(เพิ่มเติม) BPP คาดปิดดีลซื้อโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ 1 โครงการใน H1/64

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday March 3, 2021 18:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ (BPP) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปในประเทศที่กลุ่ม บมจ.บ้านปู (BANPU) ดำเนินธุรกิจอยู่ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยพิจารณาการลงทุนในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) รวมไปถึงการหาพันธมิตรร่วมลงทุน ซึ่งสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดของโรงไฟฟ้า โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในครึ่งแรกของปี 64 นี้

ในปีนี้ บริษัทฯ วางงบลงทุนไว้ที่ 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองรับการซื้อกิจการโรงไฟฟ้าทั้งในประเทศสหรัฐ ส่วนประเทศอื่นๆ BPP ก็มีความสนใจโรงไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่นและจีน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการขยายกำลังการผลิตรวมแตะ 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 68 จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,856 เมกะวัตต์ ซึ่งมีการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ไปแล้วจำนวน 2,750 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ BPP ยังมุ่งสร้างการเติบโตในพอร์ตพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานผ่านบ้านปู เน็กซ์ เตรียมเพิ่มกำลังผลิตจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 100 เมกะวัตต์ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขยายกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนถึง 800 เมกะวัตต์ ภายในปี 68 โดยมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของกิจการ (Due Diligence) อย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่ง BPP ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอยู่แล้ว รวมถึงมองหาโอกาสเพิ่มเติมในประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงและเป็นแหล่งดำเนินธุรกิจพลังงานของกลุ่มบ้านปู เช่น สหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทั้งหมดนี้ เพื่อให้บริษัทสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง

"5 ปีต่อจากนี้ บริษัทฯ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการบริหารต้นทุนของโรงไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเดินเครื่องจ่ายไฟได้ตามเป้าหมาย พร้อมเดินตามกลยุทธ์ Greener & Smarter เน้นการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วและโครงการที่ใกล้จะแล้วเสร็จ (Brownfield) ที่มีการใช้เทคโนโลยี High Efficiency, Low Emissions (HELE) เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโรงไฟฟ้าในประเทศดังกล่าว บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถสรุปความชัดเจนในเรื่องของแผนการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมขนาดใหญ่ (HELE) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติในประเทศสหรัฐฯ จำนวน 1 แห่ง และโรงไฟฟ้าในต่างประเทศอีกจำนวน 1 แห่ง ได้ภายในครึ่งปีแรกของปีนี้

"ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการทำ Due Diligence กิจการโรงไฟฟ้าอยู่จำนวนหลายโครงการ แบ่งเป็น โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในประเทศสหรัฐฯจำนวน 2 โครงการ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมขนาดใหญ่ กำลังการผลิตราว 1,000 เมกะวัตต์ และในต่างประเทศอีก 2 โครงการ ซึ่งจะเป็นลักษณะการร่วมลงทุนกับพันธมิตร รวมถึงยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่อยู่ระหว่างการศึกษาอีกมากกว่า 100-200 เมกะวัต์ คาดว่าจะสามารถเข้าลงทุนภายปีนี้ได้ไม่น้อยกว่า 100-200 เมกะวัตต์"

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งสร้างการเติบโตในพอร์ตพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานผ่านบ้านปู เน็กซ์ เตรียมเพิ่มกำลังผลิตจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 100 เมกะวัตต์ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขยายกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนถึง 800 เมกะวัตต์ ภายในปี 68 โดยมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของกิจการ (Due Diligence) อย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่งบ้านปู เพาเวอร์ดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอยู่แล้ว รวมถึงมองหาโอกาสเพิ่มเติมในประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงและเป็นแหล่งดำเนินธุรกิจพลังงานของกลุ่มบ้านปู เช่น สหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทั้งหมดนี้ เพื่อให้บ้านปู เพาเวอร์สามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง

สำหรับการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในปีนี้ บริษัทฯ ยังคงแผนการ COD โครงการโรงไฟฟ้าใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าภายในช่วงไตรมาส 1/64 จะสามารถ COD โครงการโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง ยูนิตที่ 2 ขนาดกำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 396 เมกะวัตต์ (รวมยูนิต 1) และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม El Wind Mui Dhin (เอลวินหมุยยิน) กำลังการผลิต 38 เมกะวัตต์ และภายในไตรมาส 2/64 ก็คาดว่าจะสามารถ COD โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม Vinh Chau phase (หวินเจา) ประเทศเวียดนาม ระยะ 1 ขนาด 30 เมกะวัตต์ อีกทั้งก็จะ COD อีก 2 โครงการใหม่ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคเซนนุมะ (Kessenuma) กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ คาด COD ในไตรมาส 3/64, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชิราคาวะ (Shirakawa) กำลังการผลิต 10 เมกะวัตต์ คาด COD ในไตรมาส 4/64


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ