นายแสนผิน สุขี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) (FPT) กล่าวว่า ทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไนปี 65 ยังเห็นการเติบโตขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของตลาดบ้านแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว และทาวน์โฮมที่มีความต้องการซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนในปัจจุบันที่ปรับเปลี่ยนไป ต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น และเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างครอบครัว อีกทั้งกลุ่มลูกค้าระดับบนยังคงมีความต้องการซื้อบ้านแนวราบระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปต่อเนื่อง ทำให้ตลาดบ้านแนวราบมีการเติบโตอย้างโดดเด่นมาต่อเนื่อง
ด้านตลาดคอนโดมิเนียมแม้ว่ายังคงมีการชะลอตัว แต่มองว่าในอนาคตหากเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน และกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติกลับมา จะทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมกลับมาคึกคักอีกครั้งในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตามในระยะสั้นยังคงต้องมีการเริ่มรับผลกระทบจากปัจจัยเงินเฟ้อที่เข้ามากระทบในส่วนของต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาบ้านใหม่ที่พัฒนาออกมาปรับตัวสูงขึ้นราว 10% ซึ่งเป็นไปตามทั้งตลาด
นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่เข้ามากระทบต้นทุนการกู้ของลูกค้า และความสามารถในการผ่อนชำระที่อาจจะมีเกณฑ์ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้การขอสินเชื่ออาจจะยากขึ้น และมีเกณฑ์รายได้ในการกู้ที่เข้ามาเป็นกำแพงเพิ่มเติม โดยลูกค้าที่ซื้อบ้านต้องเตรียมความพร้อมมากขึ้นเพื่อให้สามารถก้าวข้ามผ่านกำแพงในการพิจารณาสินเชื่อ
นายแสนผิน มองว่าหลังจากโควิด-19 ผ่านพ้นไป ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ได้มีการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมในยุคปัจจุบันตามกระแสต่างๆ และเทคโนโลยีที่เข้ามา เพื่อช่วงชิงส้วนแบ่งตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) กล่าวว่า การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ผลตอบแทนดีกว่าเงินปันผลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาพบว่าเงินปันผลในตลาดหลักทรัพย์ฯเฉลี่ย 2.245% แต่มูลค่าเพิ่มการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งถือว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนในระดับที่ดี
สำหรับ BAM ยังคงมองหาการซื้อทรัพย์ที่มีคุณภาพในทำเลที่ดีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเทรนด์ในปัจจุบันคนมีความต้องการซื้อที่ดินเปล่ามากขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาสิ่งปลูกสร้างเองมากขึ้น ซึ่งที่ดินถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางกับสิ่งปลูกสร้างที่อาจจะเห็นราคาขายมีการปรับตัวลดลง
ขณะที่แนวโน้มหนี้เสียในระบบคาดว่าจะยังเห็น NPL ไหลออกมาต่อเนื่องในปี 65 และปี 66 มูลค่ากว่า 2-3 แสนล้านบาท ทำให้เป็นโอกาสของ BAM ในการเข้าซื้อ รวมถึงการที่เข้าไปร่วมกับสถาบันการเงินในการร่วมทุนจัดตั้งบริษัทไนการเข้าบริหารหนี้เสียขึ้นมา แม้ว่าจะไม่ได้สร้างกำไรทันที แต่จะทำให้ปริมาณหนี้เสียของธนาคารลดลงทันที แลพช่วยให้เครดิตดีขึ้น ในส่วนของบริษัทก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าบริหาร
ขณะที่แผนการดำเนินงานของ BAM ในปี 65 ในปี 65 ยังคงเป็นไปตามที่ได้ตั้งงบลงทุนไว้ราว 9 พันล้านบาทเพื่อเข้าซื้อหนี้เสีย (NPL) และสินทรัพย์รอการขาย (NPA) เพิ่มเติม โดยปัจจุบัน บริษัทมีทรัพย์สินรอการขายทุกประเภท ทั้งที่ดินเปล่า บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาการพาณิชย์ อาการชุด หลากหลายทำเลครอบคลุมในทุกภูมิภาคของประเทศไทย มากกว่า 20,000 รายการ มูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท การบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) มีนโยบายมุ่งเน้นในการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มือสอง ให้มีคุณภาพ พร้อมจำหน่ายในราคายุติธรรม โดยมีสำนักงาน 26 แห่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายแบบครบวงจร