ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม 232,413 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday June 28, 2022 10:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (20 - 24 มิถุนายน 2565) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 232,413 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 46,483 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ % ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 42% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 98,575 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็น ตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 70,790 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 11,208 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30% และ 5% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB249A (อายุ 2.2 ปี) ILB283A (อายุ 5.7 ปี) และ LB276A (อายุ 5.0 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 23,508 ล้านบาท 4,927 ล้านบาท และ 4,414 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รุ่น TBEV233A (AA) มูลค่าการซื้อขาย 749 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด รุ่น TUC246B (Non-Rated) มูลค่าการซื้อขาย 661 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) รุ่น PTTGC346A (AA+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 380 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง 3-13 bps. ในทิศทางเดียวกับ US- Treasury ท่ามกลางความกังวลภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัวส่งผลให้มีแรงซื้อตราสารหนี้จากนักลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ภายหลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงว่า เฟดมีความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้กับเงินเฟ้ออย่างไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าจากเป้าหมายที่ระดับ 2% โดยเฟดจะพยายามไม่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้านปัจจัยในประเทศ Fitch Ratings (Fitch) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมอง ความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4.5% เนื่องจากการ ฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการกลับมาของนักท่องเที่ยว

สัปดาห์ที่ผ่านมา (20 - 24 มิถุนายน 2565) กระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 11,271 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิ ในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 1,533 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 1,759 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 7,979 ล้านบาท

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

*ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ ม.ค. 2565

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                                    สัปดาห์นี้         สัปดาห์ก่อนหน้า    เปลี่ยนแปลง             สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                      (20 - 24 มิ.ย. 65)   (13 - 17 มิ.ย. 65)          (%)   (1 ม.ค. - 24 มิ.ย. 65)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)              232,413.27          231,607.92        0.35%            7,354,283.11
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                                 46,482.65           46,321.58        0.35%               63,950.29
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)                       98.87               98.46        0.42%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน* (MTM Corp Bond Gross Price Index)                   105.32              105.01        0.30%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้                     1 เดือน     6 เดือน     1 ปี     3 ปี     5 ปี     10 ปี     15 ปี     30 ปี
สัปดาห์นี้ (24 มิ.ย. 65)                      0.5       0.76     1.1    2.05    2.47     2.92     3.53     4.39
สัปดาห์ก่อนหน้า (17 มิ.ย. 65)                 0.5       0.74    1.09    2.15     2.6     3.05     3.61     4.42
เปลี่ยนแปลง (basis point)                    0          2       1     -10     -13      -13       -8       -3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ