ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล (Insurer Financial Strength Rating: IFS Rating) ของ บมจ.ไทยประกันชีวิต (TLI) ที่ ?A-? (หรืออยู่ในระดับ "แข็งแกร่ง") และคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS Rating) ของ TLI ที่ ?AAA(tha)? โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
อันดับเครดิตของ TLI สะท้อนถึงโครงสร้างการดำเนินงานของบริษัทในธุรกิจประกันภัยที่ยังแข็งแรง (Favorable Company Profile) รวมทั้งระดับเงินกองทุนและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัท อย่างไรก็ตามความแข็งแกร่งของโครงสร้างเครดิตของบริษัทได้ถูกลดทอนไปบ้างจากความเสี่ยงด้านสินทรัพย์และการลงทุน
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
โครงสร้างการดำเนินงานที่แข็งแรง: ฟิทช์ประเมินโครงสร้างการดำเนินงานของ TLI อยู่ในระดับแข็งแรง (favorable) ซึ่งเป็นผลจากโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง (favorable business profile) และการมีบรรษัทภิบาลดี (moderate/favorable) เมื่อเทียบกับบริษัทประกันชีวิตอื่นภายในประเทศไทย ดังนั้นฟิทช์จึงให้อันดับคะแนนเครดิตที่ ?a-? ในด้านโครงสร้างการดำเนินงานในธุรกิจประกันภัย (company profile credit factor score) แก่ TLI ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาปัจจัยเครดิตของฟิทช์ (credit factor scoring guideline)
TLI ยังคงเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในประเทศไทย โดยบริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 14% ในด้านเบี้ยประกันชีวิตรวม ณ สิ้น ปี 2565 บริษัทมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีความหลากหลาย ทั้งในส่วนของประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ประกันสุขภาพ และประกันเพื่อการลงทุน อีกทั้งมีช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่ง ผ่านเครือข่ายตัวแทนขายประกันชีวิตมากว่า 24,000 รายและธนาคารพาณิชย์ในประเทศหลายแห่ง รวมถึงการขายผ่านนายหน้า โดยเบี้ยประกันชีวิตรวมของบริษัทในปี 2565 มาจากช่องทางตัวแทนฯ ประมาณ 70% ธนาคาร 20% และช่องทางอื่นๆ 10%
ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง: บริษัทมีระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมาย (Risk-based capital ratio) ที่ระดับ 420% ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 140% มาก ทั้งนี้ฟิทช์ได้ประเมินฐานะเงินกองทุนของบริษัท ด้วย Prism Model ของฟิทช์ จากข้อมูลการเงิน ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งฐานะเงินกองุทนของบริษัทปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ "แข็งแกร่งมากที่สุด" (?Extremely Strong?) จากเดิมที่ระดับ "แข็งแกร่งมาก" (?Very Strong?) ในปี 2564 ซึ่งสูงกว่าระดับที่ฟิทช์คาดการณ์ไว้เทียบกับอันดับเครดิต ณ ปัจจุบันของบริษัท
ผลประกอบการที่สม่ำเสมอ: บริษัทยังคงมุ่งเติบโตในธุรกิจที่มีความอ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงนัก และมีอัตรากำไรที่ดีและค่อนข้างมั่นคง โดยในปี 2565 บริษัทมีอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ประมาณ 10% ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 3 ปีในช่วงปี 2563 ? 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจาก ผลิตภัณฑ์คุ้มครองและสุขภาพที่มีอัตรากำไรดี
ในขณะที่สัดส่วนประกันสะสมทรัพย์ที่มีการรับประกันผลตอบแทนสูงปรับตัวลดลง ซึ่งจะทะยอยเปลี่ยนถ่ายไปสู่ประกันแบบมีส่วนร่วมในเงินปันผลอีกทั้งบริษัทยังมีกลยุทธ์การปรับราคาเบี้ยประกันที่มีประสิทธิภาพดี
อัตราส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ลดลง: อัตราส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของ TLI ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 187% ณ สิ้นปี 2565 จาก 212% ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรับสูงขึ้นเนื่องจากการเพิ่มทุนจำนวน 1.33 หมื่นล้านบาท หลังจากการเสนอขายหุ้นครั้งแรก (IPO) ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2565 และกำไรจากการดำเนินสินทรัพย์เสี่ยงของบริษัทส่วนใหญ่มาจากการลงทุนในตราสารหุ้นและตราสารหนี้ที่มีอันดับเครดิตสากลต่ำกว่าระดับลงทุน (investment grade) รวมถึงเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงซึ่งได้ถูกนำไปคำนวณความเสี่ยงที่ 15% ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการจัดอันดับเครดิตของฟิทช์ อย่างไรก็ตามอัตราส่วนดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับคาดการณ์ของฟิทช์สำหรับบริษัทประกันชีวิตที่มีอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากลที่ช่วงระดับ ?A? (category) และสะท้อนถึงความเสี่ยงด้านสินทรัพย์และการลงทุน
สภาพคล่องที่ดี: TLI ยังคงมีระดับสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ โดยบริษัทมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝากธนาคาร ที่สูงกว่า 80% ของพอร์ทเงินลงทุน ณ สิ้นปี 2565 ทั้งนี้บริษัทยังมีความแตกต่างระหว่างอายุสินทรัพย์และหนี้สิน (Duration Gap) ที่ลดลงและต่ำกว่า 1 ปี ณ สิ้น ปี 2565 จากการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน): อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล (IFS Rating) และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS Rating)
- การปรับตัวลดลงของอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (RBC) มาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 280% และการปรับตัวแย่ลงของระดับเงินกองทุนของบริษัทซึ่งวัดจากแบบจำลอง Prism Model ของฟิทช์ลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ระดับแข็งแกร่ง" เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
- การปรับตัวลดลงของความสามารถในการทำกำไรซึ่งสะท้อนจากอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ต่ำกว่า 6.5% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง และมูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่ (value of new business) ที่ลดลง เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน): อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากล (IFS Rating)
- หากบริษัทมีขนาดของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นและมีการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมหลากหลายประเภทธุรกิจมากขึ้น ด้านการกระจายตัวเชิงภูมิศาสตร์ที่ดีขึ้นและช่องทางการขายที่มีความหลากหลาย
และ - การรักษาระดับเงินกองทุนของ TLI ให้ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง อัตราความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS Rating)
- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศของ TLI ไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีก เนื่องจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศที่อยู่ในอันดับเครดิตที่สูงที่สุดแล้ว
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ระดับคะแนนที่สูงที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต (หากมีการเปิดเผย) แสดงว่าระดับคะแนนจะอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร