สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (10 - 14 มกราคม 2565) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 350,075 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 70,015 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 19% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 54% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 190,734 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออก โดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 128,177 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการ ซื้อขายเท่ากับ 10,463 ล้านบาท หรือคิดเป็น 37% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB276A (อายุ 5.4 ปี) ESGLB35DA (อายุ 13.9 ปี) และ LB246A (อายุ 2.4 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 23,675 ล้านบาท 16,538 ล้านบาท และ 16,207 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด รุ่น MPSC229A (A+) มูลค่าการ ซื้อขาย 809 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV223A (AA(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 565 ล้านบาท และหุ้นกู้ของ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) รุ่น SCCC295A (A(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 506 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2-6 bps. ในตราสารระยะยาว ในทิศทางเดียวกับ US- Treasury จากการ คาดการณ์เฟดจะเดินหน้าแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่ารายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนธ.ค. 64 เพิ่มขึ้นเพียง 199,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ 422,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานประจำเดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ 3.9% น้อยกว่าที่คาดไว้ที่ 4.1% ขณะที่ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CPI) ประจำเดือนธ.ค. 64 เพิ่มขึ้น 7.0% (YoY) สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ด้านปัจจัยในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 65 ยังเป็นการฟื้นตัวแบบเปราะบาง ไม่รวดเร็ว และฟื้นตัวไม่เท่าเทียมกับในแต่ละ sector เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวเทียบเท่ากับในระดับก่อนเกิดโควิด-19 น่าจะเป็นช่วงไตรมาส 1/66 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก และยังเชื่อว่าปี 65 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย (1-3%)
สัปดาห์ที่ผ่านมา (10 - 14 มกราคม 2565) มีกระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 26,666 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 277 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 27,261 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 318 ล้านบาท
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
*ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ม.ค. 2565
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (10 - 14 ม.ค. 65) (4 - 7 ม.ค. 65) (%) (1 - 14 ม.ค. 65) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 350,075.31 295,400.82 18.51% 645,476.13 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 70,015.06 73,850.21 -5.19% 71,719.57 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 108 108.11 -0.10% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (MTM Corp Bond Gross Price Index)* 108.05 108.13 -0.07% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (14 ม.ค. 65) 0.45 0.49 0.51 0.86 1.43 2.1 2.61 3 สัปดาห์ก่อนหน้า (7 ม.ค. 65) 0.45 0.49 0.51 0.86 1.41 2.04 2.58 2.98 เปลี่ยนแปลง (basis point) 0 0 0 0 2 6 3 2