นายชัยสิทธิ์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอ็น.ดี.รับเบอร์ (NDR) เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า บริษัทไม่ได้ เป็นเพียงผู้ประกอบการผู้ผลิตยางรถมอเตอร์ไซค์อีกต่อไป แต่ได้ปรับบทบาทเพื่อเดินทางเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยียานยนต์ หลังจากเข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญใน บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด ในสัดส่วน 35% เพื่อหวังสร้างการเติบโตของผลประกอบการรอบ ใหม่ (New S-curve) ให้กับ NDR ที่จะได้เห็นชัดเจนตั้งแต่ปี 65 เป็นต้นไป
หลังจากนี้บริษัทจะเป็นผู้ประกอบการที่มีสัสส่วนรายได้จากการพัฒนาออกแบบ ผลิต และจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบ รนด์ อีทราน (ETRAN) ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริงที่รถจักยานยนต์ไฟฟ้าสามารถขับขี่ได้ 180 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่ง ครั้ง และสามารถทำความเร็วได้ 120 ต่อชั่วโมงที่จะเข้ามาเปลี่ยนเทรนด์ของตลาดรถจักยานยนต์ในประเทศไทย ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยต่อปี สูงถึง 1.5 ล้านคัน
เฟสแรกของการเริ่มธุรกิจรถจักยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่ามีผู้ซื้อจริงและมีผู้ใช้จริง ในปี 64 นี้บริษัทได้ปรับเป้า หมายขึ้นเป็น 2,000 คัน จากเดิมที่ 1,000 คัน แบ่งเป็นจักยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อเช่า 80% โดยบริษัทได้เริ่มทำการตลาดและเปิดให้จองไป แล้วในช่วงที่ผ่านมาและจะส่งมอบในไตรมาส 3/64 ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากกลุ่มรถจักยานยนต์รับจ้างต่างๆ โดยเฉพาะพนักงานขับรถ ส่งอาหาร ที่มียอดจองเข้ามาเกือบ 500 คันแล้วในปัจจุบัน ในส่วนของจักยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายอีก 20% จะเปิดตัวและทำการตลาดใน ช่วงไตรมาส 4/64 นี้
ในปี 65 บริษัทตั้งเป้าหมายมากกว่า 10,000 คันทั้งการให้เช่าและจำหน่าย ก่อนจะเริ่มพัฒนาไปเป็นเฟสที่สองของการเติบ โตในธุรกิจรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในปี 66 ด้วยการเริ่มตั้งโรงงานประกอบและผลิตด้วยตัวเอง โดยมีชิ้นส่วนหลักที่ต้องใช้การร่วมลงทุน (JV) กับผู้ประกอบการที่มีเชี่ยวชาญอยู่แล้ว คือ มอเตอร์ไฟฟ้า และ แบตเตอรี่ไฟฟ้า ในส่วนของซอฟต์แวร์ต่างๆ ภายในรถจะเป็นการ พัฒนาเองทั้งหมด
พร้อมกันนั้น บริษัทยังอยู่ระหว่างหารูปแบบการร่วมลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ 4-5 ราย อาทิ ผู้ประกอบการด้านสถานี บริการน้ำมัน ผู้ประกอบการให้บริการด้านโลจิสติกส์ และผู้ประกอบการนอนแบงก์ (Non-Bank) เป็นต้น เพื่อที่จะตั้งจุดให้บริการสลับ แบตเตอรี่(Battery Swap) คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในระยะเวลา 1-2 เดือน นี้
"เราไม่อยากให้มอง NDR เป็นแค่ธุรกิจยางรถอีกต่อไปแล้ว แต่อยากให้มองเราเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ยังมีมูลค่าแฝงอยู่ อีกค่อนข้างมาก ซึ่งหลังจากนี้หากเราทำให้เทรนด์ของตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จริง การจะเข้าเฟสสองก็จะเร็วขึ้น และเป็น การสร้าง New S-curve ของบริษัทที่ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยขนาดตลาดรถจักยานยนต์ในไทย และยังมีในประเทศเพื่อนบ้างที่เรามีโอกาสที่จะไป ขยายได้อีกด้วย"นายชัยสิทธิ์ กล่าว
นายชัยสิทธิ์ กล่าวถึงทิศทางผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังว่า มีแนวโน้มที่ดีกว่าครึ่งปีแรก หลังจากทุกประเทศเร่งกระจาย วัคซีนโควิดได้มากขึ้น เชื่อว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย หากสามารถคคลายล็อกดาวน์ได้คำสั่งซื้อยางรถจักยานยนต์จะกลับมาค่อนข้างมาก เนื่องจากในช่วงนี้มีการล็อกดาวน์โรงงานผลิตยางรถ จักรยานยนต์ทุกโรงงานหยุดการผลิตส่งผลให้ซัพพลายลดลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
"ในช่วงครึ่งปีแรกต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการแร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่หลังจากที่รัฐบาลหลายๆประเทศ เร่งการฉีดวัคซีน สถานการณ์ก็มีทิศทางที่คลี่คลายลง ซึ่งก็จะทำให้ความต้องการยองกลับมา โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียที่ต้องปิดโรง งานผลิตไป หากกลับมาเปิดซัพพลายจะขาดทำให้คำสั่งซื้อมาที่เราจำนวนมาก และเราก็ยังมีในส่วนของยางที่ได้พัฒนารองรับรถจักยานยนต์ ไฟฟ้าด้วย"นายชัยสิทธิ์ กล่าว