สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (25 - 27 กรกฎาคม 2565) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 174,804 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 58,268 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 33% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 62% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 109,172 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออก โดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 29,702 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการ ซื้อขายเท่ากับ 4,545 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17% และ 3% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ
สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB276A (อายุ 4.9 ปี) LB249A (อายุ 2.1 ปี) และ LB31DA (อายุ 9.4 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 5,267 ล้านบาท 3,492 ล้านบาท และ 3,474 ล้านบาท ตามลำดับ
ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) รุ่น AP257A (A-) มูลค่าการซื้อขาย 563 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) รุ่น KSL228A (Non-Rated) มูลค่าการซื้อขาย 491 ล้านบาท และหุ้นกู้ของ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) รุ่น QH243A (A-) มูลค่าการซื้อขาย 298 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงในกรอบ 5-15 bps. จากการที่นักลงทุนปรับมุมมองว่า เฟดและกนง. อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย น้อยกว่าที่คาดไว้ โดยผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 26-27 ส.ค. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 2.25-2.50% และ อาจลดความเร็วในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตหลังจากการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 2/65 จะสามารถขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาส 1/65 ที่ขยายตัว 2.2% และเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/65 จะสามารถเติบโตได้มากกว่า 3% นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะขยายตัว 3.2% และจะชะลอตัวสู่ 2.9% ในปี 2566 โดยปรับลดจากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนเม.ย. โดยประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ท่ามกลางความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่รุนแรง รวมทั้งผลกระทบจากรัสเซีย ส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน
สัปดาห์ที่ผ่านมา (25 - 27 กรกฎาคม 2565) กระแสเงินลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยรวมสุทธิ 1,921 ล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิ ในตราสารหนี้ระยะสั้น (ST) (อายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี) 1,780 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว (LT) (อายุมากกว่า 1 ปี) 141 ล้านบาท และ ไม่มีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ
หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
*ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price Index) เปลี่ยนเป็น ดัชนีหุ้นกู้เอกชน(MTM Corp Bond Gross Price Index) ตั้งแต่ ม.ค. 2565
ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย สัปดาห์นี้ สัปดาห์ก่อนหน้า เปลี่ยนแปลง สะสมตั้งแต่ต้นปี (25 - 27 ก.ค. 65) (18 - 22 ก.ค. 65) (%) (1 ม.ค. - 27 ก.ค. 65) มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท) 174,803.99 261,304.72 -33.10% 8,460,545.50 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท) 58,268.00 52,260.94 11.49% 61,755.81 ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index) 100.79 99.92 0.87% ดัชนีหุ้นกู้เอกชน* (MTM Corp Bond Gross Price Index) 105.92 105.62 0.28% เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --% ช่วงอายุของตราสารหนี้ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 30 ปี สัปดาห์นี้ (27 ก.ค. 65) 0.5 0.78 1.1 2.02 2.24 2.58 3.22 4.08 สัปดาห์ก่อนหน้า (22 ก.ค. 65) 0.5 0.77 1.1 2.07 2.39 2.69 3.33 4.14 เปลี่ยนแปลง (basis point) 0 1 0 -5 -15 -11 -11 -6