ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดรับฟังความคิดเห็น "การปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับหุ้นสามัญสำหรับบริษัทในกลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมาย" ตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ.-8 มี.ค.65 โดยมีประเด็นดังนี้
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์คุณสมบัติของบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนการเข้าจด ทะเบียนทั้งบริษัทไทยขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมถึงบริษัทต่างประเทศขนาดใหญ่ที่มี Economic Value ต่อประเทศไทย โดยพิจารณา จากเงินลงทุน การจ้างงาน การใช้วัตถุดิบ หรือการใช้งานของประชากรในประเทศไทย เป็นต้น รวมถึงขยายให้บริษัทดังกล่าวสามารถ เข้าจดทะเบียนได้โดยไม่จำกัดเฉพาะบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI ซึ่งต้องมีขนาดและรายได้ขั้นต่ำ ดังนี้
1.SET (บริษัทไทย หรือบริษัทต่างประเทศที่มี Economic Value ต่อไทย)
Market Cap. : 7,500 ลบ.
มี Track Record และรายได้จากการดำเนินงาน : > 3 ปี โดยมีรายได้จากการดำเนินงานปีล่าสุดส่วนใหญ่ภายใต้กลุ่ม
อุตสาหกรรมเป้าหมาย > หรือ = 5,000 ลบ. และ Growth
Rate เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ปีล่าสุดเฉลี่ย > หรือ = 20%
ยกเว้นการพิจารณารายได้กรณีได้รับการสนับสนุนจาก BOI ใน
ระดับสูง
2. mai (ปัจจุบัน: ไม่มีหลักเกณฑ์รองรับ)
Market Cap : 2,000 ลบ.
มี Track Record และรายได้จากการดำเนินงาน : > หรือ = 2 ปี โดยมีรายได้จากการดำเนินงานปีล่าสุด >
หรือ = 1,000 ลบ. (ค่า median ของ บริษัท Top
Quartile ของ mai) และ Growth Rate เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2
ปีล่าสุดเฉลี่ย > หรือ = 20% (หรือพิจารณา Growth Rate
1 ปี > หรือ = 20% หากบริษัทมี Track Record 2 ปี)
ยกเว้นการพิจารณารายได้กรณีได้รับการสนับสนุนจาก BOI ใน
ระดับสูง
สำหรับหลักเกณฑ์อื่นๆ รวมถึงแนวทางการพิจารณาคุณสมบัติ เช่น ทุนชำระแล้ว ฐานะการเงิน การกระจายการถือหุ้นราย ย่อย การบริหารงาน และ silent period เป็นต้น ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน
กรณีบริษัทต่างประเทศ ตลท.จะกำหนดแนวทางการพิจรณาว่า บริษัทมี Economic Value ที่มีนัยสำคัญระดับหนึ่งสำหรับ ประเทศไทยในปีที่ผ่านมา โดยสามารถแสดงข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกัน โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินล่าสุด ดังนี้
- มีประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ โดยพิจารณาจากเงินลงทุน การจ้างงาน การใช้วัตถุดิบ เป็นต้น เมื่อเทียบกับตัว
- มีประชากรในประเทศไทยใช้สินค้าหรือบริการของบริษัทในจำนวนที่มีนัยสำคัญ โดยพิจารณาจากรายได้จากประเทศไทยเมื่อ
ด้านวัตถุประสงค์การระดมทุน ให้บริษัทนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (IPO) ส่วนใหญ่ไปใช้ในการดำเนิน ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่บริษัทมีการดำเนินการจนเริ่มรับรู้รายได้แล้ว โดยอาจนำไปใช้พัฒนา ต่อยอด หรือเสริมศักยภาพธุรกิจ เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นธุรกิจหลักของบริษัทต่อไป
การเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบริษัท ให้บริษัทผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนและที่ ปรึกษาทางการเงินจัดทำแบบประเมินการประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Self-Assessment) และเปิดเผยในแบบ Filing ที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นหรือมีนโยบายที่จะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท โดยมีตัวอย่างข้อมูล ดังนี้
- ภาพรวมของธุรกิจ อุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย, ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
- ผลิตภัณฑ์และบริการ เทคโนโลยีที่ใช้, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ความสามารถในการแข่งขัน, การวิจัยและพัฒนา
- ผลการดำเนินงานโดยรวม รายได้เชิงพาณิชย์, ตัวชี้วัดความสำเร็จ, แหล่งเงินทุน, ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ
- กรณีบริษัทต่างประเทศ : Economic Value ต่อประเทศไทย
ทั้งนี้ ภายหลังเข้าจดทะเบียนให้บริษัทเปิดเผยสัดส่วนรายได้จากการดำเนินงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมการนำส่งงบ การเงินประจำปี จนกว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวจะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท คือ มีรายได้จากการดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมเป้า หมาย
2. ตลท.ยังได้การปรับปรุงกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติม ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนก.ค.64 ได้มีมติเห็นชอบการขับ เคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BcG Model) เป็นวาระแห่งชาติ (ปี 64-70) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดัง กล่าวที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการประกอบธุรกิจมากขึ้นภายใต้ BCG Model
3. ตลท.จะจัดตั้งคณะทำงาน New Listing เพื่อพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับกลุ่มอุดสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีหน้าที่ให้ ความเห็นหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงให้ความเห็นเกี่ยวกับ Economic Value ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นบริษัทต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ทั้งนี้ คณะทำงานดังกล่าวจะประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทางตรง จำนวน 5-7 ท่าน
สำหรับข้อเสนอปรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ได้แก่
1. การเกษตรและอาหารขั้นสูง (Advanced Agriculture & Food)
2. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels & Biochemical)
3. การต่อยอดทางการแพทย์และสุขภาพ (Medical for Future)
4. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)
5. ยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
6. การบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics Total Solution)
7. ดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Digital & E-Commerce)
8. อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
9. หุ่นยนต์ (Robotics)
10. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ Biotechnology, Nanotechnology,Digital Technology, Advanced Material Technology