นายณัฐพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สยามราชธานี (SO)กล่าวว่า บริษัทได้ให้บริการ Outsource และTechnology แก่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร (NCB) ในส่วนงาน Data Entry หรือพนักงานคีย์ข้อมูลบนระบบของเครดิตบูโร โดยต้องปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ISO27001) เป็นไปตามกฎของหน่วยงานราชการและสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึงร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เช่น แผนบรรเทาผลกระทบกรณีน้ำท่วมหรือเหตุประท้วง และพัฒนาแผนต่อเนื่องของธุรกิจร่วมกันเพื่อให้บริการของเครดิตบูโรไม่ติดขัดต่อผู้ร้องขอข้อมูล รวมทั้งได้เข้ามารับผิดชอบกระบวนการสแกนเอกสาร การบันทึกข้อมูล การตรวจสอบคำร้องขอบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ และจัดเก็บในฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบในภายหลัง
โดยปริมาณเอกสารที่ทาง SO ต้องดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลให้แก่เครดิตบูโร เฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 ล้านฉบับ/เดือน โดยแบ่งเป็นการจัดเก็บรูปแบบหนังสือให้ความยินยอม (consent) จำนวน 1 ล้านฉบับ/เดือน และบริการระบบการให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e-consent) อีกจำนวน 1.5 ล้านฉบับ/เดือน ซึ่ง SO เข้ามาช่วยบริหารจัดการ ออกแบบกระบวนการ และวางแผนทีมงานในตำแหน่งต่างๆ รวมถึงการอบรมพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานข้อตกลงในการให้บริการว่าจะทำการรักษาระดับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้า (Service Level Agreement (SLA)) โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Lean Engineering และให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐานสากล (Information Security Management System (ISMS))
หลังจากที่ผ่านมาบริษัทได้ให้บริการ Outsource ด้านบริหารจัดการบนระบบของเครดิตบูโร ในส่วนการจัดการเอกสารสลิปเงินเดือน และข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบทั้ง consent และ e-consent ซึ่งทาง SO ได้ส่งทีม Lean Engineer เข้าไปศึกษาขั้นตอนการทำงานของเครดิตบูโร เพื่อปรับเปลี่ยนเอกสารที่สำคัญไปสู่รูปแบบดิจิทัลและลดขั้นตอนการทำงานในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลที่ทำให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบการทำงานร่วมกันจนได้ระบบที่มีประสิทธิภาพมีความถูกต้องแม่นยำสูง, ส่งงานตรงตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับลูกค้าและข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย ทำให้เครดิตบูโรสามารถจัดสรรบุคลากรภายในองค์กรเพื่อโฟกัสธุรกิจหลักของเครดิตบูโรได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
"SO ได้ปรับปรุงพัฒนากระบวนการในการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มอัตราการส่งมอบงานต่อคน ลดเวลาทำงานและหางานแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับกระบวนการต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการที่เหมาะสมและส่งมอบทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น การขนส่ง การบริหารจัดการบุคลากร การพัฒนาระบบทั้ง Hardware, Software และ Database Management กระบวนการตรวจสอบให้แก่ลูกค้า" นายณัฐพล กล่าว
แนวโน้มของตลาด Outsource ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง หลังโควิด-19 คลี่คลาย แต่เทรนด์การว่าจ้างของผู้ว่าจ้างเปลี่ยนไปหันมาเลือกใช้บริการ Outsource มาทำงานใน Function งานที่ไม่ใช่ Core Business ของธุรกิจมากขึ้น เพื่อให้ผู้ว่าจ้างไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับ Function งานที่ไม่ใช่งานหลักของตัวเอง หลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลให้ต้องมีการเลิกจ้างบางหน่วยงานอย่างฉับพลัน นอกจากนี้การบริการส่งบุคลากรอย่างเดียวแบบในอดีตเริ่มไม่ตอบโจทย์การสร้าง Value ของผู้ว่าจ้างให้เพิ่มขึ้น เพราะยังมี Function งานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น งาน แอดมิน หรืองานเอกสารที่ทางผู้ว่าจ้างต้องดูแลเองและสร้างค่าใช้จ่ายให้กับผู้ว่าจ้าง รวมถึงไม่สามารถจัดสรรบุคลากรไปโฟกัสธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ ซึ่งบริการของ SO ไม่ได้เป็นบริการส่งคนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ SO ให้บริการ Business Process Outsourcing โดยวางแผนการทำงานให้ทันตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้แก่ลูกค้า ให้คำปรึกษาด้าน Lean Engineering และ ให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐานสากล โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ
บริษัทเชื่อว่า การ Lean องค์กรนั้นไม่ใช่การลดจำนวนคนทำงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เป็นการ Support ผู้ว่าจ้าง ให้สามารถจัดสรรบุคลากรที่มีอยู่เดิมของบริษัท ไป Focus ที่ Core Business เพื่อสร้าง Value และรายได้ ให้แก่ผู้ว่าจ้างมากกว่าเดิม โดย SO นำประสบการณ์ในการ Lean และ Technology Implementation องค์กรของ SO เอง มาพัฒนาเป็นบริการ Business Process Outsourcing แบบครบวงจร เพื่อช่วยให้ผู้ว่าจ้างสามารถ Lean Function งานต่างๆ ที่ไม่ใช่ Core Business ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้บริการของ SO ตอบโจทย์ของผู้ว่าจ้าง สามารถนำเสนอบริการตรงตามความต้องการ และตอบสนองต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมได้