เวลานี้ไม่มีใครไม่รู้จักเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เรียกอีกชื่อว่า โควิด-19 นับจากที่จีนประกาศพบผู้ติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหู เป่ย ในช่วงเดือน ธ.ค.62 ถึงวันนี้ เชื้อโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ขณะนี้ มียอดผู้ติดเชื้อสะสมเกือบ 200 ล้านราย จุดเริ่มต้น ในประเทศไทยเมื่อ 12 ม.ค.63 พบผู้ป่วยหญิงเป็นนักท่องเที่ยวมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก
นับจากนั้นมาจนถึงทุกวันนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์เดลตา อัลฟา เบตา แลมป์ดา เป็นต้น ผู้คนต่างติด เชื้อกันมากขึ้น หลายธุรกิจต่างประสบปัญหาจนบางรายถึงขั้นต้องปิดกิจการไป มีเพียงธุรกิจโรงพยาบาลที่ได้รับอานิสงส์เป็นอย่างมาก ใน สภาวะปกติแต่ละโรงพยาบาลไม่เคยใช้ capacity เต็มที่ แต่ตอนนี้นอกจากจะใช้ capacity ของแต่ละโรงพยาบาลเต็มแล้ว ผู้ป่วยโควิด ยังล้นออกนอกโรงพยาบาลด้วย นี่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า กลุ่มโรงพยาบาลย่อมที่จะมีผลดำเนินงานที่ดีมาก เพราะไม่ว่าจะรักษาผู้ป่วยด้วย โรคปกติแล้ว ยังมีรายได้จากการตรวจหาเชื้อโควิด การรักษาผู้ป่วยโควิดด้วย
นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดว่า กลุ่มโรงพยาบาลยังคงมีผล ดำเนินงานที่ดีในไตรมาส 3/64 และอาจจะทำผลงานได้ดีกว่าไตรมาส 2/64 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งขึ้นทำนิวไฮทะลุกว่าหมื่น รายต่อวัน ทำให้ผลงานอาจเป็นจุดพีคได้
แม้ว่า Valuation ของหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลจะไม่ถูก แต่ด้วยโมเมนตัมบวกที่เข้ามา ทำให้หุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลยังเล่นต่อ ไปได้อีก อย่างน้อยก็อีกไตรมาส เพราะถ้าวัคซีนทางเลือกเข้ามาเมื่อไร สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย ก็เป็นเวลาที่จะ ขายหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลออกไป
ดังนั้น จึงมองว่ากำไรของกลุ่มโรงพยาบาลน่าจะเริ่มย่อลงในช่วงไตรมาส 4/63 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่แย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่นี้ และเชื่อว่ากำไรในไตรมาส 4/64 คงไม่ได้ดีไปกว่าไตรมาส 3/64 ส่วนการให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจโค วิด Rapid Test ได้นั้น มองว่าไม่มีผลต่อกลุ่มโรงพยาบาล เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องไปตรวจหาเชื้อที่ได้ผลชัดเจนกับโรงพยาบาลอยู่ดี
ส่วนบทวิเคราะห์ฯ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า กลุ่มการแพทย์ คาดกำไรไตรมาส 2/64 จะออกมาโดดเด่นอย่างมาก เติบ โตทั้ง Q-Q และ Y-Y อย่างแข็งแกร่งจากอานิสงส์ของการตรวจเชื้อและรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นจากการระบาดระลอก 3 ที่รุนแรง โดยชอบ บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH), บมจ.โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG), บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) และบมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS)
โดยแนะ"ซื้อ" BCH ผู้บริหารช้อมูลเชิงบวกอย่างมาก โดยคาดกำไรไตรมาส 3/64 ยังพุ่งขึ้นต่อจากไตรมาส 2/64 โดยล่า สุดวันที่ 1-15 ก.ค.ที่ผ่านมามีการตรวจเชื้อโควิด-19 แล้ว 1.32 แสนเคส (ไตรมาส 2/64 ตรวจ 5.88 แสนเคส) ขณะที่การรักษา ปัจจุบันมีการเพิ่ม Hostpital และ Hospitel เป็น 8,500 เตียง (ไตรมาส 2/64 อยู่ที่ 2,500 เตียง) ทำให้ประมาณการกำไรปี 25641 มี Upside อย่างมาก และมีโอกาสปรับราคาเป้าหมายปัจจุบันที่ 28 บาทขึ้น
ส่วน บมจ.โรงพยาบาลพระรามเก้า (PR9) คาดกำไรไตรมาส 2/64 ไม่สดใส -59% Q-Q, +38% Y-Y เนื่องจากมีการ หยุดบริการเปลี่ยนไตในเดือน เม.ย.จากความกังวลโควิด-19 ที่กลับมาระบาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ากำไรไตรมาส 3/64 จะฟื้นตัวดีและ รายได้การรักษาโควิด-19 จะชดเชยบริการอื่น ๆ ได้ พร้อมปรับลดกำไรปี 64 ลงเป็น -2% Y-Y แต่ปรับเพิ่มปี 65 ขึ้นเป็น +82% Y-Y ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 14 บาท ยังแนะ"ซื้อ"
ด้านนายวิจิตร อายะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า กลุ่มโรงพยาบาลยังเล่นได้ จากโมเมนตัมกำไรในไตรมาส 2-3/64 จะออกมาดี โดยเฉพาะ BCH และ CHG คาดว่ากำไรไตรมาส 2-3 ปีนี้มีโอกาสที่จะทำ All time high โดยเฉพาะ BCH มีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยการรับตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในช่วงไตรมาส 2/64 ทำได้ถึง 580,000 เคส เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบจากไตรมาส 1/64 ที่รับตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ 120,000 เคส และนับตั้งแต่วันที่ 1-5 ก.ค.นี้ก็ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว 130,000 เคส ซึ่งมากกว่าไตรมาส 1/64 อีก ดังนั้นรายได้จากโควิด-19 จึงแข็งแกร่งมาก ซึ่งทาง BCH ก็ใช้เตียงเต็ม Capacity และยังไปร่วมมือกับโรงแรมอีก ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19
สำหรับชุดตรวจโควิด Rapid Test ยิ่งมีการตรวจหาเชื้อมากเท่าไรก็ยิ่งเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่า Antigen Test Kit ไม่ได้กดดันการแพร่ระบาดโควิด แต่จะเป็นตัวเสริมด้วยซ้ำไป เพราะอย่างไรก็จะต้องกลับมาตรวจที่โรงพยาบาลอยู่ ดี พร้อมกันนี้เชื่อว่าตลาดน่าจะมีการปรับเพิ่มประมาณการของ BCH ขึ้น ซึ่งขณะนี้หลายสำนักวิจัยก็ได้ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายของ BCH ขึ้น เป็น 30 บาทแล้ว
ทั้งนี้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ค่อยรับผลดีจากสถานการณ์โควิด-19 เท่าไร เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่หายไป เนื่องจากโรง พยาบาลขนาดใหญ่ผู้ป่วยต่างชาติหายไป และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เป็นอยู่ขณะนี้ ทำให้คนไม่กล้าไปโรงพยาบาล ดังนั้นผู้ป่วย OPD ก็จะหดหายไปบ้างด้วย แต่หากจะลงทุนระยะ 6 เดือนสำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ก็พอทำได้ เพราะราคาหุ้นของโรง พยาบาลขนาดใหญ่ถูกอยู่แต่ไม่ได้เด่นในแง่ของผลกำไร เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลขนาดกลางที่กำไรจะดีกว่า อย่าง BCH และ CHG ที่กำไร ทำ All time high ในไตรมาส 2-3 ปีนี้
หุ้น ราคาปิด (30 ธ.ค.63) ราคาปิด (16 ก.ค.64) ราคาเป้าหมายเฉลี่ย (บาท) (บาท) (บาท) BCH 13.60 25.25 26.39 BDMS 20.80 23.30 26.75 BH 120.00 125.00 121.00 CHG 2.46 4.12 4.25 EKH 4.98 7.70 7.82 PR9 9.00 11.10 11.43 VIBHA 1.47 2.46 2.48