าการซื้อขาย 1,498 ล้านบาท หุ้นกู้ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV213B (AA) มูลค่าการซื้อขาย 1,121 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV213A (AA) มูลค่าการ ซื้อขาย 928 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหวปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 1-6 bps. ด้านปัจจัยในประเทศ ผลการประชุม กนง เมื่อวันที่ 3 ก.พ. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยประเมินว่า แม้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่ แต่แรงกระตุ้นของ มาตรการภาครัฐและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.64 ลดลง -0.34% (YoY) เป็นผลมาจากราคาน้ำมันลดลง ค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงจากมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของภาครัฐ สำหรับปัจจัยต่างประเทศ สหรัฐฯ รายงานตัวเลขการยื่น ขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกประจำสัปดาห์ อยู่ที่ 779,000 ตำแหน่ง ดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 830,000 ตำแหน่ง
สัปดาห์ที่ผ่านมา (1? 5 ก.พ. 64) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ +5,462 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคง เหลือไม่เกิน 1 ปี) +1,862 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) +3,609 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ -10 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (1 - 5 ก.พ. 64) (25 - 29 ม.ค. 64) (%) (1 ม.ค. - 5 ก.พ. 64) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 374,851.51 276,026.90 35.80% 1,796,167.40 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 74,970.30 55,205.38 35.80% 71,846.70 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 117.17 117.28 -0.09% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 105.33 105.46 -0.12% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (5 ก.พ. 64) 0.31 0.39 0.44 0.55 0.77 1.33 1.61 2.12 สัปดาห์ก่อนหน้า (29 ม.ค. 64) 0.3 0.37 0.41 0.52 0.71 1.3 1.55 2.12 เปลี่ยนแปลง (basis point) 1 2 3 3 6 3 6 0