ธนาคารมองว่ากลุ่มสินเชื่อลูกค้าขนาดใหญ่จะยังคงเห็นการเติบโตขึ้นต่อเนื่อง จากการกลับมาลงทุนโครงการต่างๆ รวมถึงสินเชื่อรายย่อยที่ยังเห็นการเติบโตกลับมาที่ดี แต่อย่างไรก็ตามธนาคารจะพยายามควบคุมคุณภาพหนี้ควบคู่ไปด้วย เพื่อควบคุมให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 3.3% ทำให้พอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคารมีคุณภาพลูกหนี้ที่เหมาะสม
ขณะเดียวกันกลยุทธ์ของธนาคารยังคงเน้นไปที่การขยายบริการด้านดิจิทัลมากขึ้น โดยตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าที่ใช้บริการดิจิทัลของ CIMBT เพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี 66 ผ่านบริการด้านการลงทุนที่ธนาคารเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามา ซึ่งเป็นจุดแข็งของธนาคารที่สามารถทำได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการด้านการลงทุนตราสารหนี้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์บริการที่ CIMBT มีความเชี่ยวชาญ และเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด ประกอบกับธนาคารนังเพิ่มงบลงทุนไอที 15-20% จากปีก่อน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของระบบดิจิทัลของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น
ธนาคารเล็งเห็นโอกาสการวยานฐานลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้บริการผ่านช่องมางดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานลูกค้าที่สำคัญในการมุ่งหน้าพัฒนาบร้การทางการเงินตามแผนงานของธนาคารที่มุ่งสู่บริการด้านดิจิทัล ส่วนสาขาของธนาคารที่มีอยู่กว่า 50 สาขา ในปัจจุบัน จะไม่มีสผนการขยายสาขาเพิ่ม แต่สาขาที่มีอยู่บางส่วนจะปรับรูปแบบสาขาให้เป็นการให้บริการ Wealth management มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้นำสาขาของธนาคารที่มีมาปรับให้เป็นบริการกลุ่มลูกค้า Wealth management ราว 10 สาขา ซึ่งตอบโจทย์กับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าที่มาที่สาขาในปัจจุบัน
ด้วยยุทธศาสตร์ Forward23+ ที่ธนาคารจะขับเคลื่อนการเติบโตสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ?To be a digital-led bank with ASEAN reach : ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล? ผ่าน 7 กลยุทธ์หลัก ปรับพอร์ตโฟลิโอ กระจายผลิตภัณฑ์เงินฝาก ขับเคลื่อนต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างคุณค่าผ่านดิจิทัล บริหารความเสี่ยงอย่างแข็งขัน สร้างเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคล และความยั่งยืน ด้วยความทุ่มเทเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซีไอเอ็มบี ไทย ออกแบบโซลูชั่นให้สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของตลาด เห็นได้จากแคมเปญล่าสุดของผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แข่งขันได้ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยลูกค้าจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
ธนาคาร จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยยึด 4 แกนหลัก ได้แก่ 1. Sustainable Action การดำเนินการที่ยั่งยืน 2. Sustainable Business ธุรกิจที่ยั่งยืน 3. Governance and Risk การกำกับดูแลและความเสี่ยง และ 4. Stakeholder Engagement and Advocacy การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการสนับสนุน นอกจากนี้ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ธนาคารมีค่านิยมหลัก EPICC ช่วยให้พนักงานก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคม