โบรกเกอร์ คำแนะนำ ราคาเป้าหมาย (บาท/หุ้น) เมย์แบงก์ ซื้อ 103.00 ฟินันเซียไซรัส ซื้อ 80.00 เคทีบีเอสที ซื้อ 80.00 เอเซียพลัส ซื้อ 80.00 ทรีนีตี้ ซื้อ 77.00 โนมูระ พัฒนสิน ซื้อ 75.00
นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า หุ้น JMT เป็นหุ้นเด่นที่แนะนำสำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงไตรมาส 2/65 จากกำไรที่มีโอกาสทำสถิติสูงสุดใหม่ได้ในทุกไตรมาส จากการบริหารตามเก็บหนี้ที่เร่งตัวขึ้น และการ JV ธุรกิจ AMC กับธนาคารก็เป็นจุดที่เพิ่ม Upside ในเรื่องตัวการจัดหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ในแง่ต้นทุนที่ถูกลง และช่วยลดเรื่องการแข่งขัน นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับธนาคารอีก 1 แห่ง ซึ่งจะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงครึ่งปีหลัง
พร้อมประเมิน Cash Collection ปี 65 ที่ 6.5 พันล้านบาท +42%YoY และภาวะซื้อหนี้ยังเป็นบวก วางเป้าลงทุนปี 65 ที่ 1-1.5 หมื่นล้านบาท (ปี 64 ลงทุน 8.5 พันล้านบาท) ด้วยความพร้อมด้านต้นทุนหลังการเพิ่มทุน หนุน D/E ratio ต่ำเพียง 0.5 เท่า รับปริมาณหนี้ในระบบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนพอร์ตหนี้ภายใต้บริหารปัจจุบันอยู่ที่ 2.38 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +15%YoY
เบื้องต้นคาดการณ์กำไรของ JMT ปี 65 จะเติบโต 68%YoY ที่ 2.3 พันล้านบาท ส่วนแนวโน้มในปี 66 ก็น่าจะโตประมาณ 27%YoY ที่ 2.9 พันล้านบาท ถือว่าเป็นเทรนด์ของการเติบโตที่ดี เพราะฉะนั้นนักลงทุนสามารถค่อย ๆ สะสมหุ้น JMT เพื่อการลงทุนได้ แม้ราคาหุ้นปัจจุบันอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐาน แต่อาจจะมี Upside Risk ที่จะต้องปรับประมาณการขึ้นในช่วงถัดไป
ส่วนบล.เมย์แบงก์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ยังคงเลือก JMT เป็น Top Pick สำหรับกลุ่มบริหารหนี้ฯ (AMC) ที่มีการเติบโตโดดเด่น หลังประเมินช่วง Q1/65 เป็นฐานการเติบโตของปีนี้ คาดกำไรอยู่ที่ 430 ล้านบาท -10%QoQ,+52%YoY ถือเป็นจุดต่ำสุดของปีก่อนจะขยายตัว QoQ ตามพอร์ตหนี้ฯ เก่า-ใหม่
และช่วง H1/65 มีการร่วมทุน-รับรู้รายได้การ JV กับธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ซึ่งจากข้อมูลงบการเงิน ณ สิ้นปีที่ผ่านมา KBANK มี NPL คิดเป็นมูลหนี้ราว 1 แสนล้านบาท โดยยังไม่รวมหนี้ที่ถูกกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML หรือ Stage 1-2) ที่อาจไหลมาเป็น NPL อีกเกือบเท่าตัว ตามที่ S&P Ratings ประเมินการเร่งโอนหนี้เสียเข้า JV จะเป็นรูปแบบที่ win-win ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน Q2/65 และรับรู้กำไรใน Q3/65 ที่พร้อมจะทำ All Time High
นอกจากนี้ประเมินทุกเงินลงทุนใน JV 10,000 ล้านบาท จะสร้าง Upside Risk ต่อกำไรตามสัดส่วน (50%) ราว 225 ล้านบาท/ปี หรือ +7% บนฐานกำไรปี 66 ทั้งนี้หากโมเดลข้างต้นสำเร็จ อาจเห็นการใช้โมเดลนี้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์อื่นใน H2/65 ที่อยู่นอกเหนือประมาณการ
ประเมินราคาเหมาะสมอยู่ที่ 103 บาท/หุ้น อิง 40 เท่า ในปี 66 บนกำไรเติบโตเฉลี่ย 3 ปี (64-66) +43% ต่อปี เนื่องจากคาดกำไรสุทธิปี 65 เท่ากับ 2,324 +66YoY% และปี 66 ที่ 3,465 ล้านบาท +49%YoY แม้ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาอยู่บน P/E?65 40x ณ ระดับ+2SD แต่ภาพของหุ้นยังอยู่ใน Growth Stage รวมถึงความสม่ำเสมอของกระแสเงินสดจากฐานลูกหนี้ที่ทนทานต่อปัจจัยลบภายนอก ทำให้ราคาจะสามารถยืนสูงได้ต่อ
ด้าน บล.ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คาดกำไรปี 65 จะเติบโตราว 46%YoY ทำ New High ใหม่ที่ระดับ 2 พันล้านบาท โดยธุรกิจบริหาร NPL จะได้รับผลบวกจากฐานหนี้ที่ใหญ่ขึ้นจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และยังมีผลจากการรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้น หลังบริษัทได้ตัดต้นทุนหนี้หมดอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกิจให้บริการติดตามหนี้มีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้สิ้นสุดตั้งแต่ปลายปี 64 ทำให้คาดหนี้ที่รับติดตามจะขยายตัวขึ้น
บวกกับการประกาศจ่ายปันผลครึ่งปีหลังอีก 0.42 บาท (XD 19 เม.ย. 64) ทำให้ Upside รวมยังดึงดูด จึงยังคงแนะนำซื้อ โดยมองความน่าสนใจ คือ ธุรกิจกำลังเข้าสู่ช่วงเติบโตสูงจากสถานการณ์หนี้ในประเทศที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา