นายพงศ์สรร ยอดเมืองเจริญ CFA, FRM ผู้อำนวยการส่วนบริหารผลิตภัณฑ์ TMBAM Eastspring ให้ความเห็นว่า ในปีนี้เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นทั่วโลก แม้จะยังมีแรงกดดันจากสถานการณ์โควิดอยู่บ้าง แต่จะเริ่มคลี่คลายในไม่ช้า ส่วนการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และอัตราเงินเฟ้อเชื่อว่าอาจส่งผลกระทบต่อ sentiment ไปบ้างในช่วงครึ่งปีแรกนี้ แต่อาจเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าสะสมหุ้นเอเชียโดยเฉพาะอินเดียเมื่อราคาย่อตัว
สำหรับปัจจัยสนับสนุนในระยะยาวดังนี้
ปัจจัยที่หนึ่ง เศรษฐกิจของอินเดียยังมีแนวโน้มการเติบโตได้ในระดับสูงถึง 5-6% ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า โดยมาจากการบริโภคในประเทศที่ได้รับประโยชน์จากจำนวนประชากรที่อยู่ในระดับสูงถึง 1.38 พันล้านคน และสัดส่วนประชากรวัยแรงงานที่สูงถึง 65% นอกจากนี้รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการผลักดันงบประมาณการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยิ่งเชื่อได้ว่าอินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2573-2575 รองจากสหรัฐฯ และจีน
ปัจจัยที่สอง อินเดียมีกระแสเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากที่อินเดียมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีการผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ ในต่างชาติสามารถทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยเห็นได้จากดัชนีความง่ายในการลงทุน (Ease of Doing Business) ไต่อันดับขึ้นเป็น 62 ในปี 2019 จากเดิมอยู่ที่ 142 ในปี 2557 ทำให้อินเดียเป็นประเทศฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของโลก จึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการบริโภคในประเทศ
ปัจจัยที่สาม อินเดียมีการเตรียมพร้อมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนไป ผ่านนโยบายดิจิทัลอินเดีย (Digital India) ตั้งแต่ปี 2558 โดยในขณะนั้นนายกรัฐมนตรีนเรนธรา โมดี ต้องการกระจายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปทั่วทุกพื้นที่ของอินเดีย เพื่อรองรับระบบการเงินทั่วโลกที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจดิจิตอล โดยปัจจุบันอินเดียมีสัดส่วนผู้ใช้ Smartphone ราว 30-35% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ ซึ่งยังต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและจีนที่มีอัตราการใช้สูงกว่า 60% ทำให้ยังมีช่องให้สามารถเติบโตได้อีกมาก
ปัจจัยที่สี่ หากพูดถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีบุคลากรที่พรั่งพร้อม ดังจะเห็นได้จากผู้บริหารในบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกนั้นมีหลายคนเป็นอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น Parag Agrawal ที่ล่าสุดมารับตำแหน่งซีอีโอของ Twitter, Sataya Nadella ซีอีโอปัจจุบันของ Microsoft และ Sundar Pichai ซีอีโอปัจจุบันของ Google โดยปัจจัยเหล่านี้ผลักดันให้ อินเดียเป็นประเทศที่มีจำนวนธุรกิจ Startup สูงเป็นลำดับที่ 3 ของโลก รองสหรัฐอเมริกา และจีน และคาดว่าในปี 2567 มูลค่าตลาดหุ้นอินเดียจะขึ้นมาเป็น 5 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอาณาจักรและแคนาดา หาก Startup เหล่านี้เริ่มทยอยจดทะเบียนซื้อขายในตลาดมากขึ้น
ปัจจัยที่ห้า ตลาดหุ้นอินเดียยังเป็นตลาดที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศและในประเทศซึ่งจะเห็นได้จาก Fund Flow ไหลเข้าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาที่มากถึง 4.1 และ 2.1 หมื่นเหรียญ โดยยังคงมีแรงผลักดันต่อจากการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้นภายหลังนายโมดียังได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ทำให้การดำเนินนโยบายการคลังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการเติบโตที่ดีของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในอินเดียที่มาจากหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี, การเงิน, สินค้าฟุ่มเฟือย และ วัสดุ ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น ตลาดหุ้นอินเดียอาจเผชิญกับความผันผวนจากแรงกดดันที่ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับหุ้นอินเดียยังถือว่ามีมูลค่าค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ และค่าเฉลี่ยในอดีต ดังนั้น นักลงทุนอาจใช้จังหวะการปรับฐานของตลาดหุ้นทยอยสะสมเพื่อถือครองในระยะยาวได้
สำหรับกองทุน TMBINDAE หรือ กองทุนเปิดทีเอ็มบี India Active Equity เน้นลงทุนในกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว คือ กองทุน Goldman Sach India Equity Portfolio นโยบายของกองทุนหลักจะเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทในประเทศอินเดียที่มีคุณภาพและมีการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงมีเป้าหมายเอาชนะดัชนี MSCI India IMI ในระยะยาว โดยเน้นคัดสรรการลงทุนแบบ Bottom Up จากทีมงาน local based ทำให้กองทุนนี้มีความโดดเด่นเรื่องการหาผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยได้รับการจัดอันดับ Morningstar Rating ระดับ 5 ดาว (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 64) ในขณะที่ กองทุน TMBINDAE มีความเสี่ยงอยู่ในระดับ 6