ก.ล.ต.ชี้แจงเกณฑ์การจัดตั้งและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมฮ่องกง-ไทย

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday June 24, 2021 18:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยรายละเอียดการเสนอขายกองทุนรวมระหว่าง ฮ่องกง-ไทย ภายใต้โครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย (HK-TH MRF) หลังออกประกาศเพื่อรองรับการเสนอขายกองทุนรวมภายใต้โครงการดังกล่าว ว่า การเสนอขายกองทุนรวมภายใต้ HK-TH MRF ได้กำหนดประเภทของกองทุนรวมฯ ไว้ดังนี้

1. กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ และกองทุนรวมผสม

2. กองทุนรวมดัชนี (Index fund)

3. กองทุนรวมอีทีเอฟที่มีกลยุทธ์แบบ Passive เท่านั้น (Passive ETF) ซึ่งรวมถึง gold ETF ที่ลงทุนในทองคำแท่งตามมาตรฐานสากล (99.99%)

4. กองทุนรวมฟีดเดอร์ที่เป็น กองทุนในข้อที่ 1,2,3 ดังกล่าวข้างต้น และกองทุนหลักเป็นกองทุนรวมที่ได้รับ authorised จาก SFC หรือได้รับอนุมัติจัดตั้งจากสำนักงาน ก.ล.ต.โดยมีลักษณะเป็นไปตาม HK-TH MRF MOU และกองทุนหลักต้องไม่ใช่กองทุนรวมฟีดเดอร์

ทั้งนี้ เกณฑ์การลงทุนที่ตกลงร่วมกัน ได้แก่ Net derivative exposure น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100% NAV (commitment approach), ห้ามลงทุนตรงใน virtual/digital assets (สามารถลงทุนอ้อมผ่านกองทุนรวมอื่นได้รวมกันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20% NAV), ห้ามทำธุรกรรม physical short selling, กู้เงินหรือทำ repo น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% NAV เพื่อสภาพคล่องเท่านั้น (คำนวณรวมการลงทุนผ่านกองทุนรวมอื่นด้วย)

กรณีเป็นกองทุนรวมซึ่งลงทุนในกองทุนรวมอื่น ต้องมีลักษณะดังนี้

1. underlying funds / ETFs เป็น authorised fund ที่ได้รับอนุมัติจัดตั้งและจดทะเบียนในฮ่องกงหรือเป็นกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจัดตั้งกับสำนักงาน ก.ล.ต. และมีลักษณะเป็นไปตาม HK-TH MRF MoU

2. underlying funds / ETFs เป็น UCITS ที่จดทะเบียนใน Luxembourg Ireland หรือ UK

3. กรณี underlying fund เป็น unlisted fund ที่ไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กล่าวมาข้างต้น ลงทุนรวมกัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% NAV

4. ลงทุนทางอ้อมใน restricted assets ผ่านข้อ 1,2 และ 3 รวมกันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20% NAV

5. ลงทุนใน single listed REIT ตัวละน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% NAV (โดยรวมน้อยกว่า 80% NAV)

6. ลงทุนใน single ETF ที่ไม่เข้าเงื่อนไขข้อ 1 และ 2 ตัวละน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10% NAV (โดยรวมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100% NAV)

สำหรับการขออนุมัติจัดตั้งและการขออนุญาตเสนอขาย ในส่วนของ TH feeder fund ลงทุนใน MRF-eligible HK master fund ไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80% NAV มีขั้นตอนดังนี้ บลจ.ฮ่องกงต้องขอหนังสือรับรองจาก SFC (SFC Eligibility Certificate) ว่า กองทุนรวมฮ่องกงเป็น MRF-eligible master fund กล่าวคือเป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นไปตาม Annex B ของ SEC Circular จากนั้น SFC จะออกหนังสือรับรองถึงสำนักงานโดยตรง และจะแจ้งบลจ.ฮ่องกง เพื่อทราบ และบลจ.ไทย ยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมฟีดเดอร์ผ่าน OFAM ภายหลังจากที่ได้รับการยืนยันจาก บลจ. ฮ่องกง ว่า SFC ได้ส่งหนังสือรับรองถึงสำนักงานแล้ว อย่างไรก็ตามหากเป็นไปตามกำหนดก็จะอนุมัติจัดตั้ง feeder fund ภายใน 21 วัน

ส่วน HK feeder fund ลงทุนใน MRF-eligible TH master fund น้อยกว่าหรือเท่ากับ 90% NAV มีขั้นตอนดังนี้ บลจ.ไทยขอหนังสือรับรองจากสำนักงาน (SEC Eligibility Certificate) ว่ากองทุนรวมไทยเป็น MRF-eligible master fund กล่าวคือเป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นไปตาม Annex B ของ SFC Circular, สำนักงานออกหนังสือรับรองถึง SFC โดยตรง และจะแจ้ง บลจ.ไทย เพื่อทราบ โดยการรับรองว่ากองทุนรวมไทยเป็น MRF-eligible master fund เป็นการรับรอง ณ วันที่พิจารณาข้อมูล

ดังนั้น บลจ.ไทย มีหน้าที่ติดตามดูแลให้กองทุนรวมไทย ยังคงมีลักษณะเป็นไปตาม Annex B ของ SFC Circular ทั้งนี้การพิจารณาหากเป็นไปตามกำหนด ก็จะอนุมัติจัดตั้ง feeder fund ภายใน 21 วัน

ขณะที่การเสนอขายกองทุนรวมระหว่างฮ่องกงและไทย จะต้องแต่งตั้งตัวแทนขายหน่วยลงทุน ประกอบด้วย Local representatives เพื่อเป็นตัวแทนประสานงานด้านการเปิดเผยและจัดส่งข้อมูล รวมถึงรับหนังสือ คำสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารอื่นๆ และ Local distributor เพื่อเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยลงทุน, จัดส่ง prospectus หรือ factsheet แก่ผู้ลงทุน อีกทั้งเผยแพร่โฆษณา หรือ marketing materials

ด้านหลักเกณ์การซื้อขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมฮ่องกงภายใต้โครงการ HK-TH MRF ได้แก่ Local distributor จัดส่งหรือแจกจ่ายข้อมูล เช่น factsheet รายงานประจำปีแก่ผู้ลงทุนไทย รวมทั้งจัดให้มีข้อมูลประกอบการเสนอขายที่ บลจ.ฮ่องกง ไดจัดทำและแจกจ่ายในฮ่องกง ณ ที่ทำการหรือเว็บไซต์ของ local distributor, ให้บิรการซื้อขายหน่วยลงทนุ แก่ผู้ลงทุนไทย ตามประกาศ ทธ. 35/2556 เว้นแต่ประกาศทธ. 8/2561 มีข้อกำหนดเฉพาะ เช่น peer performance, ก่อนการตกลงรับเป็น local distributor ต้องจัดให้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับ บลจ.ฮ่องกง เรื่องการจัดส่งข้อมูลให้แก่ local distributor เช่น ข้อมูล ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ลงทุน เป็นต้น หาก บลจ. ฮ่องกง ไม่ทำตามข้อตกลง ให้ local distributor หยุดให้บริการขายหน่วยลงทุนของกองทุน รวมฮ่องกงภายใต้ บลจ. ฮ่อกง นั้นทันที

กรณีบลจ. ฮ่องกงไม่ประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการ HK-TH MRF ในไทยอีกต่อไป ให้แจ้งสำนักงาน และผู้ถือหน่วยลงทุนไทยทราบล่วงหน้าตามข้อกำหนด คือ กรณีมีการควบรวมกองทุนรวม หรือเลิกเสนอขายหน่วยลงทุนในฮ่องกงแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือน, กรณีไม่ประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนในไทยอีกต่อไป (โดยมิใช่ด้วยเหตแห่งการควบรวมหรือเลิกเสนอขายหน่วยลงทุนในฮ่องกง) แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน

นอกจากนี้ส่วนของกองทุนไทยเสนอขายในฮ่องกง (Outbound) ให้บลจ. ไทย ยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม เพื่อพิจารณาแบบปกติ (ไม่สามารถยื่นแบบ auto approval), บลจ.ไทยจัดการลงทุนกองทุนรวมไทยได้ตามปกติ เว้นแต่มีข้อกำหนดเฉพาะใน SFC Circular เช่น การลงทนในทองคำแท่งตามมาตรฐานสากล (99.99%) การลงทุนในกองทุนรวมอื่น เป็นต้น

สำนักงานจะออก SEC Eligibility Certificate ถึง SFC โดยตรง และจะแจ้งบลจ. ไทย เพื่อทราบ ก่อนยื่นขออนุญาตเสนอขายกับ SFC ต่อไป, ไมต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ไม่นับคะแนนเสียงส่วนเกิน กรณีผู้ถือหน่วยลงทุนถือเกินกว่า 1 ใน 3 เฉพาะกรณีเป็นการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนที่มิได้มีสัญชาติไทยหรือผ่าน omnibus account, การชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ HK-TH MRF ต้องชำระไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดใน SFC Circular หรือน้อยกว่า 1 เดือน และให้บลจ.ไทยจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนในฮ่องกงรวมทั้งปฎิบัติตามข้อกำหนดของ SFC Circular

อนึ่ง ประกาศเพื่อรองรับโครงการ HK-TH MRF มีทั้งสิ้น 3 ฉบับ แบ่งเป็น ประกาศ Inbound และ ประกาศ Outbound ประกอบด้วย

1. ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ทน. 41/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ให้บลจ. ฮ่องกง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านการเสนอขายหน่วยลงทุน เช่นเดียวกับการเสนอขายภายใต้โครงการ ASEAN CIS และ ARFP โดยอนุโลม กรณี บลจ.ฮ่องกง ไม่ประสงค์ที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนในไทยอีกต่อไป ให้แจ้งสำนักงานและผู้ถือหน่วยลงทุนในไทยล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เว้นแต่ด้วยเหตุแห่งการควบรวมหรือเลิกกองทุนรวมในฮ่องกง ให้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

2.ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต.ที่สน. 31/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย โดยมีสาระสำคัญให้บลจ. ฮ่องกง จัดทำร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสำนักงาน รวมทั้งอนุโลมให้บลจ. ฮ่องกง ใช้แบบ filing ของกองทุนรวมฮ่องกงยื่นต่อสำนักงานได้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ใช้กับบลจ.ต่างประเทศ ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ ASEAN CIS และ ARFP เช่นกัน

3. ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ทน. 42/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติม สำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการลงทุนระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ