นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผย กับ "อินโฟเควสท์" ว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ออกหนังสือถึง Binance แพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย ซึ่งเบื้องต้นเป็นการขอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจาก Binance ให้ตอบคำถามต่างๆ ชี้แจงมายัง ก.ล. ต. ตามเวลาที่กำหนด
เลขาฯ ก.ล.ต.ระบุว่า การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามบทบาทและหน้าที่ของ ก.ล.ต. ที่จำเป็นต้องอิงตามข้อกฎหมายที่ ระบุไว้ว่าผู้ใดก็ตามที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ที่กำหนดไว้ว่าผู้ให้บริการเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิ ทัลในไทยต้องได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายจาก ก.ล.ต.
ดังนั้น กรณีที่หากมีผู้ประกอบการรายใดมาทำหน้าที่เสมือนหรือคล้ายเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ตามหลักแล้วการปฎิบัติเช่นนี้นับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และหากกระทำผิดก็มีบทลงโทษตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ
ส่วนมุมของผู้ลงทุนมิติอีกด้านหนึ่งของ ก.ล.ต. นอกจากจะกำกับและดูแลแล้ว ยังเป็นหน้าที่คุ้มครองผู้ลงทุนด้วย ที่ผ่านมา ก. ล.ต.ได้จัดทำข้อมูลเตือนประชาชนและผู้ลงทุนควรระมัดระวังหากถูกชักชวนให้ใช้บริการในแพลตฟอร์มที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเนื่องจากจะไม่ได้ รับความคุ้มครองตามกฎหมาย พร้อมกับขอความร่วมมือใช้บริการในแพลตฟอร์มของศูนย์ซื้อขายที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. เท่านั้น
"ที่ผ่านมาได้ยินกระแสว่า ก.ล.ต.ดำเนินการช้าไปหรือไม่ แต่กระบวนการต่างๆ ด้านการกำกับและดูแลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ในฐานะ ก.ล.ต.มีแนวทางชัดเจนว่าต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ได้รับใบอนุญาต พร้อมกับตอกย้ำกับทุกๆผู้ ประกอบการที่ได้รับใบนุญาตด้วยว่าหากพบสิ่งที่ผิดปกติหรือไม่ถูกต้องก็ช่วยนำส่งข้อมูลมายัง ก.ล.ต. ได้ทันทีและที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมือ เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ก.ล.ต. ก็ประสานงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอยู่แล้ว หากมีข้อมูลและข้อเท็จริงที่ถูกต้องก็สามารถ ทำงานร่วมกันได้" นางสาวรื่นวดี กล่าว
*เล็งโอน ICO-Utility Token ไม่พร้อมใช้ เข้าพ.ร.บ.หลักทรัพย์ ชงบอร์ด ก.ล.ต.เคาะQ3/64
นางสาวรื่นวดี กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยระยะถัดไป ก.ล.ต.อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข พ.ร. ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯควบคู่กับแก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
ส่วนหนึ่งจะเป็นการนำการเสนอขาย Initial Coin Offering (ICO) ที่เป็นการระดมทุนรูปแบบดิจิทัล และ Utility Token ไม่พร้อมใช้ หรือเป็นสินค้าหรือบริการยังไม่พร้อมที่จะให้ใช้ประโยชน์ เพราะต้องนำเงินที่ได้จากการขาย utility token ไป พัฒนาแพลตฟอร์มหรือโครงการให้แล้วเสร็จก่อน จะโอนเข้ามาอยู่ในการกำกับดูแลภายใต้กฎหมาย พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
ส่วนคริปโทเคอเรนซีและ Utility Token พร้อมใช้ จะอยู่ในการกำกับดูแลภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ
เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถนำเสนอรายละเอียดต่างๆให้กับคณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาภายในไตรมาส 3/64 ก่อนจะนำ เสนอกระทรวงการคลังเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่ออนุมัติต่อไป
"การแก้ไขกฎหมายก็เพื่อต้องการขจัดความทับซ้อนด้านกฎระเบียบและส่งเสริมสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปตามมาตรฐานสากล ก.ล. ต. มีเป้าหมายชัดเจนพร้อมกับมี Flagship ว่าต้องการสนับสนุน ICO เกิดขึ้นให้ได้ สะท้อนจากเมื่อวันที่ 1 มี.ค.64 เริ่มบังคับใช้ปรับ ปรุงเกณฑ์กำกับดูแลการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ (real estate-backed ICO) ให้ เทียบเคียงได้กับกรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เพื่อให้มีกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับ ลักษณะการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน พบว่ามีผู้เข้ามาเสนอการขอระดมทุนรูปแบบดังกล่าวแล้วหลายรายด้วยกัน"นางสาวรื่นวดี กล่าว
https://youtu.be/pnCgRvFnM7o