บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) เผยว่า ตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้วปรับสูงขึ้นในไตรมาสสองที่ผ่านมา เป็นผลมาจากความกังวลจากประเด็นการล้มละลายของ Regional Bank ในสหรัฐฯ ที่คลี่คลาย รวมถึงตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคการจ้างงานที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความทนทาน (Resiliency) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดตอบรับต่อประเด็นดังกล่าวในเชิงบวก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มพบว่ามีการกระจายตัวในการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ดี (Broader Market Breadth) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Regional Bank และ Asset Management เป็นกลุ่มที่ Outperform ตลาด ในขณะที่กลุ่ม Small-Caps ที่มีความอ่อนไหวต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้โดดเด่นตามความคาดหวังเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ ทำให้ตลาดกลับมาเทรดบนแนวคิดที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิด Recession ได้ (หรือ No Landing) อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) มองว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิด Recession ได้และยังมองกรณีพื้นฐานว่าน่าจะเกิด Recession ได้แต่จะมาช้ากว่าคาดและเป็นในลักษณะที่ไม่รุนแรง อย่างไรก็ดี อาจจะเกิดกรณีที่เป็น No Landing ได้เช่นกัน แต่จะต้องเห็นแนวโน้มการลดลงของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง 2 - 3 เดือนติดต่อกัน และ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกันภาคการจ้างงานต้องไม่หดตัวแบบรุนแรง เช่น Wage Growth ต้องเริ่มลดลงโดย Unemployment Rate เพิ่มสูงขึ้นไม่เกิน 4 ? 4.5% ซึ่งจะเป็น Early Indicators ที่ดีในการพิจารณา
ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันแม้ว่าตลาดจะมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นแต่ความเสี่ยงเรื่อง Recession ยังคงอยู่ ดังนั้นการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลก จะเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนได้ในภาวะตลาดดังกล่าว ดังนั้น ทาง บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จึงแนะนำกองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์ TH หน่วยลงทุนชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบปกติ (UIFT-N) ระดับความเสี่ยง 5 เปิดเสนอขายครั้งแรก 24- 31 กรกฎาคม 2566 นี้
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อินคัม ฟันด์ TH จะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน United Income Fund Class T USD Acc (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุนหลักจะบริหารจัดการโดย UOB Asset Management Ltd ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสรายได้สม่ำเสมอและการกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกที่มีความหลากหลายทั่วโลกในบริษัทที่จัดตั้ง จดทะเบียน ซื้อขาย หรือทำธุรกรรมในระดับโลก
กองทุนหลักอาจลงทุนทางอ้อมในบริษัทข้างต้นผ่านในกองทุนรวม, กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) หรือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และลงทุนโดยตรงในบริษัทผ่านตราสารทุน, หลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน, พันธบัตร หรือตราสารหนี้ของบริษัทเหล่านี้โดยตรง กองทุนหลักมีแนวทางการลงทุนอย่างสมดุลในตราสารทุนประมาณ 50% และตราสารหนี้ประมาณ 50% (สัดส่วนเพิ่มลดได้ +/- 20%) โดยลงทุนในตราสารทุนที่มีโอกาสรับเงินปันผลที่ดีและสร้างโอกาสเติบโตของเงินลงทุน และตราสารหนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
กองทุนหลักเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของกลุ่มยูโอบี โดยได้รับคำแนะนำจากข้อมูลเชิงลึกด้านการลงทุนจากทีมหัวหน้าการลงทุน (CIO) ของธนาคารยูโอบี ประเทศสิงคโปร์ และเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน คัดสรรการลงทุน กระบวนการตรวจสอบกองทุนหรือสินทรัพย์อ้างอิงอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินความสามารถในการสร้างรายได้และ/หรือการเติบโต และมีการปรับพอร์ตโฟลิโอและการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์เมื่อสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลง