บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ บมจ. น้ำตาลขอนแก่น (KSL) ที่ระดับ “A-" พร้อมทั้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ “A-“ ด้วยแนวโน้ม “Stable" หรือ “คงที่"
อันดับเครดิตสะท้อนถึงประสบการณ์ที่ยาวนานของบริษัทในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย ตลอดจนการบริหารโรงงานผลิตน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพ การขยายกิจการไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การให้อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับกฎระเบียบและการดำเนินโครงการลงทุนในธุรกิจอ้อยและน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชา รวมทั้งความผันผวนของปริมาณผลผลิตอ้อยและราคาน้ำตาล
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่ากลุ่มน้ำตาลขอนแก่นจะยังคงดำรงสถานะการเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยเอาไว้ได้ โครงการปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชาคาดว่าจะใช้เงินลงทุนตามงบประมาณ ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะรักษาความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงินได้ต่อไปเพื่อรองรับกับความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า KSL เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ 5 อันดับแรกของไทยซึ่งก่อตั้งในปี 2488 โดยตระกูลชินธรรมมิตร์และคณะ ปัจจุบันตระกูลชินธรรมมิตร์ถือหุ้นในบริษัทรวม 67% ของหุ้นทั้งหมด บริษัทเป็นเจ้าของและบริหารโรงงานน้ำตาล 4 แห่งในจังหวัดขอนแก่น กาญจนบุรี และชลบุรี โดยมีกำลังการหีบอ้อยรวม 66,000 ตันอ้อยต่อวัน
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นสามารถจัดหาอ้อยได้ปีละประมาณ 4-5 ล้านต้นอ้อย และมีผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ย 503,000 ตันต่อปี ในปีการผลิต 2549/2550 กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นสามารถจัดหาอ้อยคิดเป็นสัดส่วน 8.3% ของปริมาณอ้อยทั้งประเทศ ถือเป็นอันดับ 4 รองจากกลุ่มมิตรผลซึ่งมีสัดส่วน 18.9% กลุ่มไทยรุ่งเรือง 18.1% และกลุ่มไทยเอกลักษณ์ 14.0% ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริษัทผลิตได้ในปีการผลิต 2549/2550 มีจำนวน 533,012 ตัน เพิ่มขึ้น 30% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรม
บริษัทยังได้ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากอ้อยอันประกอบด้วยธุรกิจผลิต
เอทานอลและธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า โดยในปี 2549 รายได้และกำไรจากการดำเนินงานจากเอทานอลอยู่ในเกณฑ์ที่ดี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดขายรวมของบริษัท และประมาณ 25% ของกำไรจากการดำเนินงานรวมของบริษัทเนื่องจากการมีปริมาณ
เอทานอลที่ค่อนข้างจำกัด แต่เมื่อรัฐบาลตัดสินใจให้คงการผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ต่อไป การขยายตัวของอุปสงค์ของเอทานอลก็เริ่มชะลอลง ส่งผลให้ราคาเอทานอลลดต่ำลง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทน้ำตาลขอนแก่นมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาโดยตลอด อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนอยู่ในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจาก 8.25% ในปี 2548 เป็น 22.59% ในปี 2549 โดยเป็นผลมาจากการลงทุนในโครงการเอทานอลและโรงไฟฟ้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 35.64% โดยเป็นผลจากเงินกู้ระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลผลิต อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายค่อนข้างคงที่ที่ระดับ 13%-17% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย เนื่องจากปริมาณอ้อยในประเทศไทยที่มีค่อนข้างจำกัด กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นจึงได้เริ่มขยายการลงทุนทั้งในด้านการปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาลไปยังประเทศลาวและกัมพูชาในปี 2549 โดยใช้เงินลงทุนรวม 4,700 ล้านบาท กลุ่มคาดว่าในปี 2552 จะสามารถจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้ไปยังกลุ่มประเทศยุโรปในราคาที่สูงภายใต้โครงการการให้สิทธิปลอดภาษีและโควต้าแก่สินค้านำเข้าทุกชนิดยกเว้นอาวุธแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Everything But Arms -- EBA)
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทางด้านการเมือง กฎระเบียบ และการดำเนินงานโรงงานน้ำตาลในประเทศทั้งสองดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
ปริมาณผลผลิตอ้อยในประเทศค่อนข้างผันผวนเนื่องจากขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน พื้นที่เพาะปลูก และราคาอ้อยเมื่อเทียบกับพืชผลเกษตรอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ปริมาณอ้อยได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 74 ล้านตันอ้อยเมื่อปีการผลิต 2545/2546 มาสู่ระดับ 47 ล้านตันอ้อยในปีการผลิต 2548/2549 แล้วนั้น ผลผลิตอ้อยในปีการผลิต 2549/2550 ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 63.8 ล้านตันเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาอ้อยขั้นต้นที่สูง
ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตอ้อยในปีการผลิต 2550/2551 จะมีปริมาณอย่างน้อยในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณน้ำที่มีเพียงพอ แม้ว่าน้ำตาลทรายในประเทศจะมีราคาค่อนข้างคงที่ ทว่าราคาน้ำตาลส่งออกกลับผันผวนตามอุปสงค์และอุปทานของน้ำตาลและสินค้าที่เกี่ยวข้องในตลาดโลก โดยราคาน้ำตาลทรายดิบของโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 10.67 เซนต์/ปอนด์ในปี 2547/2548 เป็น 18.93 เซนต์/ปอนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 แต่ค่อยๆ ลดลงสู่ระดับ 11.61 เซนต์/ปอนด์ในเดือนกันยายน 2550 แม้รายได้จากการขายน้ำตาลของบริษัทจะมาจากการส่งออกถึงประมาณ 60% แต่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในสัดส่วน 70:30 ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก็ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำตาลและการแข็งค่าของเงินบาทลงได้ ทริสเรทติ้งกล่าว
อันดับเครดิตสะท้อนถึงประสบการณ์ที่ยาวนานของบริษัทในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย ตลอดจนการบริหารโรงงานผลิตน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพ การขยายกิจการไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การให้อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับกฎระเบียบและการดำเนินโครงการลงทุนในธุรกิจอ้อยและน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชา รวมทั้งความผันผวนของปริมาณผลผลิตอ้อยและราคาน้ำตาล
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่ากลุ่มน้ำตาลขอนแก่นจะยังคงดำรงสถานะการเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยเอาไว้ได้ โครงการปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชาคาดว่าจะใช้เงินลงทุนตามงบประมาณ ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทจะรักษาความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงินได้ต่อไปเพื่อรองรับกับความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า KSL เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ 5 อันดับแรกของไทยซึ่งก่อตั้งในปี 2488 โดยตระกูลชินธรรมมิตร์และคณะ ปัจจุบันตระกูลชินธรรมมิตร์ถือหุ้นในบริษัทรวม 67% ของหุ้นทั้งหมด บริษัทเป็นเจ้าของและบริหารโรงงานน้ำตาล 4 แห่งในจังหวัดขอนแก่น กาญจนบุรี และชลบุรี โดยมีกำลังการหีบอ้อยรวม 66,000 ตันอ้อยต่อวัน
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นสามารถจัดหาอ้อยได้ปีละประมาณ 4-5 ล้านต้นอ้อย และมีผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ย 503,000 ตันต่อปี ในปีการผลิต 2549/2550 กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นสามารถจัดหาอ้อยคิดเป็นสัดส่วน 8.3% ของปริมาณอ้อยทั้งประเทศ ถือเป็นอันดับ 4 รองจากกลุ่มมิตรผลซึ่งมีสัดส่วน 18.9% กลุ่มไทยรุ่งเรือง 18.1% และกลุ่มไทยเอกลักษณ์ 14.0% ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริษัทผลิตได้ในปีการผลิต 2549/2550 มีจำนวน 533,012 ตัน เพิ่มขึ้น 30% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรม
บริษัทยังได้ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากอ้อยอันประกอบด้วยธุรกิจผลิต
เอทานอลและธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า โดยในปี 2549 รายได้และกำไรจากการดำเนินงานจากเอทานอลอยู่ในเกณฑ์ที่ดี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดขายรวมของบริษัท และประมาณ 25% ของกำไรจากการดำเนินงานรวมของบริษัทเนื่องจากการมีปริมาณ
เอทานอลที่ค่อนข้างจำกัด แต่เมื่อรัฐบาลตัดสินใจให้คงการผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 ต่อไป การขยายตัวของอุปสงค์ของเอทานอลก็เริ่มชะลอลง ส่งผลให้ราคาเอทานอลลดต่ำลง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทน้ำตาลขอนแก่นมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาโดยตลอด อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนอยู่ในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจาก 8.25% ในปี 2548 เป็น 22.59% ในปี 2549 โดยเป็นผลมาจากการลงทุนในโครงการเอทานอลและโรงไฟฟ้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 35.64% โดยเป็นผลจากเงินกู้ระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลผลิต อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายค่อนข้างคงที่ที่ระดับ 13%-17% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย เนื่องจากปริมาณอ้อยในประเทศไทยที่มีค่อนข้างจำกัด กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นจึงได้เริ่มขยายการลงทุนทั้งในด้านการปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาลไปยังประเทศลาวและกัมพูชาในปี 2549 โดยใช้เงินลงทุนรวม 4,700 ล้านบาท กลุ่มคาดว่าในปี 2552 จะสามารถจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้ไปยังกลุ่มประเทศยุโรปในราคาที่สูงภายใต้โครงการการให้สิทธิปลอดภาษีและโควต้าแก่สินค้านำเข้าทุกชนิดยกเว้นอาวุธแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Everything But Arms -- EBA)
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทางด้านการเมือง กฎระเบียบ และการดำเนินงานโรงงานน้ำตาลในประเทศทั้งสองดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
ปริมาณผลผลิตอ้อยในประเทศค่อนข้างผันผวนเนื่องจากขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน พื้นที่เพาะปลูก และราคาอ้อยเมื่อเทียบกับพืชผลเกษตรอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ปริมาณอ้อยได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 74 ล้านตันอ้อยเมื่อปีการผลิต 2545/2546 มาสู่ระดับ 47 ล้านตันอ้อยในปีการผลิต 2548/2549 แล้วนั้น ผลผลิตอ้อยในปีการผลิต 2549/2550 ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 63.8 ล้านตันเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงราคาอ้อยขั้นต้นที่สูง
ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตอ้อยในปีการผลิต 2550/2551 จะมีปริมาณอย่างน้อยในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณน้ำที่มีเพียงพอ แม้ว่าน้ำตาลทรายในประเทศจะมีราคาค่อนข้างคงที่ ทว่าราคาน้ำตาลส่งออกกลับผันผวนตามอุปสงค์และอุปทานของน้ำตาลและสินค้าที่เกี่ยวข้องในตลาดโลก โดยราคาน้ำตาลทรายดิบของโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 10.67 เซนต์/ปอนด์ในปี 2547/2548 เป็น 18.93 เซนต์/ปอนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 แต่ค่อยๆ ลดลงสู่ระดับ 11.61 เซนต์/ปอนด์ในเดือนกันยายน 2550 แม้รายได้จากการขายน้ำตาลของบริษัทจะมาจากการส่งออกถึงประมาณ 60% แต่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในสัดส่วน 70:30 ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก็ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำตาลและการแข็งค่าของเงินบาทลงได้ ทริสเรทติ้งกล่าว