นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวเปิดงานสัมนาออนไลน์เรื่อง "SEC SME/Startup Forum:เริ่มต้นอย่างในในตลาดทุน"ว่า เอสเอ็มอีเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะมีการจ้างงานอยู่ในระดับสูง 12 ล้านกว่าคน แต่จากข้อมูล 3-4 ปีที่ผ่านมา เอสเอ็มอีเติบโตขึ้นมาก แต่ยังมีปัญหาในการหาเงินทุนหมุนเวียน โดยส่วนใหญ่พึ่งพาจากสถาบันการเงินในรูปสินเขื่อ รวมทั้งขอกู้เงินจากครอบครัวหรือเพื่อนฝูง
วันนี้ ก.ล.ต.ได้เปิดให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพเข้ามาระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยมีกฎกติกาสนับสนนการระดมทุน โดยเฉพาะผ่าน Crowdfunding ซึ่งขณะนี้มีการระดมทุนแล้ว 128 ล้านบาท จากผู้ประกอบการ 22 ราย ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อย ซึ่งส่วนใหญ่เอสเอ็มอีต้องการเงินรายละ 500,000 บาท ถึง 1-2 ล้านบาท และการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด (PP-SME) สำเร็จแล้ว 9 ราย มูลค่า 194 ล้านบาท
"การระดมทุนผ่าน Crowdfunding หรือการเสนอขายหุ้น หุ้นกู้ต่อประชาชนผ่านระบบ Crowdfunding เป็นการใช้นวัตกรรมฟินเทค ในหลายประเทศก็ใช้การระดมทุนผ่าน Crowdfunding ให้กับเอสเอ็มอีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และที่สำคัญมีต้นทุนต่ำ"นางสาวรื่นวดี กล่าว
นายวรพล พรวาณิชย์ บจก.เพียร์ พาวเวอร์ แพลตฟอร์ม กล่าวว่า บริษัทได้รับการอนุมัติเป็น Crowdfunding Portal ตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย.62 โดยในปี 63 ช่วยเหลือเอสเอ็มอีกและสตาร์อัพระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ไปแล้ว 14 บริษัท รวมวงเงินราว 54 ล้านบาท และในช่วง 2 เดือนครึ่งของปี 64 มีจำนวน 9 บริษัท ระดมทุนราว 62.4 ล้านบาท จึงคาดทั้งปีนี้การระดมทุนของเอสเอ็มและสตาร์อัพน่าจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดเอสเอ็มอีในปีนี้น่าจะกระเตื้องขึ้นจากปีก่อนที่มีการล็อกดาวน์ ซึ่งทำให้ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร ภัคตาคารที่รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ปีนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายลง
Crowdfunding Portal มีบทบาทในฐานะต้องทำ Credit Scoring หรือการประเมินความเสี่ยงและการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ดูความสามารถชำระเงิน ผู้บริหาร แนวทางการบริหาร ตรวจสอบสถานที่ประกอบการ และกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อคัดกรองว่าบริษัทที่จะระดมทุนจะมีความสามารถชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้น โดยอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง ใช้ระยะเวลาออกหุ้นกู้ 2-6 สัปดาห์ วงเงินลงทุนสูงสุดไม่เกิน 100 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 6-36 เดือน พิจารณาจากลักษณะธุรกิจและกระแสเงินสดเป็นหลัก ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาที่บริษัทไม่สามารถหาหลักทรัพย์มาค้ำประกันกับสถาบันการเงินได้
ทั้งนี้ เอสเอ็มอีที่ระดมทุนผ่าน Crowdfunding Portal ต้องมีคุณสมบัติ คือ มีงบการเงินสอบทานแล้ว 1 ปีขึ้นไป เพื่อแสดงสถานะการเงินให้นักลงทุนในการพิจารณา เป็นบริษัทไทยและมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นคนไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วยการนำเสนอข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม
นายวรพล กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัว 3 ช่วง ได้แก่ ก่อนการระดมทุน ต้องเตรียมงบการเงิน แผนธุรกิจ เอกสารประกอบการโครงการอนาคต ส่วนระหว่างระดมทุนต้องนำเสนอข้อมูลเหมือนไปโรดโชว์บริษัท และ หลังจากปิดระดมทุน ต้องเตรียมตัวเรื่องธรรมมาภิบาล มีการายงานผลประกอบการเป็นรายไตรมาส
อย่างไรก็ตาม มีเคสที่ระดมทุนไม่ผ่านเป็นบริษัทในธุรกิจท่องเที่ยว ก็ต้องถอนเงินออกไป แต่ยังไม่พบปัญหาที่มีผู้ระดมทุนผิดนัดชำระ
นายทรรศน์ บุรีชนะ Chief Value Officer บจก. สินวัฒนา คราวด์ฟันดิง คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัท เป็น Crowdfunding Portal ทั้งในรูปแบบ Equity Crowdfunding รวมไปถึง Reward Crowdfunding และ Donation ทั้งนี้ บริษัทได้รับอนุมัติเป็น Crowdfunding Portal เมื่อปี 61 โดยได้ระดมทุนมาแล้วราว 30 ล้านบาท และจาก Reward Crowdfunding และ Donation อีก 10 ล้านบาท
ขณะนี้มีเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพจำนวนมากที่สนใจระดมทุนผ่าน Crowdfunding โดย Portal จะตรวจสอบฐานะการเงิน โครงการอนาคต ผลประกอบการในอดีต หลังจากนั้นมีการเซ็นสัญญาข้อตกลงเพื่อเริ่มหา Valuation ของกิจการและไปพบปะกับนักลงทุนประเมินเสียงตอบรับ จากนั้นจะนำข้อมูลขึ้นแพลตฟอร์มใน 1-2 เดือนและประเมินราคาเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ นโยบายการจ่ายเงินปันผล หากมีผู้สนใจก็จะเข้าขั้นตอนจ่ายเงิน โดยมีบัญชีกลาง
ทั้งนี้ หลายบริษัทที่ต้องการความช่วยเหลือในการระดมทุนด้วยการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ สามารถทำได้มากกว่า 1 ครั้ง โดยหลังการระดมทุน ก็จะมีการติดตามการดำเนินธุรกิจ อาทิ งบการเงิน เป็นต้น
ขณะที่ฝั่งนักลงทุนก็ต้องสมัครก่อนที่จะเข้าลงทุน ทำแบบประเมินความเสี่ยง และความรู้ความเข้าใจ ซึ่งนักลงทุนรายย่อยควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนมาลงทุน
ด้านนายรัตนศักดิ์ สาลี กรรมการผู้จัดการ บจก.ซินเนอร์รี่ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้ระดมผ่านเพียร์ พาวเวอร์ แพลตฟอร์มมา 4 ครั้งแล้ว เห็นว่าต้นทุนค่าธรรมเนียมไม่ได้มาก และอัตราดอกเบี้ยที่ได้ถือว่าถูก ปีแรกๆอาจจสูงแต่เมื่อนักลงทุนมีข้อมูลมากขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ลดลง การระดมทุนนี้ทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้เท่าตัว และในวันนี้ บริษัทสามารถใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินได้แล้ว
ส่วนนายธวัชชัย อิงบุญมีสกุล ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บจก.เวลธิเทคฟิน กล่าวว่า บริษัทระดมทุนผ่าน Crowdfunding เนื่องจากเป็น Start up ที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ซึ่งการระดมทุนผ่าน Crowdfunding ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเข้ามา และนำเงินมาขยายกิจการได้ตามเป้าหมาย ขณะที่มีผู้ลงทุนร่วมเป็นเจ้าของ ซึ่งหลายคนมีประสบการณ์ที่เข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจได้อีก
ขณะที่การสัมมนาในหัวข้อ "การเสนอขายหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ และ ESOP ด้วยหลักเกณฑ์ PP-SME" นายไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ 2 ก.ล.ต. กล่าวว่า การระดมทุนดังกล่าวเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในวงจำกัด หรือเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะ SME ยังเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยเงินทุนจากผู้ลงทุนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ จึงต้องจำกัดอยุ่ในแวดวงผู้ใกล้ชิดรวมถึงผู้ที่คุ้นเคยกับธุรกิจ ไม่ใช่ประชาชนทั่วไป
การระดมทุนลักษณะนี้ เหมาะกับผู้เริ่มต้นธุรกิจ โดยการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ แรกเริ่มจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็แปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นทุน กลายเป็นผู้ถือหุ้น ขณะที่ ESOP เหมาะกับสตาร์อัพ หรือเอสเอ็มอีที่จะจูงใจด้วยการเสนอหุ้นให้กับพนักงาน เพื่อให้มีสถานะเป็นเจ้าของด้วย แม้ผลตอบแทนรูปเงินเดือนไม่มากนัก ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทใช้รูปแบบดังกล่าว
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญของบริษัทที่จะระดมทุน คือ ระบบบัญชี และผู้ก่อตั้งบริษัท โดยจะต้องยื่น Fact Sheet ให้นักลงทุนพิจารณาโอกาสการเติบโตของธุรกิจและความเสี่ยง ซึ่งการระดมทุนรูปแบบ PP-SME ไม่ต้องยื่นไฟลิ่ง เพราะต้องการลดค่าใช้จ่าย แต่ต้องรายงานการขายให้กับ ก.ล.ต. เพื่อต้องการทราบเกณฑ์ที่ใช้เป็นอย่างไร ติดขัดปัญหาหรือไม่
นางสาวโสมิกา ภคภาสน์วิวัฒน์ ทนายความหุ้นส่วน บจก.เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี ซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมาย กล่าวว่า การออกเกณฑ์ของ ก.ล.ต.ช่วยลดอุปสรรคจากข้อจำกัดกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดให้บริษัทขายหุ้นเพิ่มทุนได้ต้องเป็นผู้ถือหุ้นเดิม และข้อกำหนดไม่ให้หักลบกลบหนี้กัน ดังนั้น การออกหุ้นกู้แปลงสภาพตามเกณฑ์ ก.ล.ต.จึงเหมาะกับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงในการนำมาพัฒนาเทคโนโลยี และไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้
ในมุมผู้ประกอบกิจการ การระดมทุนผ่น PP-SME ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้า โดยเฉพาะสตาร์ทอัพยูนิคอร์นในหลายประเทศที่ดำเนินกิจการไม่ถึง 10 ปีก็ใช้เป็นแนวทางในการระดมทุน ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เป็นปัจจัยให้เติบโตก้าวกระโดด ส่วนเกณฑ์ ESOP ที่จะเข้ามาผลักดันบริษัทให้เติบโตอย่างรวดเร็วจากพนักงานที่มีความสามารถที่มีแรงจูงใจทำงานโดยไม่ได้หวังแค่เงินเดือน แต่ทำงานด้วยความมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ
ด้านนายนฤศันส์ ธันวารชร Head of Investment บจก.อินโนสเปซ (ประเทศไทย) นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือ VC กล่าวว่า บริษัทเป็น VC รายใหญ่ที่มีเกณฑ์การลงทุนที่จะพิจารณาการ Synergy , มี Ecosystem ซึ่งในช่วงแรกต้องการเงินทุนพัฒนาให้เติบโตก้าวกระโดด ซึ่งอินโนสเปซจะเข้าไปช่วงเริ่มต้นก่อนเข้าสู่ตลาด
ปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนในสตาร์อัพ 15 รายแล้ว ที่แยกออกเป็น 3 กอง ได้แก่ Bridge Fund จำนวน 3 ราย วงเงินรวม 50 ล้านบาท , Big-Win Fund มีสตาร์อัพ 1-10 ราย วงเงิน 300 ล้านบาท และ Quick-Win Fund มีวงเงิน 200 ล้านบาท โดยจะเฟ้นหา First Unicorn โดยมีสตาร์อัพอยู่ 15-16 รายกระจายในหลายธุรกิจ ได้แก่ Food , Retail , Energy , Health , Technology เป็นต้น และต้องการส่งออกสตาร์อัพในประเทศสู่ตลาดต่างประเทศ
การลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพมีข้อดีที่มีอายุการเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งใช้ระยเวลาประมาณ 1-3 ปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี ทำให้กิจการสามารถเพิ่มสภาพคล่อง จากนั้นเราก็ดู Discount Rate หรือ Valuation Cap ก่อนตัดสินใจแปลงสภาพเป็นหุ้น