ZIGA อ่วม! "เหมืองบิทคอยน์" ฟ้องบอร์ดบ.ย่อยยักยอกร้อยล้าน-ผู้ให้เช่าเครื่องขุดเบี้ยว

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday April 25, 2023 08:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายศุภกิจ งามจิตรเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) ชี้แจงข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เกี่ยวกับข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีกรณีบริษัท กรรมการ และบริษัทย่อย ถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขายเหรียญโทเคนดิจิทัล และการลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญซึ่งส่วนหนึ่งมาจากข้อพิพาท

ในปี 2564 บริษัทจัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด เพื่อประกอบกิจการขายธุรกิจแฟรนไชส์ และการทำรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล หลังจากคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาและอนุมัติแผนธุรกิจและแผนการลงทุนของบริษัท (Business Plan) และงบประมาณประจำปี 2565 ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุนในธุรกิจบิตคอยน์และแผนการลงทุนในธุรกิจ Utilities Token ด้วย

ซิก้า เอฟซี เสนอแนวทางดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามแผนที่ได้รับอนุมัติ โดยบริษัทต้องการเครื่องขุดจำนวนทั้งสิ้น 400 เครื่องจำนวนแรงขุดรวม 41,600 TH/sแบ่งเป็น ซิก้า เอฟซี ลงทุนเองจ 200 เครื่อง แรงขุดรวม 20,800 TH/s และ สัญญาเช่าเครื่องขุดบิตคอยน์ 2 สัญญา โดยแต่ละสัญญาจะมีเครื่องขุด 100 เครื่อง แรงขุด 10,400 TH/s รวมทั้งสิ้น 200 เครื่อง แรงขุดรวม 20,800 TH/s

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการบริษัท ซิก้า เอฟซี มีมติอนุมัติให้บริษัทลงทุนในธุรกิจการขุดเหมืองบิตคอยน์ (Bitcoin Mining) โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งหมด 103.10 ล้านบาท จำนวน 20,800 TH/s แต่เมื่อลงนามสัญญาแล้ว ซิก้า เอฟซี ได้ช ระค่าเช่าแรงขุดล่วงหน้าไปตามสัญญาทั้งสองฉบับ และบริษัทก็ได้ทวงถามให้ผู้ให้เช่าแรงขุดส่งเอกสารที่ยังขาดส่งแต่ทางผู้ให้เช่าแรงขุดก็เพิกเฉยไม่นำส่งให้บริษัท

นอกจากนั้น บริษัทได้จัดตั้งบริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ โทเคนดิจิทัล ซึ่ง วิสเดน กรุ๊ป ได้รับจ้างให้เป็นผู้ออกแบบและสร้างโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์แบบพร้อมใช้ ชื่อว่า Zii Token ให้กับ ซิก้า เอฟซี ต่อมาบริษัท ซิก้า เอฟซี จึงได้ ให้ วิสเดน กรุ๊ป ช่วยจำหน่ายโทเคนดิจิทัลนั้นด้วย โดยผู้ที่ซื้อและเป็นเจ้าของโทเคนดิจิทัล Zii Token

สำหรับกรณีที่บริษัท กรรมการ และ บริษัทย่อยถูกฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง เกี่ยวกับการซื้อขายเหรียญโทเคนดิจิทัล และกรณี วิสเดน กรุ๊ป ได้ฟ้องอดีตกรรมการบริษัทย่อยกับพวกในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ เนื่องจากไม่ส่งมอบเงินที่ได้จากการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล "Zii Token" มีที่มาจากนักลงทุนได้ซื้อโทเคนดิจิทัล Zii Token โดยชำระเป็นเงินสด 100 ล้านบาท ต่อมานักลงทุนได้ยื่นฟ้องบริษัทฯ กรรมการ และบริษัทย่อยเป็ นคดีแพ่ง (คดีผู้บริโภค) เพื่อเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืน อ้างว่ามีการปกปิดข้อความที่ควรบอกหรือแจ้งให้กับนักลงทุนทราบ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทย่อยได้ส่งมอบโทเคนดิจิทัลให้แก่นักลงทุนไปจนครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ กรรมการ และบริษัทย่อย จึงได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีตามสิทธิของตนต่อไป ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยและการพิจารณาคดีของศาลแพ่ง

ขณะที่ วิสเดน กรุ๊ป ได้ฟ้องอดีตกรรมการบริษัทย่อยกับพวกในคดีอาญาข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ มูลค่า 103.2 ล้านบาท โดยอดีตกรรมการและพวก มีพฤติการณ์รับเงินสดที่ได้จากการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token ให้กับ ซิก้า เอฟซี ซึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าหรือโทเคนดิจิทัล Zii Token ให้ผู้ซื้อครบถ้วนถูกต้องแล้ว แต่อดีตกรรมการและพวกได้ร่วมกันเบียดบังค่าตอบแทนจากการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token นั้นไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ส่งมอบค่าตอบแทนดังกล่าวให้แก่ วิสเดน กรุ๊ป อันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญา ธนบุรี

สำหรับการหยุดธุรกิจขุดเหรียญบิตคอยน์ชั่วคราว และการมีข้อพิพาทต่าง ๆ บริษัทยืนยันว่าไม่มีผลกระทบ หรือไม่ทำให้ บริษัทมีภาระต่อเนื่องจากสัญญาว่าจ้างขุดเหรียญบิตคอยน์ เนื่องจาก ตามหลักกฎหมายสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผู้ให้เช่าแรงขุดไม่ได้ขุดเหรียญและส่งมอบเหรียญให้แก่ ซิก้า เอฟซี ตามสัญญาจริง ซิก้า เอฟซี ย่อมมีสิทธิไม่ชำระหนี้ค่าไฟฟ้ารายเดือน หรือค่าใช้จ่ายอื่น หลังจากวันที่ผู้ให้เช่าแรงขุดผิดนัดหรือผิดสัญญา จนกว่าผู้ให้เช่าแรงขุดจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้

นอกจากนี้ การที่ผู้ให้เช่าแรงขุดผิดสัญญา หรือจงใจละเมิดต่อ ซิก้า เอฟซี เพราะไม่จัดหาเครื่องขุดบิตคอยน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายมาให้บริการอย่างครบถ้วนถูกต้องตามสัญญา บริษัท จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทั้ง 2 ฉบับได้ และมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ต่อศาลเพื่อเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าจ้างที่ชำระแล้วคืน พร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหาย

ส่วนกรณีที่บริษัทย่อยหยุดขุดเหรียญบิตคอยน์ ชั่วคราวนั้นเป็นเพราะฝ่ายบริหารพิจารณาประโยชน์สูงสุดที่จะได้กับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯแล้ว พิจารณาถึงความคุ้มค่า โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนหลักในการขุดเหรียญบิตคอยน์ ซึ่งหลังจากที่บริษัทย่อยได้หยุดขุดเหรียญบิตคอยน์ ก็ย่อมทำให้ภาระในการชำระค่าไฟฟ้ารายเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ในปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่ได้มีหน้าที่หรือภาระที่จะต้องดำเนินการขุดเหรียญบิตคอยน์ กับบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ จึงเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ฝ่ายเดียวของบริษัทย่อยที่จะตัดสินใจอย่างใดเกี่ยวกับธุรกิจ ขุดเหรียญบิตคอยน์ อนึ่ง บริษัทย่อยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนเกี่ยวกับธุรกิจขุดเหรียญบิตคอยน์ อื่นในประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาเช่าบริการขุดเหรียญบิตคอยน์ นั้น ผู้ให้บริการเป็นผู้ผิดสัญญา ซึ่งทางบริษัทย่อยได้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ให้บริการเพื่อรักษาสิทธิแล้ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ