STOCKFOCUS: จับตาหุ้นเด่นวันนี้

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday March 14, 2022 08:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

*PTT

-นสพ.รายงาน เร่งแผนสร้างคลัง LNG หนองแฟบ 7.5 ล้านตัน เสร็จพ.ค.นี้ รองรับปริมาณนำเข้าเพิ่ม พร้อมเสนอ กกพ.ปรับเพิ่มปริมาณสัญญา LNG ระยะยาว จากปัจจุบัน 5.2 ล้านตัน สร้างความมั่นคงประเทศ ด้าน "คมกฤช" หนุน Shipper รายใหม่ นำเข้าสอดรับนโยบายเสรี

*UPA/NRF

-นสพ.รายงาน เจาะหุ้นขุดบิทคอยน์ ประกาศลุย 6 พันเครื่อง ติดตั้งเสร็จ 4 พันเครื่องไตรมาส 2 ชี้ได้ต้นทุนต่ำเครื่องละ 1.6-2.7 แสนบาท ต้นทุนพลังงานที่ลาวต่ำ จุดคุ้มทุน 1 ปี 7 เดือน บนราคา 4.2 หมื่นดอลลาร์ต่อ BTC เริ่มมีกำไรไตรมาส 2 ด้าน NRF กวาดลงทุน 2,000-2,200 เครื่อง 50-55 บิทคอยน์ต่อเดือน

*BCH

-นสพ.รายงาน ปีนี้บุ๊กรายได้จากวัคซีนโมเดอร์นา 3 พันล้านบาท รายได้จากบริการโควิดหนุนคงเป้ารายได้โต 104% มีอัพไซด์จากโควตาประกันสังคม เพิ่มเป็น 1.5 ล้านราย พร้อมเดินแผนลงทุนปีนี้ 920 ล้านบาท ปรับปรุงโรงพยาบาลในเครือ ขยายห้องปฏิบัติการ แย้มเจรจาลงทุนโรงพยาบาลเพิ่ม

*SSP

-นสพ.รายงาน เกาะกระแสกัญชง บิทคอยน์ สร้าง New S-curve เสริมแกร่ง บอสใหญ่ "วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์" ลั่นจ่อรับรู้วินด์ฟาร์มเต็มไตรมาสตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป ส่งสัญญาณรายได้ปี 2565 โตก้าวกระโดด

*HANA

-นสพ.รายงาน ชี้ความต้องการสินค้าไอทีขยายตัวแข็งแกร่ง เทคโนโลยี 5G ผลักดันกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่กลุ่มคอนซูเมอร์ฟื้นตัวหลังโควิด-19 คลี่คลาย เดินหน้าเพิ่มกำลังผลิตทั้งในไทยและจีน มองกำไรขั้นต้นปี 2565 โต 12-15% รับหากยูเครน-รัสเซียบานปลายกระทบวัตถุดิบขาดแคลน เดินหน้าสร้าง New S-Curve ซิลิคอนคาร์ไบด์ (SIC) ลุยยานยนต์ไฟฟ้า

*JP

-นสพ.รายงาน ปักเป้ารายได้ปี 2565 เติบโต 50% จากงาน OEM พบความต้องการยาสมุนไพรเพียบ ส่วนอาหารเสริมยังโตตามเทรนด์รักสุขภาพ พร้อมดันสัดส่วนยอดขายแบรนด์ตัวเองแตะ 50% ส่วน 3 ปี คาดโตเป็น 2 เท่า เตรียมทุ่มงบลงทุน 300 ล้านบาท เพิ่มไลน์ผลิตยาน้ำสมุนไพรและแคปซูลนิ่ม

*PRAPAT

-นสพ.รายงาน เล็งตั้งฐานผลิตกระจายสินค้าและการบริการครบวงจรที่ประเทศเวียดนาม พุ่งเป้าขยายธุรกิจจำหน่ายน้ำยาซักรีด น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ มองโอกาสเติบโตสูง พร้อมอัพสัดส่วนลงทุนกลุ่มประเทศ CLMV

*TVO

-นสพ.รายงาน ประเมินปี 2565 ความต้องการใช้กากถั่วเหลืองและน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้าปริมาณขายกากถั่วเหลืองใกล้เคียงปีก่อน เน้นขายในกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ 60% ระบุยังต้องจับตา โรค ASF อาจกดดันความต้องการใช้กากถั่วเหลืองในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ลดลง

*GUNKUL,JMART,SINGER

-นสพ.รายงาน ผนึกกำลังตั้งบริษัทร่วมทุน JGS เพื่อประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและโซลาร์โซลูชันผ่านเครือข่ายการจัดจำหน่ายและการจัดหาสินเชื่อโดยกลุ่มธุรกิจในเครือของบริษัททั่วประเทศ พร้อมเปิดบิลแรก ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 100 ล้านบาท

*FPT

-นสพ.รายงาน เผยขายหุ้นกู้วงเงิน 4,000 ล้านบาท หมดเกลี้ยง โชว์ยอดจองสูงถึง 2 เท่า สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อศักยภาพของกลุ่มบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง หวังนำเงินจากการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ชำระคืนหนี้ และเงินทุนสำหรับพัฒนาโครงการต่างๆ ในอนาคต สร้างผลงานเติบโตต่อเนื่อง

*LALIN

-นสพ.รายงาน ยอดขาย 2 เดือนแรกดีต่อเนื่อง เตรียมเปิด 8 โครงการใหม่ ครึ่งปีแรก จากเป้าทั้งปี 2565 เปิด 10-12 โครงการ มูลค่ารวม 7,000-8,000 ล้านบาท ปักธงยอดขายปี 2565 ที่ 8,500 ล้านบาท ปั๊มรายได้ 7,200 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 10% จากปีก่อน พร้อมโชว์สถานะการเงินแกร่ง คุมต้นทุนหนุนอัตรากำไร

*HMPRO

-นสพ.รายงาน ปี 2565 ตั้งเป้า SSSG เติบโต 5-7% วางงบลงทุน 5,000 - 6,000 ล้านบาท รองรับการขยายสาขาใหม่,ปรับปรุงสาขาเดิม และซื้อที่ดิน เปิดช่องทางขายรองรับกำลังซื้อฟื้น

*HL

-นสพ.รายงาน ชี้เทรนด์สุขภาพมาแรง คาดความต้องการยา-อาหารเสริมพุ่ง ลุยเปิดสาขาปีนี้อีก 10 สาขา จากเดิมมีแผนเปิดเพียง 4-5 สาขา คาดใช้งบลงทุน 50 ล้านบาท แย้มแผนจับมือพันธมิตรพัฒนาโปรดักต์ใหม่ ปั๊มมาร์จิ้นฟู พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 65 โต 10%

*THAI

-นสพ.รายงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหารแผน เข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เพื่อรายงานความคืบหน้าแผนฟื้นฟูการบินไทย และขอให้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่การบินไทย ช่วยทวงหนี้ค่าซ่อมเครื่องบินจากหน่วยงานของรัฐ อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กองทัพอากาศ (ทอ.) เป็นต้น

*CAZ

-นสพ.รายงานส่งสัญญาณธุรกิจปี 2565 โตต่อ หลังตุนแบ็กล็อกสูงเฉียด 4 พันล้านบาท แย้มมีลุ้นคว้าโปรเจ็กต์ใหม่มูลค่ารวมกว่าพันล้านบาท พร้อมตั้งเป้ารายได้ใกล้เคียงปีก่อนที่ 2.19 พันล้านบาท จับตามาร์จิ้นอยู่ในระดับสูง อวดผลงานปี 2564 กำไรทะยาน 121.93%

*TU

-นสพ.รายงาน ทียูต้องปรับราคาประมาณ 7% ตามเงินเฟ้อ แล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ โดยจะทำควบคู่กับการลดต้นทุน นำเครื่องจักรมาใช้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยของที่ราคาแพงขึ้นไม่ได้ว่าจะขายไม่ได้ ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และความต้องการ อย่างสินค้าโปรตีนเป็นสารอาหารที่ดีสามารถขายได้ทั้งยามปกติและสงคราม อีกทั้งที่ผ่านมาราคาที่ขายก็ไม่ได้สูงมาก อย่างกุ้งความต้องการตลาดยังมีอยู่แต่สินค้าไม่พอจำหน่าย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ