เตรียมรับหุ้นน้องใหม่อย่าง บมจ.แอดเทคฮับ (ADD) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสบการณ์ ยาวนานกว่า 20 ปี และมีประสบการณ์ทำงานร่วมกับบริษัทโทรคมนาคมผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) กว่า 15 ปี เสนอ ขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) จำนวน 40 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 11 บาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท พร้อมเดินหน้าเข้าซื้อ ขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 20 พ.ค.นี้
ADD มี บริษัท แคปปิตอล วัน พาร์ทเนอร์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และแต่งตั้งให้ บล.โกลเบล็ก เป็นผู้จัดการ การจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมแต่งตั้ง บล.คันทรี่ กรุ๊ป บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) บล.เคเคทีบีเอสที เป็นผู้ ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของบริษัท
นายสมโภช ทนุตันติวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ADD เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า ธุรกิจหลักของ ADD ประกอบ ด้วย 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1.บริการสนับสนุนดิจิทัลคอนเทนท์ (Digital Content Support) คิดเป็นสัดส่วน 83% ของรายได้ปี 63 เป็น ธุรกิจสร้างกระแสเงินสด (Cash Flow) ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งรายได้เข้าต่อเนื่อง
2.ให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Solution) คิดเป็นสัดส่วน 17% ของรายได้ปี 63 เป็นธุรกิจที่มี โอกาสเติบโตอย่างมากระยะยาว และ 3.ให้บริการสื่อและโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (Online Advertising) สัดส่วนรายได้น้อย กว่า 2% ของรายได้รวมกำลังมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
"ถ้าอธิบายง่ายๆ ธุรกิจของเราคือเป็นผู้พัฒนาระบบ IT Outsource ให้ผู้ประกอบการค่ายมือถือรายใหญ่ของเมืองไทยทั้ง 4 ราย หากต้องการความรวดเร็วการดำเนินการแต่ละโปรเจ็คต์ก็มาว่าจ้างกับบริษัทให้บริการคอนเทนต์และระบบต่างๆ ปัจจุบันความต้อง การเพิ่มขึ้นจำนวนมากตามการใช้สมาร์ทโฟนของผู้ใช้บริการคนไทย
รูปแบบการให้บริการทางบริษัทจะร่วมมือกับค่ายมือถือเพื่อพัฒนาคอนเทนต์ พร้อมให้บริการระบบไอทีครบวงจรตั้งแต่ดึงผู้เข้ามา สมัครใช้บริการคอนเทนต์ อาทิ เพลงรอสาย ภาพพื้นหลัง สติ๊กเกอร์ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (Emoji) เป็นต้น ต่อจากนั้นบริษัทจัดส่งคอน เท้นต์ให้กับผู้รับบริการ และคิดค่าบริการผ่านซิมมือถือของผู้ใช้บริการโดยผู้ใช้บริการรายเดือนก็คิดค่าบริการรายเดือน ส่วนผู้ที่ใช้บริการผ่าน ซิมเติมเงินก็สามารถตัดค่าบริการผ่านซิมได้ทันทีในวงการจะเรียกคำว่านี้ Carrier Billing"นายสมโภช กล่าว
ทั้งนี้ การสร้างรายได้ให้บริษัทจะเป็นลักษณะ Revenue Sharing เป็นการแบ่งรายได้กับค่ายมือถือ โมเดลธุรกิจดังกล่าวนำ ไปใช้กับคู่ค้าเป็นพันธมิตรรายอื่นๆด้วย เช่น ผู้พัฒนาคอนเทนต์ เป็นต้น มีความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำมาก โดยเฉพาะธุรกิจ Digital Solution เป็นลักษณะต้นทุนคงที่หากบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตรากำไรเติบโตได้ดีขึ้นด้วย
สำหรับผลประกอบการช่วงปี 61-63 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 289 ล้านบาท , 302 ล้านบาท , และ 345 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนกำไรสุทธิเติบโตแบบก้าวกระโดดอยู่ที่ 29 ล้านบาท, 39 ล้านบาท และ 72 ล้านบาท ตามลำดับ
นายสมโภช กล่าวว่า แผนการระดมทุนครั้งนี้นอกเหนือจากเพิ่มความมั่นคงให้กับบริษัทระยะยาวแล้ว จะนำเงินไปใช้ป็นเงินทุน หมุนเวียนเพิ่มงานและทีมงาน เพื่อรองรับกับโอกาสรับงานในประเทศและงานเทเลคอมในภูมิภาคในอนาคต
"โมเดลธุรกิจของบริษัทคือต้องรอรับส่วแบ่งรายได้จากค่ายมือถือ แต่ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องชำระเงินกับพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิตคอน เทนต์และพันธมิตรที่เป็นผู้หาลูกค้ามาให้กับบริษัท บางครั้งบริษัทต้องนำเงินสดไปชำระก่อนที่จะรับรู้รายได้จากค่ายมือถือ แต่เมื่อได้รับเงิน ระดมทุนจะไปขยายรอบหมุนได้มากขึ้นทำให้ได้รับผลตอบแทนได้มากขึ้นกว่าในอดีต"นายสมโภช กล่าว
นายสมโภช กล่าวต่อว่า ราคา IPO ที่ 11 บาท P/E 24.4 เท่า เปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่มี P/E เฉลี่ย กว่า 40 เท่า แม้ว่ารูปแบบธุรกิจหลักของบริษัทคือเป็นด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมก็ตาม และหากมองแนวโน้มอัตราการ เติบโตอดีตและคาดว่าจะต่อเนื่องในอนาคต มองว่าราคา IPO ที่ 11 บาทเป็นระดับที่ค่อนข้างเหมาะสมกับผู้ลงทุนมีส่วนลดพอสมควรกับผู้ที่ ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้น IPO ของบริษัทครั้งนี้
"บริษัทมีเป้าหมายจะเติบโตโดดเด่นในอนาคตจึงมองว่าหุ้นบริษัทมีโอกาสเป็น Growth stock ให้กับผู้ลงทุนได้เช่นกัน ขณะที่ บริษัทมีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิแต่ละปีหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว โดยปี 63 บริษัทมีการจ่ายปันผลมากกว่า 90% เนื่อง จากบริษัทไม่ได้มีการลงทุนจำนวนมากแล้วหลังจากก่อนหน้านี้มีการลงทุนมาแล้ว ทำให้ได้รับผู้ถือหุ้นรับผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดีแต่ละปี ด้วย"นายสมโภช กล่าว
https://youtu.be/hYT-_xEbtFM