หยวนต้า ซื้อ 73.00 ทรีนีตี้ ซื้อ 72.00 พาย ซื้อ 72.25 เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ ซื้อ 80.00 ฟิลลิป ซื้อ 75.00 แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซื้อ 72.00
ทั้งนี้จากกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้ ทาง CPALL มีภาระดอกเบี้ยเป็นหนี้ที่เป็น (Float Rate) มาจากของ MAKRO โดยรวมราว 1 แสนล้านบาท คิดเป็น 32% ของหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยโดยรวม ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินราว 3.5%-4% ก็อาจจะได้รับผลกระทบดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดีภายในปี 65 MAKRO มีแผนหาแหล่งที่มาของเงินทุนแหล่งอื่นที่สามารถลดต้นทุนทางการเงิน ขณะเดียวกันก็มองว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในช่วง เดือน ส.ค. หรือช่วงท้ายของปีนี้ อาจมีผลกระทบจริงในครึ่งปีหลังนี้เท่านั้น จึงคาดว่าจะมีผลกระทบต่อกำไรในปี 65 ไม่มาก เนื่องด้วยบริษัทสามารถบริหารและควบคุมต้นทุนได้
เลือก CPALL เป็นหุ้น Top pick ของกลุ่มค้าปลีก โดยคาดยอดขายจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป จากร้านค้าสะดวกซื้อ และธุรกิจ Cash & Carry ของ MAKRO รวมถึง Hypermarket และ Supermarket ของ Lotus หลังจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีสถานการณ์ดีขึ้น รวมถึงมาตรการภาครัฐที่ให้การสนับสนุน การขยายระยะเวลาการเปิด-ปิด ร้านอาหารและสถานบันเทิงเพิ่ม รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่ทยอยกลับมา เป็นปัจจัยหนุนต่อยอดขายในระยะยาว ซึ่งอาจเป็นส่วนช่วยรองรับผลกระทบจากการปรับเพิ่มของเงินเฟ้อได้บางส่วน ขณะที่ผลกระทบจากภาระดอกเบี้ย ทางบริษัทอยู่ระหว่างบริหารจัดการที่คาดจะช่วยรักษา หรือลดระดับต้นทุนทางการเงินจากการหาแหล่งที่มาขอเงินทุนแห่งใหม่ที่มีความเหมาะสมได้
บล.พาย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คาดแนวโน้มไตรมาส 2/65 กำไรจะเติบโตจากปีก่อนได้จากฐานที่ต่ำ และการรวมโลตัสเข้ามาใน Makro และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/65 มีโอกาสเติบโตได้เช่นกัน จากผลดีของการเปิดเมืองและการที่ Makro มีการคืนเงินกู้ไปบางส่วน แต่อาจจะไม่มากนัก เพราะยังมีค่าใช้จ่ายในการรีแบรนด์โลตัสอยู่ ขณะที่จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้สินค้าหลายรายการมีการปรับราคาขายขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยบวกสำหรับรายได้ของ CPALL ที่จะ ทำให้ยอดขายต่อสาขาเดิม (Same Store Sale Growth) เพิ่มขึ้น เห็นได้จากในช่วงไตรมาส 1/65 เงินเฟ้อทำให้ SSSG เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 2-3% จากทั้งหมดที่เติบโต 13% ซึ่งในช่วงไตรมาส 2/65 ก็คาดว่า SSSG ยังคงสูง กว่า 10% ได้อีกไตรมาส
นอกจากนี้ CPALL ยังได้รับผลดีจากมาตรการผ่อนคลายโควิดของภาครัฐโดยเฉพาะการยกเลิกไทยแลนด์ พาส สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมา จึงมองว่าสาขาที่อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักนอกเหนือจากกรุงเทพ ที่มีกว่า 15% จะมียอดขายที่กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง ด้านการเปิดสาขาใหม่ยังมีอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่าในช่วงไตรมาส 2/65 จะเปิดอีกอย่างน้อย 200 สาขาในประเทศ อีกทั้งด้วยภาพการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวทำให้ผลประกอบการของทาง MAKRO และ โลตัส ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อ CPALL ด้วยอีกทาง
บล.ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คาดกำไรไตรมาส 2/65 ทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่ราว 3,500-3,600 ล้านบาท แต่คาด SSSG จะยังเติบโตได้ที่ 10% แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อบ้าง แต่บริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูกลง แต่เน้นยอดขายที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะยังคงทำให้ Spending per ticket เพิ่มขึ้นได้ รวมถึงจากการเปิดประเทศ และการที่โรงเรียนกลับมาเปิดและพนักงานกลับมาเข้าออฟฟิศซึ่งช่วยเพิ่ม SSSG ให้กับบริษัท
แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก จากการยกเลิกมาตรการ Thailand Pass คาดว่าจะเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวในครึ่งปีหลังราว 4.8 ล้านราย ซึ่งจะเพิ่มยอดขายของ 7-11 ที่อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ (คิดเป็น 15% ของสาขาทั้งหมด) ประมาณการกำไรปี 65 ที่ 14,351 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5% และในปี 66 ที่ 23,824 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% กลับเข้ามาสู่ระดับปกติก่อนช่วงโควิด
สำหรับประเด็นเงินเฟ้อ ถือเป็นปัจจัยที่ผู้บริหารยังคงติดตามอย่างใกล้ชิด โดยผลกระทบหลักๆ จะอยู่ที่ต้นทุนการขายจากปัจจัยทางด้านพลังงานที่มาจากค่าไฟและราคาน้ำมัน ซึ่งมองว่าจะมีผลกระทบไม่มาก ปัจจุบันสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้าน utilities อยู่ที่ 8.5% (คิดเป็นค่าไฟและค่าน้ำมันประมาณ 5% และ 2% ของ consolidated SG&A ไตรมาส 1/65) ซึ่งการขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลและค่าไฟคาดว่าจะมีผลกระทบต่อ SG&A สิ้นปีประมาณ 1.4%
ขณะเดียวกันเงินเฟ้อก็ดันยอดขายผลิตภัณฑ์ อิ่มคุ้ม ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในช่วงที่ค่าครองชีพสูง แต่ด้วยตัวผลิตภัณฑ์ที่มี margin ต่ำ ทำให้ gross margin ของยอดขายอาหารโดยรวมลดลงเหลือ 26% (26.3% ในไตรมาส 1/64) แม้ว่า Margin อาจจะลดลง แต่ถูกชดเชยด้วย Spending per ticket ที่จะเพิ่มขึ้น