นาย
สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.
พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า บริษัทได้เริ่มเดินเครื่องการผลิตเชิงพาณิชย์ในโรงงานผลิต
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรที่ทันสมัยและมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
อาเซียน ผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท
อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเป็นการสร้าง New S-Curve ครั้งใหญ่ เริ่มต้นจากกำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี (GWh) ในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าหมายระยะยาวจะมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ตามทิศทางความต้องการใช้งาน
แบตเตอรี่ในประเทศไทยที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มรถเชิงพาณิชย์ที่จดทะเบียนอยู่ราว 1.3 ล้านคัน หากมีการปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นรถไฟฟ้าทั้งหมดจะมีความต้องการใช้
แบตเตอรี่สูงถึง 200-500 กิกะวัตต์ หากเทียบกับกำลังการผลิต
แบตเตอรี่ที่เตรียมขยายกำลังการผลิตไปนั้นจึงถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูงนัก และมีตลาดรองรับ
ด้านเป้าหมายระยะสั้นบริษัทเตรียมพิจารณาขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยภายใน 12 เดือน จะตัดสินใจลงทุนขยายกำลังการผลิตอีก 1 กิกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าที่จะมาใช้
แบตเตอรี่ในโรงงานดังกล่าว ซึ่งการขยายกำลังการผลิตอีก 1 กิกะวัตต์ จะใช้เวลา 6-12 เดือนสำหรับการสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม แหลังจากนั้นบริษัทจะพิจารณาขยายกำลังกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเป็น 4 กิกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 12-18 เดือน หลังจากขยายกำลังการผลิต 2 กิกะวัตต์แรกแล้วเสร็จ
โดยโรงงานดังกล่าวบริษัทได้เน้นการผลิตภายใต้แนวคิดการใช้พลังงานในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยมุ่งเน้นการรีไซเคิลในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด เพื่อผลิต
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ชนิด Pouch Cell ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และวัสดุที่มีความปลอดภัยสูงในการผลิตเซลล์
แบตเตอรี่ให้สามารถจุพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์ เพื่อให้สามารถคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่ายในขั้นตอนของการรีไซเคิลเมื่อ
แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน จึงทำให้เป็น
แบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้แบตเตอรี่ของอมิตายังออกแบบให้เข้ากันกับเทคโนโลยีแบบ Ultra-Fast Charge ที่รองรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที พร้อมรองรับการชาร์จได้สูงถึง 3,000 รอบ ที่จะเป็นจุดเด่นสำหรับรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้บริษัทยังคงเป้าหมายการติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งคาดว่าปี 65 จะสามารถติดตั้งสถานีชาร์จได้ครบ 1,000 แห่ง จากปัจจุบันที่ประมาณ 500 แห่ง ขณะที่โรงประกอบรถไฟฟ้าในทุกประเภท ภายใต้บริษัทย่อยคือ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (AAB) สามารถประกอบยานยนต์ไฟฟ้าได้เต็มกำลังการผลิตที่ 6,000-8,000 คันต่อปี โดยจะเริ่มจานยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ อาทิเช่น รถบัสไฟฟ้า และรถบรรทุก เป็นต้น ปัจจุบันอยู่นะหว่างการเจรจากับลูกค้าเพื่อผลิตให้กับลูกค้าราว 500 คัน คาดว่าจะสามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 65 เป็นต้นไป
--อินโฟเควสท์ โดย สมบูรณ์เกียรติ พานิชเจริญ/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--