สรุปข่าวเด่นวงการ Cryptocurrency ทั่วโลกรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-20 ส.ค.64) เริ่มต้นด้วยประเด็นร้อนบนโลกการเงินที่เทคโนโลยีบล็อกเชนและ Cryptocurrency ที่เข้าไปมีบทบาทหลากหลายอุตสาหกรรมแล้ว ล่าสุดบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ได้เข้าไปมีส่วนในอุตสาหกรรมเกม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาลไม่แพ้โลกการเงินเลยทีเดียว ล่าสุดมีกระแสการเล่นเกมโมเดลใหม่ ที่สร้างผลตอบแทนให้กับผู้เล่นด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
*"Play to Earn" คืออะไร เล่นเกมแล้วได้เงินจริง!?
จากกระแสการเล่นเกมของเหล่าเกมเมอร์ที่ก้าวเข้าสู่โลกคริปโท ทำให้เกิดแพลตฟอร์มในการเล่นเกมรูปแบบใหม่ที่มีชื่อโมเดลว่า Play-to-Earn โดยโมเดล "Play to Earn" จะมีลักษณะที่สำคัญก็คือ ผู้เล่นเกมจะได้รับรางวัลจากการเล่นเกม หรือปฏิบัติตาม Task ต่าง ๆ เป็นเหรียญคริปโท หรือ โทเคน
ปัจจุบันจะมีเกมโมเดลลักษณะนี้มากมายไม่ว่าจะเป็น Axie Infinity หรือว่า Illuvium ซึ่งแต่ละเกมก็จะมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน
และด้วยความนิยมของแพลตฟอร์มเกมที่มากขึ้น ก็ทำให้ราคาโทเคนของเกมนั้น ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตาม ยกตัวอย่างเช่น เกม Axie Infinity ก็จะมีโทเคน AXS ซึ่งมีราคาสูงถึงประมาณเหรียญละ 2,000 บาททีเดียว
ล่าสุด ทาง "Bitazza" ได้ลิสต์เหรียญ "AXS" บนกระดานเทรดแล้ว และทาง "Bitkub" เองก็ประกาศว่าจะลิสต์เหรียญ AXS เร็ว ๆ นี้เช่นกัน
*Coinbase ประกาศซื้อคริปโทเข้าบริษัทเพิ่มอีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว "Coinbase" ได้ทำการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2564 ที่ทำกำไรได้ถึง 1,606 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดทาง "Coinbase" ศูนย์ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอย่าง ได้ประกาศจะซื้อคริปโทเข้าบริษัทฯ อีก 500 ล้าน และจะนำกำไรอีก 10% ของทุกไตรมาส ซื้อคริปโทเพิ่ม
จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราคาคริปโทสกุลหลักอย่างบิทคอยน์ (BTC) ปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน และการตัดสินใจดังกล่าว ยังถือเป็นผลดีต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะการเข้าซื้ออย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการพยุงราคาต่อสินทรัพย์ในตลาด สร้างเสถียรภาพที่มั่นคงในตลาดคริปโทต่อไป
*แบงก์ชาติประกาศเนื้อหา ความคืบหน้าของ Retail CBDC
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยการศึกษาถึงผลกระทบของ Retail CBDC สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับประชาชน (ไม่ใช่ BATHNET) โดยมีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1.การศึกษาผลกระทบของ Retail CBDC ต่อภาคการเงินไทย // โดยผลการศึกษาชี้ว่าการออกแบบและการพัฒนา Retail CBDC ต้องไม่สร้างผลกระทบรุนแรงต่อเสถียรภาพโดยรวมของภาคการเงินไทย โดยมีลักษณะสำคัญ ได้แก่
a.รูปแบบคล้ายเงินสด และไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย
b.อาศัยตัวกลาง เช่นสถาบันการเงินในการแลกเปลี่ยน Retail CBDC กับประชาชน
c.มีเงื่อนไขหรือระยะเวลาสำหรับการแลกเปลี่ยน
2. ผลสำรวจความเห็นจากสาธารณชน ผลสำรวจส่วนใหญ่เห็นกับแนวทางการพัฒนาของ ธปท. และมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่ปลอดภัย โดยผลสำรวจบางส่วนเสนอเพิ่มเติมให้ ธปท. มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และการใช้งานของ Retail CBDC แก่ผู้บริโภค
3.แผนการทดสอบการใช้งานจริงในวงจำกัด (Pilot Test) ได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาและการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ดังนี้
a.การทดสอบระดับพื้นฐาน (Foundation Track)
b.การทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation Track)
โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มทดสอบได้ในไตรมาส 2 ปี 2565
ทั้งนี้ ธปท. จะประเมินผลลัพธ์และความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า Retail CBDC จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ภาคธุรกิจและประเทศในภาพรวมต่อไป
https://youtu.be/yhIPm50UmxA