(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งลงตามภูมิภาค กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง-บาทอ่อนกดดัน Flow

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday September 19, 2022 09:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดว่าแกว่งไซด์เวย์ลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ปรับตัวลงในช่วงเช้านี้ โดยที่ยังมีปัจจัยกดดันจากความกังวลในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ว่าจะปรับขึ้น 0.75% หรือมีโอกาสมากกว่า ประกอบกับการติดตามท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ในการส่งสัญญาณในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป

ขณะเดียวกันค่าเงินบาทยังคงอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ทำให้ในระยะสั้นยังเผชิญแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ขาดแรงหนุนดังกล่าวเข้ามาช่วยพยุงดัชนี

โดยให้แนวต้าน 1,640-1,650 จุด แนวต้าน 1,620-1,610 จุด

*ประเด็นพิจารณาการลงทุน

  • ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (16 ก.ย.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 30,822.42 จุด ลดลง 139.40 จุด หรือ -0.45%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,873.33 จุด ลดลง 28.02 จุด หรือ -0.72% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 11,448.40 จุด ลดลง 103.95 จุด หรือ -0.90%
  • ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,695.35 จุด ลดลง 66.34 จุด หรือ -0.35% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,122.76 จุด ลดลง 3.64 จุด หรือ -0.11% ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้ (19 ก.ย.) เนื่องในวันผู้สูงอายุ
  • ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (16 ก.ย.65.) ที่ระดับ 1,630.40 จุด ลดลง 11.93 จุด, -0.73%
  • นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 994.44 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 ก.ย.65
  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ต.ค.(16 ก.ย.) เพิ่มขึ้น 1 เซนต์ หรือ 0.01% ปิดที่ 85.11 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 1.9% ในรอบสัปดาห์นี้ และลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
  • ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (16 ก.ย.) อยู่ที่ -2.95 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • เงินบาทเปิด 36.86 จับตาประชุมเฟด-ทิศทาง Flow ให้กรอบวันนี้ 36.75-37.00
  • ผู้ประกอบการอสังหาฯ กระทุ้งรัฐดึงเงินต่างชาติฟื้นเศรษฐกิจ สมาคมอสังหาฯแนะเร่งแก้กฎหมาย รับต่างชาติซื้อที่อยู่ สมาคมบ้านจัดสรร ชี้ 2 มาตรการใหม่ไม่ได้ผล 100% ระบุวิกฤติโควิดสกัดลูกค้าหลัก "จีน-ฮ่องกง-ญี่ปุ่น" ยังไม่กลับเข้าตลาด แนะวางโรดแมป ระยะยาว รื้อ ก.ม.เช่าอสังหาฯ 99 ปี จัดโซนนิ่ง ลดแรงกดดันกระแสขายชาติ-นอมินี "พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ" ระบุกฎหมายขาดความชัดเจน
  • สกนช.ส่งสัญญาณใช้กลไก "กบน." บริหารจัดการราคาขายปลีกดีเซล หลังสิ้นสุดมาตรการชดเชยราคาสิ้น ก.ย.นี้ โดยราคาดีเซลจะสูงกว่า 35 บาทต่อลิตรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกเป็นหลัก
  • มาตรการพักหนี้จบ-ลูกหนี้หมดแรง สถาบันการเงินจ่อยึดรถเพิ่ม ดัน "รถยนต์-จักรยานยนต์" ไหลเข้าลานประมูลเพียบ "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" เกาะติดตัวเลขเช่าซื้อรถค้างชำระพุ่งแตะ 1.54 แสนล้านบาท คิดเป็น 13% ของสินเชื่อเช่าซื้อ "แอพเพิล ออโต้ ออคชั่น" เผยสัญญาณรถยึดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดปีนี้ทะลักเข้าลานประมูลถึง 3 แสนคัน หนุนธุรกิจประมูลรถมือสองคึกคัก สยามอินเตอร์ฯ เร่งขยายโกดังรองรับทั่วประเทศ "สหการประมูล" เผยราคารถมือสองขยับเพิ่ม
  • คมนาคมโรดโชว์เมกะโปรเจ็กต์แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ดึงบริษัทเรือทั่วโลกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สัมปทาน 50 ปี ลงทุน 1.18 ล้านล้าน กิจกรรมหน้าท่า-หลังท่าทันสมัย ไฮไลต์รูปแบบลงทุน "สัญญาเดียว" ชูจุดขายเป็นทางลัดเชื่อม 2 มหาสมุทร

*หุ้นเด่นวันนี้

  • SCGP(กสิกรไทย) ราคาทางพื้นฐาน 57.0 บาท แนะนำเหมาะสำหรับนักลงทุน 1 ปี 1.) มองกำไร 2H65 ดีกว่า 1H65 หลังจากที่ราคาถ่านหิน ค่าระวางเรือปรับลดลงราว 40% นับจากจุดสูงสุด ทำให้ต้นทุน RCP ที่นำเข้าลดลงปรับตัวลง และทำให้ spread ดีขึ้น โดยคาดว่าจะเห็น Improvement หลักๆ ใน Q4 2.) Sentiment บวกจากจีนประกาศยกเลิกมาตรการ Lockdown เมืองเฉิงตู บวกต่อ SCGP 3.) ราคาหุ้นปัจจุบันปรับฐานลงมาราว % จากจุดสูงสุดของปี สะท้อนข่าวร้ายไปมากแล้ว โดย 12M FWDPER อยู่ราว 26 เท่า หรือราว 0.5SD และ 12M FWD PBV (x)อยู่ราว 2.2 เท่า หรือราว -0.5SD
  • CPN (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ" ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 85 บาท โมเมนตัมกำไรครึ่งปีหลังปี 65 คาดฟื้นตัวต่อเนื่องตามการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หนุน Traffic เข้าห้างฟื้นตัวเข้าใกล้ช่วงก่อน COVID-19 รวมถึงส่วนลดค่าเช่าที่เริ่มทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง เราคาดกำไรปี 2565-2566 +244% Y-Y และ +33% Y-Y ตามลำดับ หนุนจากทั้งการฟื้นตัวของค่าเช่าห้างเดิม การเข้าซื้อ SF และระยะยาวรองรับด้วยแผนการลงทุน 5 ปี 1.2 แสนลบ. ทั้งธุรกิจศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม
  • BJC (พาย) "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 40.00 บาท คาดกำไรไตรมาส 3/65 ฟื้นตัว YoY หนุนจาก 1) กำไรธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง (SSSG +5%YoY ในเดือน ก.ค. 2565) และ 2) กำไรธุรกิจบรรจุภัณฑ์และอุปโภคบริโภคที่ฟื้นตัวขึ้น จากต้นทุนที่ลดลง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ