นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) เปิดเผยว่า บริษัทฯคาดรายได้ปีนี้มีแนวโน้มเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อนที่มีรายได้ 1,888.27 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะรับรู้รายได้จากการจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในปีนี้ประมาณ 60-70 เมกะวัตต์ (MW)
ทั้งนี้ ในไตรมาส 3/64 โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Leo 1 ที่มีกำลังการผลิตขนาด 20 เมกะวัตต์(MW) ในประเทศญี่ปุ่น ได้จ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว ทำให้คาดว่าจะรับรู้รายได้ทันที และบริษัทจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าชีวมวล มีกำลังการผลิตขนาด 9.9 เมกะวัตต์(MW) หลังจากได้ทำรายการซื้อหุ้นของบริษัท ยูนิ พาวเวอร์ เทค จำกัด (UPT) ในสัดส่วน 49% ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในมือรวม 177 เมกะวัตต์ (MW)
นายวรุตม์ กล่าวต่อว่า ช่วงที่เหลือของปี 64 บริษัทมีแผนจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มอีกว่า 40 เมกะวัตต์ (MW) ประกอบด้วย โครงการพลังงานลมในประเทศเวียดนาม กำลังการผลิต 48 เมกะวัตต์ (MW) ทั้งนี้ บริษั คาดว่าจะจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ หรือภายในไตรมาส 4/64 และจะทยอย COD ในโครงการโซลาร์รูฟท็อบ (Solar rooftop) ในประเทศอินโดนีเซียเพิ่ม โดยจะเริ่มทยอย COD ตั้งแต่เดือน ก.ย.64 เป็นต้นไป โดยคาดว่าภายในปี 64 จะ COD ได้ประมาณ 16 เมกะวัตต์(MW)
บริษัทนใจว่าในปี 64 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มเป็นมากกว่า 200 เมกะวัตต์ (MW) ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงบริษัทยังคงมองการขยายการลงทุนในโครงการ Solar Rooftop ในอินโดนีเซียเพิ่มเติม เนื่องจากมองว่าเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจในการลงทุนพลังงานทดแทน และมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี
รวมทั้งบริษัทยังคาดว่าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Leo 2 ในประเทศญี่ปุ่น มีกำลังการผลิตขนาด 17 เมกะวัตต์(MW) ที่ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาโครงการนั้น คาดว่าจะสามารถ COD ได้ภายในปี 66 ดังนั้นจะช่วยให้บริษัทกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มไปถึงระดับ 400 เมกะวัตต์(MW) ได้ตามเป้าหมายภายในปี 68
ปัจจุบันบริษัทยังมองโอกาสในการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้า โดยอยู่ระหว่างเตรียมปิดดีลซื้อกิจการโรงไฟฟ้า จำนวน 1-2 แห่ง โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนช่วงครึ่งหลังปีนี้ ขณะเดียวกัน บริษัทยังศึกษาขยายการลงทุนธุรกิจพลังงานไปในไต้หวัน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่นอกเหลือประเทศในเอเชีย โดยจะกระจายไปในหลายๆ รูปแบบ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม), โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าพลังงานลม