สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (15 - 19 กุมภาพันธ์ 2564) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 384,139.64 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 76,827.93 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 79% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 52% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 199,956 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุ คงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 123,270 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 18,124 ล้านบาท หรือคิดเป็น 32% และ 5% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB29DA (อายุ 8.8 ปี) LB28DA (อายุ 7.8 ปี) และ LB24DB (อายุ 3.8 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 31,891 ล้านบาท 13,817 ล้านบาท และ 10,681 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รุ่น MPSC236A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 1,020 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท แลนด์แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) รุ่น LH215A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 840 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV213B (AA) มูลค่าการซื้อขาย 670 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 5-16 bps. โดยปรับขึ้นในทิศทางเดียวกับ US Treasury ภายหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ในสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น ผสานกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าสามารถจัดหาวัคซีนได้เพิ่มอีก 200 ล้านโดส ส่งผลให้สหรัฐฯ มีวัคซีนรวมเป็น 600 ล้านโดส สร้างความเชื่อมั่นเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ประกอบกับผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลของไทย รุ่นอายุ 10 ปี (LB29DA) วงเงิน 20,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของผลประมูลอยู่ที่ 1.419% สูงกว่า Yield ตลาดของวันก่อนหน้า 6 bps. โดยมีผู้สนใจยื่นประมูล 2.43 เท่าของวงเงินประมูล ขณะที่ สภาพัฒน์ฯ รายงานตัวเลข GDP ปี 63 หดตัว -6.1% แต่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ -6.7% แต่ก็ต่ำสุดในรอบ 22 ปี นับจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 โดยมีสาเหตุหลักเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจภายในประเทศ
สัปดาห์ที่ผ่านมา (15? 19 ก.พ. 64) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ ?5,067 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) +487 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) -5,381 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 173 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (15 - 19 ก.พ. 64) (8 - 11 ก.พ. 64) (%) (1 ม.ค. - 19 ก.พ. 64) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 384,139.64 214,193.57 79.34% 2,394,500.62 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 76,827.93 53,548.39 43.47% 70,426.49 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 115.97 116.84 -0.74% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index) 105.18 105.35 -0.16% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (19 ก.พ. 64) 0.37 0.45 0.49 0.63 0.89 1.5 1.82 2.21 สัปดาห์ก่อนหน้า (11 ก.พ. 64) 0.32 0.4 0.44 0.57 0.79 1.38 1.66 2.14 เปลี่ยนแปลง (basis point) 5 5 5 6 10 12 16 7