*กลุ่มแบงก์
-นสพ.รายงาน "ธปท." จับเข่าถกสมาคมธนาคารไทย จี้แบงก์เร่งกระบวนการปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูอุ้มลูกหนี้เอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ปลื้มยอดอนุมัติสินเชื่อพุ่ง 1.6 หมื่นล้านบาท ธุรกิจโรงแรมเต้นจ่อเข้าร่วมมาตรการพักทรัพย์พักหนี้อีกพรึบ "บสย." ฟุ้งลุยค้ำประกันสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว 2.84 พันล้านบาท
*AOT
-นสพ.รายงาน "อนุทิน" นั่งหัวโต๊ะเดินหน้าส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารสุวรรณภูมิเริ่มสร้างด้านตะวันออก เม.ย.65 อาคารด้านเหนือ เริ่มสร้าง ม.ค.66 แล้วเสร็จ มิ.ย.68 คุยเพิ่มศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มหลังโควิดจบ ส่วนด้านตะวันตกยังรอผลศึกษา
*BTS
-นสพ.รายงาน "บีทีเอส" หารือ "กรุงเทพธนาคม" วาง 2 แนวทางแก้หนี้ เดินรถส่วนต่อขยาย 3 หมื่นล้านบาท เล็งลดเที่ยววิ่งนอกเวลาเร่งด่วน พร้อมให้ กทม.เก็บค่าโดยสาร นัดหารืออีกรอบ 2 สัปดาห์ "สุรพงษ์" ย้ำไม่ได้ทำเพื่อต้องการต่อสัมปทาน ห่วงหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
*KTC
-นสพ.รายงาน จับตา KTC ประกาศท้าชน KBANK เข้าชิงพอร์ตลูกค้ารายย่อย 9 หมื่นล้านบาท จาก "ซิตี้กรุ๊ป" คาดแข่งขันสูงเหตุการขยายสินเชื่อให้เติบโตยากช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ใครได้เห็นอัพไซด์ราคาหุ้น มอง KBANK และ SCB พร้อมสุด ส่วน KTC หากชนะจะดีได้พอร์ตลูกค้าระดับ A ลูกหนี้ทับซ้อนน้อย เชื่อ KTC กู้เงินมาซื้อพอร์ต D/E เพิ่มเป็น 4 เท่า ยังยอมรับได้
*HFT
-นสพ.รายงาน ยอดขายพุ่ง ชี้คนแห่ใช้มอเตอร์ไซค์ขนส่งอาหาร-ช็อปออนไลน์ ดันยอด ผุดยางไม่กลัวรั่ว "Runflat" เจาะกลุ่มผู้สร้างรายได้จาก 2 ล้อ ด้านยุโรปเปิดเมืองออเดอร์วิ่งอีก จ่อเพิ่มกำลังผลิตอีก 15% แย้ม Q2 ที่ปกติแย่สุด จะโดดเด่นกว่า Q1 บริหารดีอัตรากำไรขั้นต้นขยับแตะ 24% เล็งออกเครื่องดื่มเมล็ดกัญชง
*TOG
-นสพ.รายงาน ผลงานไตรมาส 2/2564 รับอานิสงส์ สหรัฐ-ยุโรป ฟื้นดันยอดขายโต เนื้อหอมลูกค้ารายใหม่-เก่า เรียงคิวยื่นออเดอร์แน่น เดินหน้าเจาะตลาดใหม่ เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน ด้านโบรกมองบวก หลังตลาดต่างประเทศมีสัญญาณบวกหลังรับวัคซีนโควิด
*EPG
-นสพ.รายงาน จับตาแจ้งงบ 27 พ.ค.นี้ ผู้บริหารมั่นใจได้ตามแผน หลัง 3 ธุรกิจหลัก Aeroflex-Aeroklas-EPP ฟื้นตัว โบรกเกอร์คาดไตรมาส 4 ปี 63/64 (ม.ค.-มี.ค. 64) ฟันกำไรสุทธิ 443 ล้านบาท เติบโต 80% หนุนกำไรสุทธิทั้งปีแตะระดับ 1,257 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 25%
*กลุ่มรับเหมาฯ
-นสพ.รายงาน การรถไฟฯ ยันประมูลรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โปร่งใส ตรวจสอบได้ หลังเกิดกระแสฮั้วประมูล แจง ต้องกำหนดคุณสมบัติเป็นผู้มีประสบการณ์งานอุโมงค์ตามรูปแบบแนวสายทาง แต่สามารถรวมกลุ่มเป็นกิจการร่วมค้าได้ เพื่อเปิดกว้างการแข่งขัน
*กลุ่มประกัน
-นสพ.รายงาน สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังคงอลหม่านขวัญผวากันทั้งประเทศ กระทั่งในแวดวงประกันภัยเริ่มมีการประเมินแนวโน้มและทิศทางของโอกาสความน่าจะเป็นในโอกาสการที่จะเกิดการเคลมสินไหมจากกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโควิด ซึ่งกำลังขายดีเทน้ำเทท่าอย่างต่อเนื่อง โดยแค่ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค-เม.ย.) ทั้งระบบมียอดขายรวม 7.3 ล้านฉบับ เมื่อเทียบกับปี 2563 ทั้งปีที่มียอดขายกว่า 9.3 ล้านฉบับ คิดเป็นเบี้ยประกันมากกว่า 4 พันล้านบาทเศษ